ข่าว

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรมส่งเสริมการเกษตร"แนะชาวสวนทุเรียนใช้วิธีธรรมชาติควบคุมศัตรูพืชผลิต"เชื้อไตรโคเดอร์ม่า"ใช้เอง "ชาวสวน"เผยผลลัพธ์กำจัดเชื้อราอยู่หมัด ผลผลิตเพิ่ม

23  มิถุนายน 2561 "กรมส่งเสริมการเกษตร"แนะชาวสวนทุเรียนใช้วิธีธรรมชาติควบคุมศัตรูพืชผลิต"เชื้อไตรโคเดอร์ม่า"ใช้เอง "ชาวสวน"เผยผลลัพธ์กำจัดเชื้อราอยู่หมัด ผลผลิตเพิ่ม

 

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร โดยเฉพาะการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพราะนอกจากใช้สารเคมีแล้วยังมีวิธีการอื่น ๆ เช่นใช้วิธีทางธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช  การใช้ตัวห้ำ  แตนเบียน  การใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคแมลงศัตรูพืช เชื้อไตรโคเดอร์ม่า  เป็นเชื้อราที่มีประโยชน์สามารถควบคุม  กำจัดเชื้อราที่ให้โทษที่ทำให้ต้นพืชเป็นโรค เช่น โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอฟธอรา

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

ทั้งนี้ทุเรียนถือว่ามีปัญหาที่สำคัญคือโรครากเน่าโคนเน่า การแก้ปัญหาที่ผ่านมาชาวสวนส่วนใหญ่จะเน้นการใช้สารเคมี เช่นที่ ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นตัวอย่างหนึ่งในอดีตมีการใช้สารเคมีเยอะมาก แต่ไม่สามารถจัดการกับโรคเน่าโคนเน่าในทุเรียนได้ กระทั่งทำให้เกษตรกรมีความคิดโค่นสวนทุเรียนทิ้งเพื่อไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นแทน แต่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เข้ามาแนะนำส่งเสริมการใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ในการควบคุม

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

ซึ่งชาวสวนเองก็มีการศึกษาทดสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่ หลังจากที่ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าจัดการโรคเน่าโคนเน่าในทุเรียนผ่านไป 6 เดือน ต้นทุเรียนที่กำลังจะตายมีแผล ร่องรอยของการทำลายของโรคเน่าอยู่ก็เริ่มดีขึ้น แผลเริ่มแห้ง ทุเรียนเริ่มฟื้น เริ่มแตกใบอ่อน สามารถให้ผลผลิตได้ และปรับเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนมาใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

ข้อดีของเชื้อไตรโคเดอร์ม่าคือเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ วิธีการขยายเชื้อไม่ได้ยุ่งยากนัก ต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ยังมี เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมตตาไรเซี่ยม ก็เป็นเชื้อราที่เป็นประโยชน์ใช้ในการควบคุมโรคพืชและศัตรูพืชแตกต่างกันไป  เชื้อไตรโคเดอร์ม่านอกจากควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า เรื่องโรคใบไหม้ในข้าวก็สามารถจัดการได้  สำหรับทุเรียนจะมีศัตรูพืชอยู่หลายตัว เช่นหนอนเจาะเมล็ด หนอนเจาะผลทุเรียนแต่เมื่อเทียบกับโรคเน่าโคนเน่าถือเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของทุเรียน 

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

โรครากเน่าโคนเน่าถ้าเป็นมากสามารถทำลายต้นพืชที่เป็นไม้ผล ส่วนที่เป็นใบ กิ่ง ต้น โคนต้น ราก อาการที่ถูกทำลายถ้าใบก็จะเหลืองซีด ร่วงหล่นไป ก้านใบเป็นสีน้ำตาล ถ้าทำลายที่ต้นจะสังเกตเห็นรอยเหมือนทางน้ำเกิดอาการเน่ารากเน่า อยากแนะนำเกษตรกรให้หันมากลับมาใช้วิธีการทางธรรมชาติ ซึ่งได้ผลดีอย่างเช่น การใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าในการกำจัดโรคเน่าโคนเน่าในไม้ผลทุกชนิด สามารถรับความรู้ได้จากเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มเพื่อผลิตขยายเชื้อเหล่านี้ได้ คิดว่าจะเป็นประโยชน์ สามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีและรักษาผลผลิตพืชผลทางการเกษตร เรื่องของสุขภาพก็จะดีด้วย เพราะมีความปลอดภัยสูง เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตระหว่างใช้สารชีวภัณฑ์กับการใช้สารเคมี เกษตรกรที่รับร่อ รายได้ที่ได้ 1 ล้านบาท จะเป็นเรื่องของการจัดการศัตรูพืชประมาณ 50,000-60,000 บาท ในขณะที่ของเดิมอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ฉะนั้นสามารถลดต้นทุนเรื่องการจัดการศัตรูพืชในสวนทุเรียนได้ครึ่งหนึ่ง 

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

นางสำเนียง สุขเนาว์ เจ้าของแปลงต้นแบบการใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน บ้านบางฝนตก หมู่ 18 ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จ.ชุมพรและเจ้าของสวนทุเรียน พื้นที่ 15 ไร่  บอกว่ามีปัญหาเรื่องโรครากเน่าโคนเน่า ราสีชมพู ใบเฉา เหี่ยวและตายลงจากข้างบนลงมาถึงโคนต้น จึงปลูกปาล์มน้ำมันแซมสวนทุเรียนเพราะเชื่อว่าทุเรียนต้องตายหมดแต่ได้รับตำแนะนำจากนายสว่าง โกดี เกษตรอำเภอท่าแซะ (ปัจจุบันเกษียณราชการแล้ว)ในการอบรมถ่ายทอดความรู้ ให้รู้จักเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ว่าสามารถแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าได้ จึงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย. 56 

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน

 

ทั้งนี้โดยการฉีดลำต้น  หว่าน  ทรงพุ่ม กันเชื้อราไฟทอฟธอรา ทุก 15 วัน 30 กก.ต่อน้ำ 1 พันลิตร และฉีดพื้นดินด้วย หลังจากนั้น 6 เดือนดูแผลที่เยิ้มที่เป็นโรคและเริ่มสร้างเนื้อใหม่ขึ้นมา  กิ่งและใบดีขึ้น รากโคนเน่าเริ่มผุก็สร้างเนื้อเยื่อมาใหม่ แต่เดิมใช้สารเคมีมามาก ต้นทุนสูง แต่เมื่อหันมาใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาลดต้นทุนลงได้มากเรียกว่าครึ่งต่อครึ่ง และไม่เสี่ยง ผลิตได้เอง  

 

"ไตรโคเดอร์ม่า"มือปราบ"รากเน่าโคนเน่า"ทุเรียน


"ปีนี้เข้าปีที่ 6 แล้ว ค่อย ๆ ฟื้นตัวแต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ก็เก็บผลผลิตได้ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างปีที่แล้ว 40 ลูกต่อต้น ตอนนี้ก็ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาตลอด  เกษตรกรส่วนมากไม่ค่อยเชื่อ แต่เราทำจริงมันได้ผลช้าแต่มันยั่งยืนกับชีวิตของเรา ลดต้นทุนได้ดีด้วย"

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ