ข่าว

 ลุยพื้นที่ส.ป.ก.ดูความสำเร็จของเกษตรกรเมืองชล          

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ลุยพื้นที่ส.ป.ก.โครงการจัดที่ทำกิน  ดูความสำเร็จของเกษตรกรเมืองชล          

 

               การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ถูกยึดคืนใน จ.ชลบุรี จำนวน 2 แปลง ได้แก่ แปลงหมายเลข 378 ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ เนื้อที่ 569.75 ไร่ และแปลงหมายเลข 468 ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง เนื้อที่ 535.27 ไร่ ขณะนี้เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา “สุรจิตต์ อินทรชิต” เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงานติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการจัดที่ดินตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน ณ พื้นที่แปลงหมายเลข 468 ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

 ลุยพื้นที่ส.ป.ก.ดูความสำเร็จของเกษตรกรเมืองชล          

 

             การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อไปดูความสำเร็จของเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 42 ราย รายละ 6 ไร่ แบ่งเป็นแปลงเกษตรกรรม 5 ไร่ และแปลงที่อยู่อาศัย 1 ไร่ รวม 47 ไร่ 38 ตารางวา พื้นที่ส่วนกลาง 74 ไร่ 1 งาน 09 ตารางวา พื้นที่แหล่งน้ำ 125 ไร่ 76 ตารางวา โดยมีการจัดตั้ง “สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินอำเภอบ่อทอง (คทช.) จำกัด” ที่ได้ดำเนินการจัดที่ดินแล้ว ในรูปแบบกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคด้านต่างๆ 

 ลุยพื้นที่ส.ป.ก.ดูความสำเร็จของเกษตรกรเมืองชล          

             โดยการบูรณาการร่วมหน่วยงานในสังกัดภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานราชการอื่นๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

              สุรจิตต์ กล่าวถึงการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำกินตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ดังกล่าวว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วทั้ง 42 ราย เกษตรกรได้รวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินอำเภอบ่อทอง (คทช.) จำกัด เพื่อขอเช่าที่ดินจาก ส.ป.ก. โดยมีเกษตรกรบางส่วนได้เข้ามาอยู่อาศัย และเริ่มทำการเพาะปลูกบ้างแล้ว

               “เนื่องจากพื้นที่แปลงหมายเลข 468 สภาพดั้งเดิมก่อนที่ ส.ป.ก.จะยึดคืนมา เป็นแปลงปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด ปาล์มบางส่วนโตเต็มที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ส.ป.ก.จึงได้โค่นต้นปาล์ม ปรับพื้นที่เฉพาะในส่วนที่เป็นบ้านพักอาศัยและพื้นที่สำหรับจัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ส่วนที่เป็นแปลงรวมและแปลงเกษตรกรรมที่จัดให้เกษตรกรทำกินรายละ 5 ไร่ ยังคงเป็นสวนปาล์มเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร”

            

 

                  เลขาธิการส.ป.ก. เผยต่อไปว่า สำหรับแนวทางการพัฒนาอาชีพในระยะแรก เกษตรกรจะมีรายได้หลักจากการขายปาล์มน้ำมัน รายได้อีกส่วนหนึ่งก็จะมาจากการทำเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในแปลง ที่อยู่อาศัย 1 ไร่ และในระยะต่อไป ส.ป.ก. จะพยายามผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

“จุดเด่นของเกษตรกรในพื้นที่นี้คือ มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง ร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เกษตรกรบางส่วนเข้ามาอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ยังไม่มีบ้าน โดยสร้างเป็นเพิงชั่วคราว และมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่มาตลอด และมีแนวทางร่วมกันในการพัฒนาชุมชนอย่างชัดเจน แม้แหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคยังสร้างไม่เสร็จ แต่เกษตรกรบางส่วนก็ได้ลงแรงขุดบ่อน้ำตื้นในพื้นที่ของตัวเอง จนสามารถทำการเพาะปลูก และมีรายได้จากการขายพืชผัก ส่วนราชการต่างๆ ก็ร่วมกันทำงานอย่างแข็งขัน การพัฒนาจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี 2561 การพัฒนาทุกด้านจะเสร็จเรียบร้อย”

 ลุยพื้นที่ส.ป.ก.ดูความสำเร็จของเกษตรกรเมืองชล          

ศรัญญา วงศ์สุนทร เหรัญญิกสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินอำเภอบ่อทอง (คทช.) จำกัด ยอมรับว่าในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินมีการพูดคุยและปรับแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันมาโดยตลอด หลังจากรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินอำเภอบ่อทอง (คทช.) จำกัด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 สมาชิกจึงได้ตกลงร่วมกันว่าจะเก็บปาล์มน้ำมันในแปลงรวมและแปลงเกษตรกรรมไว้ เพราะในระหว่างที่เกษตรกรยังไม่สามารถทำการเกษตรได้ ก็จะยังมีรายได้จากการขายปาล์มน้ำมัน โดยใช้วิธีบริหารแบบแปลงรวม รวบรวมผลผลิต และขายผ่านสหกรณ์ แล้วนำรายได้มาแบ่งเท่าๆ กัน เพื่อให้เกษตรกรทุกคนสามารถอยู่ได้และร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่

“ใน 1 เดือนตัดปาล์มได้ 2 ครั้ง ขายได้เป็นเงินประมาณ 2-3 แสนบาท หักค่าจ้างในการตัดปาล์มตันละ 850 บาท หรือประมาณ 2-4 หมื่นบาทต่อเดือน เหลือเป็นรายได้ 1.8-2.6 แสนบาทต่อเดือน หลังจากหักค่าดำเนินงานของสหกรณ์แล้วจึงนำรายได้ทั้งหมดมาแบ่งเท่าๆ กัน ในแต่ละเดือนเกษตรกรมีรายได้จากการขายปาล์มน้ำมันประมาณ 4,000-7,000 บาท”

สำหรับแนวทางการพัฒนาในอนาคต กลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่าจะยังคงพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันไว้จนกว่าจะหมดอายุแล้ว จึงค่อยพิจารณาว่าจะเพาะปลูกอะไรต่อไป ส่วนในแปลงที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลางจะทำเกษตรผสมผสาน โดยเน้นการทำพืชผักอินทรีย์ และในพื้นที่แต่ละแปลงจะพยายามตกแต่งให้สวยงามเพื่อผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไป

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ