ข่าว

บทสรุปภาคเกษตรในประเทศ"ซีแอลเอ็มวี"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ - ทำกินถิ่นอาเซียน โดย - รศ.ดร.พิชัย ทองดีเลิศ  [email protected]

 

 ต่อจากเสาร์ที่แล้ว 

           อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าการเดินทางในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี(CLMV) ครั้งนี้เป็นการเดินทางแบบต่อเนื่องกันทั้ง 4 ประเทศ โดยที่ช่วงเวลาไม่ทิ้งห่างกันมากและเส้นทางที่เดินทางก็มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นจึงได้ทั้งข้อมูล ความรู้ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมรวมถึงบรรยากาศของแต่ละประเทศ ซึ่งบางครั้งเราไม่สามารถพบเห็นได้ในบางช่วงเวลา บางครั้งก็เป็นการพบเห็นโดยบังเอิญจริง ๆ 

 

บทสรุปภาคเกษตรในประเทศ"ซีแอลเอ็มวี"

 

    บทสรุปภาคเกษตรในประเทศ"ซีแอลเอ็มวี"

        อย่างในตอนที่เข้าไปประเทศลาวพอได้เห็นยุทธศาสตร์ของชาติที่เน้นการผลิตข้าวเหนียวก็ถือเป็นเรื่องแปลกของทีมเราเพราะส่วนใหญ่ไทยเราจะคุ้นเคยกับกับการผลิตข้าวเจ้าทั้งกินเองและส่งออก แต่ของลาวนี่เป็นยุทธศาสตร์ที่ผลิตเพื่อกินกันภายในประเทศเพื่อตอบสนองในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารของชาติตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งก็ไม่ได้คำนึงคุณภาพเป็นแต่มองในแง่ของความเพียงพอต่อการบริโภคเป็นสำคัญ 

         หรืออย่างในเรื่องของผลิตภัณฑ์จากการทำการประมงในแม่น้ำโขงก็ปรากฏว่าปลาที่หาได้จากธรรมชาติเพื่อบริโภคกันเองในท้องถิ่น ซึ่งก็เรียกว่าไม่มีราคาค่างวดอะไร แต่พอนำไปขายที่ตลาดในเมืองกับกลายเป็นสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นหลายเท่าทันตาเห็น ซึ่งต้องเป็นคนที่มีฐานะเท่านั้นถึงจะซื้อหามากินกันได้ ถ้าว่ากันไปตามจริงแล้วเกษตรกรที่ทำประมงน้ำจืดก็น่าร่ำรวยจากการขายปลาจากธรรมชาติ

      แม้แต่เห็ดโคนที่ลาว ที่ทีมเราเคยพบเห็นในตลาดข้างทางทุกคนอยากซื้ออยากกินก็มีราคาถูกมากเรียกว่าราคาเหมือนแจกกันฟรี คนลาวก็ไม่ซื้อกินกันเพราะมีเยอะมากมายจนกลายเป็นของที่หาได้ปกติตามธรรมชาติ ซึ่งต่างจากที่บ้านเราที่หายากและราคาก็สูงอยู่มาก ในเรื่องของธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องของการลงทุนขนาดใหญ่ที่เราพบเจอในลาว

       อย่างกาแฟดาวที่คุ้นหูและขายดิบขายดีกันในบ้านเราก็เป็นกาแฟจากการทำธุรกิจของคุณดาวเรือง ซึ่งปลูกกาแฟอยู่ในลาวใต้ก็ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์อันดีในการอยู่ร่วมกันและในการทำธุรกิจของชาวลาวและชาวเวียดนาม ซึ่งก็เป็นผลดีทั้งในแง่ของการจ้างแรงงานและผลผลิตที่ได้รวมไปถึงรายได้ของชุมชน ส่วนของไทยเบฟเวอเรจเราที่เข้าไปทำธุรกิจกาแฟในนามปากซองไฮแลนด์ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ก็ชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันเชิงธุรกิจกาแฟ

       และอีกด้านนึงก็เป็นการชี้ให้เห็นถึงการทำธุรกิจเดียวกันในพื้นที่เดียวกัน โดยใช้ทรัพยากรและแรงงานจากที่เดียวกัน ซึ่งจริง ๆ ดูแล้วก็น่าจะมีปัญหาแต่เขาก็อยู่ร่วมกันได้แบบสบายๆเพราะมีตลาดและลูกค้ากันคนละกลุ่ม เรียกว่ามีความสุขกันทุกฝ่ายก็แปลกไปอีกแบบครับ 

     ส่วนในกัมพูชานี่ก็น่าประหลาดที่มีพื้นที่การเกษตรค่อนข้างมากและอุดมสมบูรณ์ก็ปรากฏว่ากัมพูชาต้องนำเข้าผักจากไทยและเวียดนามเพื่อการบริโภคภายในประเทศเพราะผลิตพืชผักได้น้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนกัมพูชา 

    ส่วนมะม่วงแก้วขมิ้นก็ปลูกกันมากจนเกินความจำเป็นต่อการบริโภคและการส่งออก ตอนนี้กลายเป็นเป็นผลไม้ยอดนิยมตามร้านผลไม้รถเข็นไปทุกที่ในเมืองไทย ซึ่งราคาที่กัมพูชากับบ้านเรานี่ต่างกันหลายเท่าตัวเลยที่เดียว นอกจากจากนี้อาหารประเภทโปรตีนที่ทางฝั่งยุโรปกำลังนิยมกันจำพวกแมลง 

     หากมาที่กัมพูชาเราจะเจอกับอาหารจำพวกแมลงสารพัดชนิดทั้งแมงป่อง แมงดา แมงมุม ตั๊กแตน จิ้งหรีด รวมถึงแมลงต่าง ๆ อีกสารพัดชนิดที่มีขนาดใหญ่โตและเพียงพอต่อการส่งออกได้ ซึ่งถ้าทำเป็นอุตสาหกรรมอาหารแมลงแปรรูปเพื่อการบริโภคแบบดีๆมีมาตรฐานแล้วก็คงไม่น้อยหน้าชาติใดในโลกเลยทีเดียว ส่วนเมียนมาร์กับเวียดนามก็มีอะไรแปลกๆเยอะแต่เนื้อที่เขียนหมดเสียก่อนครับ!

                                                           

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ