ข่าว

 เขื่อน...ไม่ใช่ผู้ร้าย! 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 เขื่อน...ไม่ใช่ผู้ร้าย!      มั่นใจเขื่อนไทยรับแผ่นดินไหวสูงเกิน 7 ริกเตอร์

 

                ข่าวแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด มาถึงกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในสปป.ลาวแตก สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นมูลค่ามหาศาล จนทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าเขื่อนในประเทศไทยจะแตกหรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้เขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งมีปริมาณน้ำเกินความจุในระดับกักเก็บ ล้นทางระบายน้ำล้น (สปิลเวย์)  ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี  และเขื่อนอีกหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำสูงเกินมาตรฐานกำหนด (Rule Curve) 

          “เขื่อนและอางเก็บน้ำที่อยู่ในการดูแลของกรมชลประทานทุกแห่ง ถูกออกแบบตามหลักวิชาการ สอดคลองกับสภาพภูมิประเทศและสามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผนดินไหวไดสูงถึง 7 ตามมาตราริกเตอร นอกจากนี้ยังไดตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อนอย่างตอเนื่องสม่ำเสมอตลอดทั้งป แมในยามปกติที่ไมมีภัยพิบัติใดๆ ก็ตาม”

          ทองเปลว กองจันทร อธิบดีกรมชลประทาน ย้ำความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนเพื่อใหประชาชนที่อาศัยอยูในพื้นที่ทายเขื่อนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัยแข็งแรงของเขื่อนตลอดเวลา  แม้บางช่วงบางเวลาจะมีแนวโนมวาน้ำไหลลงอางเก็บน้ำในปริมาณมาก และคาดวาอาจจะลนทางระบายน้ำลน โครงการชลประทานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ก็จะแจงเตือนเปนเอกสารรายงานไปยังจังหวัดและหนวยงานที่เกี่ยวของ พรอมการแจงเตือนผูนําองคกรปกครองสวนทองถิ่นในพื้นที่ทายอางเก็บน้ำใหได้รับทราบสถานการณอยางทันท่วงที 

                 อย่างไรก็ตามเพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนมากขึ้น กรมชลประทานยังได้ดำเนินการตรวจสภาพความมั่นคงและสภาพน้ำของเขื่อนทุกเขื่อนทั้งที่สร้างเสร็จแล้วและกำลังก่อสร้างเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งให้จัดเวรยามประจำทุกเขื่อนเฝ้าระวังเหตุการณ์ตลอดเวลา จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องใช้เกี่ยวกับเขื่อนไว้ให้พร้อมใช้งานได้ทันที การติดต่อสื่อสารไปยังเขื่อนและเจ้าหน้าที่ประจำเขื่อนต้องทำได้มากกว่า 1 ช่องทาง และให้มีการรายงานให้อำเภอ จังหวัดและศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) ได้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง 

               ขณะ ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวถึงความสำคัญของเขื่อนแก่งกระจานที่เป็นปัญหาน้ำล้นอยู่ในขณะนี้ว่าถ้าหากไม่มีเขื่อนแก่งกระจาน ปริมาณน้ำมหาศาลกว่า 160 ล้านลบ.ม. จะไหลบ่าท่วม อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพยสินจำนวนมหาศาลอย่างแน่นอน แม้ปริมาณน้ำในเขื่อนแก่งกระจานจะมากกว่าปริมาณการกักเก็บ คือมีปริมมาณ 725 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 102 ของความจุ  แต่ก็ยังสามารถที่จะบริหารจัดการไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน หรือกระทบน้อยที่สุดได้ 

                "น้ำที่ระบายจากเขื่อนแก่งกระจานจะไหลลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีเขื่อนทดน้ำเพชรบุรีทำหน้าที่ให้การบริหารจัดการ โดยจะควบคุมน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนเพชรบุรีในระดับไม่เกิน 150 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัย น้ำไม่ล้นตลิ่ง นอกจากนี้กรมชลประทานยังสามารถตัดยอดน้ำก่อนน้ำผ่านหน้าเขื่อนเพชรบุรีผ่านทางคลองชลประทานฝั่งซ้าย-ขวา จำนวน 4 สาย ได้อีก 64.3 ลบ.ม.ต่อวินาที จึงมีน้ำไหลผ่านเขื่อนเพชรบุรีลงแม่น้ำเพชรบุรีที่ระดับ 83.84 ลบ.ม.ต่อวินาที รวมทั้ง ยังได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เครื่องสูบน้ำ เรือผลักดันน้ำ ที่ อ.บ้านแหลม และอ.เมือง รวม 90 เครื่อง เพื่อเร่งดันน้ำด้านท้ายน้ำออกอ่าวไทยให้เร็วที่สุด ทำให้ในตอนนี้ที่อำเภอบ้านแหลมไม่มีน้ำล้นตลิ่งและไม่เกิดน้ำท่วมขังเมืองเพชรบุรีแต่อย่างใด” ทวีศักดิ์ กล่าว

ไม่ใช่แค่ลุ่มน้ำเพชรบุรีเท่านั้นที่เขื่อนช่วยให้รอดพ้นหรือบรรเทาภัยจากน้ำท่วมได้  แม้กระทั่งลุ่มน้ำนครนายกก็ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เนื่องจากมีเขื่อนขุนด่านปราการชลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก กักเก็บน้ำไว้ได้ทั้งหมด

                พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างนำคณะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำที่เขื่อนขุนด่านปราการชล เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าจากการรายงานของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าเขื่อนขุนด่านปราการชล ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สามารถเก็บกักปริมาณน้ำส่วนใหญ่ที่เกิดจากฝนที่ตกหนักภายในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไว้ได้เกือบทั้งหมด ทำให้ลดความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดจากน้ำป่าไหลหลากได้

                “หากไม่มีเขื่อนขุนด่านปราการชลอันเนื่องมาจากพระราชดำริปริมาณน้ำกว่า 20 ล้านลบ.ม. จะไหลลงสู่คลองท่าด่านมาสมทบกับปริมาณน้ำจากคลองวังตะไคร้ คลองมะเดื่อ คลองนางรอง และคลองสาริกา สถานการณ์น้ำป่าจะรุนแรง สร้างความเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว 

              เช่นเดียวกับเขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ที่ก่อนหน้านี้มีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน  โดยมีปริมาณน้ำสูงสุด ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 อยู่ที่ 536 ล้านลบ.ม. ร้อยละ 103 หากไม่มีเขื่อนน้ำอูน ปริมาณน้ำกว่า 112 ล้านลบ.ม. จะไหลลงท่วมพื้นที่ จ.สกลนคร รวมไปถึงบริเวณลุ่มน้ำสงคราม จ.นครพนม สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง 

               ในขณะที่เขื่อนที่อยู่ในความรับผิดชอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเขืื่อนศรีนครินทร์ หรือเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนทั้ง 2 แห่งรวมกันเฉลี่ยไม่น้อยวันละ 160 ล้านลบ.ม. ซึ่งหากไม่มีเขื่อนแล้วแค่ครึ่งเดือนจะมีปริมาณน้ำไหลลงสู่ลุ่มน้ำกลองกว่า 2,400 ล้านลบ.ม. เพียงพอที่จะทำให้ลุ่มน้ำแม่กลองซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่ กาญจบุรี สุพรรณบุรี  ราชบุรี สมุทรสงคราม และนครปฐม จมบาดาล

                            

 แจงระบบรักษาเขื่อนต้องมาตรฐานสากล

    กรมชลประทานชี้แจงมีหน่วยงานส่วนบำรุงรักษาเขื่อนอยู่ทั่วประเทศไทย ใช้มาตรฐานตรวจวัดความปลอดภัยของเขื่อนเป็นสากลทั้งเขื่อนเก่าและเขื่อนใหม่ รวมถึงเพิ่มความถี่ในการใช้กำลังคนเดินสำรวจสันเขื่อนช่วงหน้าฝน ย้ำเขื่อนแก่งกระจานยังปลอดภัยดี

    สัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทานเผยกับ “คม ชัด ลึก” ว่ากรมชลประทานมีส่วนงานที่รับผิดชอบในส่วนของความปลอดภัยเขื่อนโดยตรงอยู่ทั่วประเทศ ทำหน้าที่ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของตัวเขื่อนเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนที่เพิ่งสร้างเสร็จหรือสร้างมานานแล้ว ทำการดูแลภายใต้มาตรฐานสากลเดียวกัน ทั้งการใช้เครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนและการใช้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเดินสำรวจด้วยตาเปล่า

    “เวลาก่อสร้างเขื่อนดิน เขื่อนคอนกรีต เขื่อนขนาดใหญ่ หรือ เขื่อนขนาดกลางจะต้องมีการติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน เปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจเช็กร่างกายมนุษย์ที่สามารถบอกได้ว่าเกิดความผิดปกติตรงไหน เช่น อัตราน้ำที่รั่วซึมผ่านเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ที่วิศวกรรมกำหนดไว้หรือไม่ สีของน้ำที่ไหลผ่านบ่อวัดด้านท้ายเขื่อนขุ่นหรือใส เขื่อนทรุดตัวหรือเคลื่อนตัวมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ซึ่งทุกประเทศจะใช้เกณฑ์การวัดความปลอดภัยเขื่อนในลักษณะนี้ กรมชลประทานมีการตรวจเช็กค่าความปลอดภัยเหล่านี้เป็นประจำทั้งเป็นรายชั่วโมง รายเดือน ไปจนถึงรายปี นอกจากนี้ยังมีการเดินตรวจบนสันเขื่อนด้วยสายตา เพราะบางครั้งเครื่องมือตรวจหาสิ่งผิดปกติบางอย่างไม่เจอ เช่น รากต้นไม้ การเกิดโพรง ทางลาด ของเขื่อนเกิดการสไลด์ตัว เป็นต้น เมื่อเจอลักษณะนี้จึงเข้าดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ที่ผ่านมาเรามักจะเจอข้อผิดปกติเป็นพวกรูและโพรงอยู่บ่อยๆ” สัญญากล่าว

    สัญญา ระบุอีกว่า นอกจากตัวเขื่อนแล้วยังได้ตรวจสอบดูแลรักษาอาคารประกอบประตูระบายน้ำ ทางระบายน้ำต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตและเป็นเหล็กว่าเกิดรอยแตกร้าว รั่วซึมหรือไม่ ส่วนที่เป็นเหล็กคอยดูเรื่องระบบการเปิด-ปิด ลวดสลิง น้ำมันหล่อลื่นให้พร้อมใช้งานควบคู่กันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนหรือช่วงเวลาใดๆ ที่ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมาก เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานจะเพิ่มความถี่ในการตรวจวัด ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นในอ่างอย่างรวดเร็ว และเข้าแก้ไขทันทีเช่นกัน จึงอยากให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าเขื่อนที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทานหรือแม้แต่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีวิธีการดูแลที่เป็นมาตรฐานสากล 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ