ข่าว

กรมชลฯเกาะติดสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลฯเกาะติดสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา นำศาสตร์พระราชาเดินหน้า"โคก หนอง นา โมเดล"

 

 

กระทรวงเกษตรฯเกาะติดสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา กรมชลประทานยืนยันการบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผน 4 เขื่อนใหญ่ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 10,000 ล้านลบ.. พร้อมสั่งเดินหน้า "โคก หนอง นา โมเดล" นำศาสตร์พระราชามาขยายผล สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 

 

เมื่อเร็วๆนี้ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อม ด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ําทุ่ง เจ้าพระยา และสถานการณ์น้ําในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พร้อมทั้งเร่งรัดการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา 5 ลุ่มน้ํา ตลอดจนติดตามแก้ไขปัญหา ต่างๆ ให้กับเกษตรกร

กรมชลฯเกาะติดสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ําในลุ่มน้ําเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยในปัจจุบัน 4 เขื่อนหลักที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาคือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ํารวมกันประมาณ 12,979 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ..) คิดเป็นร้อยละ 52 ยังสามารถรองรับปริมาณฝนรวมกันได้มากกว่า 10,000 ล้านลบ..

กรมชลฯเกาะติดสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา

สําหรับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ขณะนี้ปริมาณน้ําในอ่าง 239 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณการกักเก็บซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่วางแผนไว้ ซึ่งจะช่วยต้นฤดูฝนจะพร่องน้ำให้เหลือในอ่างไม่มากนัก เพื่อรองรับปริมาณน้ำเหนือที่จะหลากลงมาในช่วงกลางถึงปลายฤดูฝน ซึ่งคาดว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ณวั นที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ปริมาณน้ําจะเต็มอ่าง อย่างเแน่นอน

ส่วนของผลการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันมกีารเพาะปลูกแล้วรวม855,367ไร่

นอกจากนี้ อธิบดีกรมชลประทานยังกล่าวถึงโครงการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชาโคก (โคก หนอง นา โมเดล) นำร่องในพื้นที่ 5 ลุ่มน้ำคือ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำปราจีน (ลุ่มน้ำย่อยห้วยโสมง) ซึ่งกรมชลประทานได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 2 ลุ่มน้ํา คือ ลุ่มน้ําห้วยโสมง และลุ่มน้ําป่าสักนั้นว่า กรมชลประทานได้ดำเนินโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จในลุ่มน้ำห้วยโสมง จ.ปราจีนบุรี ขณะนี้ได้ นํามาต่อยอดในพื้นที่ลุ่มน้ําป่าสัก

อย่างไรก็ตามในส่วนประชาชนที่ยังประสบกับปัญหาไม่มีอาชีพทํากินนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาด้านอาชีพให้กับประชาชน โดยให้มีตัวแทนจากประชาชนในพื้นที่เข้ามาร่วมเป็น คณะกรรมการด้วยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้เน้นย้ําให้กรม ชลประทานบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ลุ่มน้ําป่าสัก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

สำหรับ "โคก หนอง นา โมเดล" เป็นการนำศาสตร์พระราชาในเรื่อง ทฤษฏีใหม่ มาปรับประยุกต์ สู่การปฏิบัติโดยเป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะในการทำการเกษตร ซึ่งมักอยู่ในพื้นที่กลางน้ำ ด้วยการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งจะแบ่งพื้นที่การเกษตร เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 โดย 30% แรกสำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ อีก 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว และอีก 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง คือ 1.ปลูกไม้ใช้สอย 2.ไม้กินได้ และ3.ไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ 1.มีกิน คือ ผัก มีอาหารไว้กิน 2.มีอยู่ คือ สามารถตัดไม้ไปสร้างบ้าน ทำที่อยู่ได้ 3.มีใช้ คือ มีไว้ใช้สอยในครัวเรือน ใช้เป็นยาและสมุนไพร ใช้เป็นฟืน เป็นเครื่องมือใช้สอยในบ้าน และ4. มีความสมบูรณ์ และความร่มเย็น ส่วน 10% สุดท้าย สำหรับที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น

ทั้งนี้การออกแบบ "โคก หนอง นา โมเดล" แต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกันขึ้นกับภาวะภูมิสังคม ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของการออกแบบพื้นที่ ภูมิ คือ สภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม สังคม คือ วัฒนธรรม ความเชื่อภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งในการออกแบบจะให้ความสำคัญกับ “สังคม” มากกว่า “ภูมิ” คือต้องออกแบบตามสังคมและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ แม้ว่าภูมิประเทศจะเหมือนกันก็ตาม หากสังคมต่างกันการออกแบบก็จะต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้การกักเก็บน้ำ เป็นเรื่องสำคัญของ "โคก หนอง นา โมเดล" ซึ่งกรมชลประทานจะแนะนำวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ ซึ่งมี 3 วิธี คือ 1. เก็บน้ำไว้ในหนอง ด้วยการขุดหนองจะต้องขุดให้คดโค้ง และมีระดับตื้นลึกแตกต่างกันไปในแต่ละจุด ก่อนขุดต้องมีการคำนวณปริมาตรนํ้าที่สามารถเก็บได้ในหนองเพื่อให้พอใช้งาน 2. เก็บน้ำไว้บนโคก ทำได้โดยการปลูกป่าและเก็บในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน เพื่อสร้างความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในดินได้ และ 3.เก็บไว้ในนา ยกคันนาให้สูงและกว้าง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกพืชผักไว้บนคันนาได้อีกด้วย ซึ่งการดำเนินโครงการนี้จะทำให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก อยู่อย่างพอเพียง สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแน่นอน

"เพื่อให้การดำเนินโครงการ "โคก หนอง นา โมเดล" ในส่วนที่กรมชลประทานรับผิดชอบประสบผลสำเร็จ และเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้จาก จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิง ปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 18 - 20 มิ.. 61 นี้ ณ โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อให้เกษตรกรมี ความรู้ความเข้าใจในศาสตร์พระราชา และได้แบบแปลงกสิกรรมตามหลัก โคก หนอง นา โมเดล ซึ่งขณะนี้มีมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมประมาณ100ราย" อธิบดีกรมชลประทานกล่าวในตอนท้าย

-------------------------------------

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ