ข่าว

กรมชลฯพร่องน้ำเขื่อนใหญ่รับมือหน้าฝนมาเร็ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรมชลฯ"พร่องน้ำเขื่อนใหญ่เหลือร้อยละ 61-65 รับมือหน้าฝนปีนี้มาเร็วขึ้น 2 สัปดาห์ เตรียมพื้นที่ว่าง 4 เขื่อนหลัก เริ่มรับฝนทยอยตกภาคเหนือตอนบน

 

          22 พฤษภาคม 2561 นายกฯระดมทุกภาคส่วนเร่งช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯจากฝนตกในพื้นที่และน้ำทะเลหนุน สั่งกรมชลฯหาแก้มลิงรอยต่อ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี 3 แสนไร่  ช่วยกทม.ฝั่งตะวันออก”

 

 

          นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากการประชุมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำโดยมี หน่วยงานเกี่ยวข้องด้านน้ำร่วมกับกรมชลประทาน มีมติให้พร่องน้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศประเทศ โดยในปัจจุบันเหลือร้อยละ 61- 65  เพื่อเตรียมรองรับฤดูฝน ทั้งนี้การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญโดยได้ทำโมเดลจำลองสถานการณ์ปริมาณฝนปีนี้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปีปกติ ซึ่งผลการประเมินล่วงหน้าสภาพฝนตกจะใกล้เคียงปี 2558,2530,2522 และปี 2549 จะไม่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่เหมือนปี 2554

 

กรมชลฯพร่องน้ำเขื่อนใหญ่รับมือหน้าฝนมาเร็ว

 

          ทั้งนี้ฤดูฝนปีนี้มาเร็วกว่าปี 60 ประมาณสองสัปดาห์ พร้อมกันนี้ได้วางแผนการบริหารจัดการฤดูน้ำหลากเข้าสู่พื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง ที่จะหลากมาช่วงเดือนกันยายน ได้เตรียมพื้นที่ลุ่มบางระกำ กว่า 3.82 แสนไร่ ซึ่งได้นำน้ำที่พร่องจากเขื่อนมาให้ชาวนาลงมือเพาะปลูกข้าวเร็วขึ้น 1 เดือน โดยทุ่งบางระกำปลูกไปแล้วกว่าร้อยละ 99.54  และทุ่งเจ้าพระยา 12 ทุ่งพื้นที่ 1.15 ล้านไร่ ได้ปลูกแล้วกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวสามารถเป็นแก้มลิงธรรมชาติรับน้ำได้กว่า 2 พันล้านลบ.ม.

 

กรมชลฯพร่องน้ำเขื่อนใหญ่รับมือหน้าฝนมาเร็ว

 

          อีกทั้งขณะนี้เริ่มมีฝนตกทยอยจากภาคเหนือตอนบน ได้เตรียมพื้นที่ว่างรับน้ำเข้าเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักฯ เป็นต้น โดยล่าสุดสภาพน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีน้ำรวม 46,292 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61 เป็นน้ำใช้การได้ 22,373 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43 ซึ่งปริมาณน้ำเมื่อเทียบกับปี2560 มีน้ำ 41,315 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 54 โดยมากกว่าปี 2560 จํานวน 4,977 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯต่อวัน จํานวน 85.92 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำระบาย จํานวน 159.15 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้ อีก 29,645 ล้าน ลบ.ม. 

 

กรมชลฯพร่องน้ำเขื่อนใหญ่รับมือหน้าฝนมาเร็ว

 

       

          ทำโมเดลจำลองสถานการณ์น้ำ มีพื้นที่แอ่งกระทะสองทุ่งทั้งทุ่งบางระกำ และทุ่งเจ้าพระยา 12 ทุ่งรับน้ำไว้อยู่แล้ว โดยจากที่ปรับเวลาส่งน้ำให้ปลูกข้าวเร็วขึ้น 1 เดือนเก็บเกี่ยวได้ก่อนถึงเวลาน้ำหลากมา รวมทั้งถ้าฝนตกในปริมาณแบบปัจจุบันนี้ สามารถรับได้ไม่มีปัญหาท่วมเหมือนปี 54

 

กรมชลฯพร่องน้ำเขื่อนใหญ่รับมือหน้าฝนมาเร็ว

 

          อย่างไรก็ตามท่านนายกรัฐมนตรี ต้องการให้ทุกหน่วยงานช่วยกันแก้ปัญหาสำคัญเกิดท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯจากฝนที่ตกลงมาตรง ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งถ้าเจอกับน้ำทะเลหนุน เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนช่วยกันแก้ไข ซึ่งกรมชลฯ ควบคุมน้ำจากเขื่อน แต่น้ำฝนที่ลงจากฟ้า มาบวกกับน้ำทะเลหนุน โดยระดมทุกภาคส่วนกว่า 30 หน่วยงาน มาช่วย กทม. โดยคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ( กนช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานจะหารือเรื่องนี้ เพื่อรับมือ

กรมชลฯพร่องน้ำเขื่อนใหญ่รับมือหน้าฝนมาเร็ว

 

          รมช.เกษตรฯกล่าวว่าในส่วนกรมชลประทาน ได้ช่วยกทม. โดยการคอนโทรลน้ำให้มาตรงเวลา เช่นในช่วงนี้ควรจะปล่อยมาได้ผ่านกทม. ส่วนช่วงฝนหนักต้องเบรคไว้ตอนบน หาที่เก็บไว้ในเขื่อน แก้มลิง และหาพื้นที่เป็นหนองน้ำ หลุมขนมครก รวมทั้งได้หาพื้นที่ฝั่งตะวันออกไว้ด้วย กักน้ำไม่กระทบกรุงเทพฯแถบลุ่มบางปะกง ตนได้สั่งการกรมชลฯหาพื้นที่ไว้อีก 3 แสนกว่า สามารถใช้เป็นแก้มลิงรองรับน้ำหลากได้ทันฤดูฝนนี้ โดยกรมชลฯได้ ส่งรายละเอียดมาแล้วเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำรอยต่อ จ.ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีน ซึ่งเป็นแอ่งกระทะ หากบริหารจัดการได้ดี จะเหมือนกับ ลุ่มเจ้าพระยา โดยบริหารช่วงเวลาน้ำหลากไม่มากระทบพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ