ข่าว

"โมเดล"เลื่อนเวลาปลูกข้าวสำเร็จได้ผลดีแก้ท่วมซ้ำซาก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"รมว.เกษตรฯ"สั่งกรมชลฯขยายผลโมเดลเลื่อนเวลาปลูกข้าว 13 ทุ่งเจ้าพระยาประสบความสำเร็จ ได้ผลดีแก้น้ำท่วมซ้ำซาก เกษตรกรยอมรับผลผลิตไม่เสียหาย เล็งช่วยลุ่มน้ำโขง ชี 


         27 เมษายน 2561 "รมว.เกษตรฯ"สั่งกรมชลฯขยายผลโมเดลเลื่อนเวลาปลูกข้าว 13 ทุ่งเจ้าพระยาประสบความสำเร็จ ได้ผลดีแก้น้ำท่วมซ้ำซาก เกษตรกรยอมรับผลผลิตไม่เสียหาย เล็งช่วยลุ่มน้ำโขง ชี  มูล ตาปี  หาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ 

 

 

           ที่ประตูส่งน้ำบรมธาตุ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ สำนักงานชลประทานที่ 12 จ.ชัยนาท กรมชลประทาน โดยนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดประตูส่งน้ำ 4 แห่งเข้าพื้นที่ 12 ทุ่งลุ่มต่ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งฝั่งซ้าย-ขวา โดยเป็นปีที่สองในการเลื่อนเวลาเพาะปลูกเร็วขึ้น

                             

           ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจว่ามีน้ำส่งอย่างทั่วถึง ได้ลงมือปลูกข้าวพร้อมกันวันที่ 1 พ.ค.จะเก็บเกี่ยวได้ก่อนฤดูน้ำหลากปลายเดือนก.ย. ต.ค.หลีกเลี่ยงความเสียหายจากน้ำท่วม พื้นที่ชุมชน ย่านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม แนวสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยารวมถึงกรุงเทพฯปริมณฑล ได้ประสบผลสำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีนายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท และเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำ 12 ทุ่ง กว่า 400 คนให้การต้อนรับ


           นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำร่วมกับเลื่อนเพาะปลูกเร็วขึ้น นำพื้นที่หลังเก็บเกี่ยวไว้เป็นแก้มลิงในปี 60 ได้ตัดยอดน้ำหลากเข้า1.9 พันล้านลบ.ม.ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในปีนี้ได้ดำเนินการตามนโยบายของนายกฤษฏา สั่งการให้ขยายผลพื้นที่บางระกำ 3.8 แสนไร่ รองรับน้ำเพิ่มเป็น 500 ล้านลบ.มและในพื้นที่ตอนล่างได้ส่งน้ำให้ทำนาปี วันที่ 1 พ.ค.เป็นต้นไป

 

          ต่อจากนั้นนายกฤษฏา ได้ทำพิธีเปิดน้ำเข้า12 ทุ่งร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องรูปแบบประชารัฐ ในโครงการเลื่อนเวลาปลูกข้าว เพื่อแก้ไขอุทกภัยซ้ำซากลุ่มเจ้าพระยา เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี โดยรมว.เกษตรฯได้หมุนพวงมาลัยน้ำสามรอบ เปิดการส่งน้ำฤดูนาปี 2561 / 1 พร้อมกับตัวแทนเกษตรกร อ.ผักไห่ นำผ้าขาวม้ามาผูกเอวและมอบข้าวเปลือก พวงปลา ที่เป็นผลผลิตจากแก้มลิมปี 60 


           

         

           นายกฤษฏา  กล่าวว่า นับเป็นความสำเร็จของภาครัฐทุกหน่วย ตั้งใจทำงานร่วมกันเพื่อเกษตรกร ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำหลากจากภาคเหนือ มาท่วมเสียหายพื้นที่ภาคกลางเกิดเป็นประจำมาต่อเนื่องซึ่ง นายกรัฐมนตรี รับรู้ปัญหานี้มาโดยตลอดสั่งการให้แก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาปลูกข้าวนาปี ใช้เวลา 4 เดือนเลื่อนปลูกจากเดือนมิ.ย. มาเดือน พ.ค ทำให้ลดความเสียหายได้จำนวนมาก ตนจึงให้ขยายผล พื้นที่ลุ่มน้ำอื่น เช่นภาคใต้ ภาคอีสาน ไปปรับเวลาเพาะปลูกด้วยและขอเรียกร้องเกษตรกร เมื่อถึงเวลาปิดเปิดน้ำ ให้มีความสามัคคีทำพร้อมเพียงกัน ซึ่งในปีนี้ตนได้สั่งการหน่วยงานกรมปศุศัตว์ กรมประมง หาอาชีพให้ชาวนา ช่วงเลื่อนเวลาปลูกให้มีรายได้เพิ่มด้วย 

 

          "ให้ปรับเวลาปลูกข้าว เพื่อเลี่ยงพ้นฤดูน้ำหลากเดือน ต.ค. ปีที่แล้วผลความเสียหายนาข้าวไม่มี แต่ พี่น้องมีอาชีพใหม่ยังไม่มาก ได้สั่งเพิ่มเมนูอาชีพ ทำประมงและอาชีพอื่น และให้พื้นที่ใช้งบไทยนิยม ยั่งยืน ช่วยหาอาชีพให้เกษตรกร ซึ่งผลสำเร็จการเลื่อนปลูกข้าว ร่วมกับผู้นำชุมชน ลุ่มเจ้าพระยาล่าง ชาวนามีความพอใจยอมรับมาก จึงให้นำโมเดลนี้ขยายผล ลุ่มน้ำอื่นแนวลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลุ่มน้ำตาปี เป็นพื้นที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก โดยกรมชลฯจัดการน้ำเป็นวิทยาศาสตร์ ใช้ร่วมกับปรับปรุงสภาพธรรมชาติ 

 

"โมเดล"เลื่อนเวลาปลูกข้าวสำเร็จได้ผลดีแก้ท่วมซ้ำซาก

 

            ลดความเสียหายสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพื้นที่ และปีนี้สามารถบริหารจัดการแก้ไขน้ำท่วมได้ โดยทยอยปล่อยระบายน้ำไป กรุงเทพ ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานจิตอาสา ทำความสะอาดคูคลอง พื้นที่ลุ่มหลุมขนมครก ให้สามารถกระจายน้ำระบายน้ำผ่านได้รวดเร็ว พระองค์ทรงเป็นต้นแบบในการพัฒนา  ทำให้มั่นใจว่าบริหารจัดการน้ำท่วมได้ดีขึ้น"นายกฤษฏา กล่าว


           ในข่วงบ่ายมีเวทีเสวนา "บริหารจัดการน้ำไทยนิยม ยั่งยืน" โดยนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าการหน่วงน้ำโดยใช้แก้มลิงธรรมชาติขนาดใหญ่ ได้เท่าสองเชื่อนป่าสัก และคลอง1.2 หมื่นกม.  อีก 13 ทุ่ง รวมพื้นที่กักน้ำ 2,050 ล้านลบ.ม. ในปี2561 พร้อมกับเตรียมน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกต้นฤดู 350 ล้านลบ.ม. เปิดน้ำให้ปลูกข้าวได้ต้นฤดูฝน

 

"โมเดล"เลื่อนเวลาปลูกข้าวสำเร็จได้ผลดีแก้ท่วมซ้ำซาก


          นายชูชาติ ทรงกฤษ  แกนนำเกษตรกรกลุ่มใช้น้ำผักไห่ -เสนา กล่าวว่าเมื่อก่อนพื้นที่นี้ได้ความเดือดร้อนมากเพราะปล่อยน้ำสับสนวุ่นวาย ขณะนี้เป็นสิ่งถูกต้องทำนาเลื่อนเวลาขอให้ส่งน้ำอย่างเป็นระบบยั่งยืน เกษตรกรไม่เสียหาย ยังฟื้นสภาพดินได้ข้าวผลผลิตดีกว่า1 ตันต่อไร่ 


          นายสมบุญ พูลผล เลขากลุ่มบริหารบ้านหนองมล ตัวแทนผู้ใช้น้ำ 6 ทุ่งฝั่งตะวันออกลุ่มเจ้าพระยา 3 จังหวัด กล่าวว่าเกิดความเสียหายจากน้ำหลากท่วมทำนาปรังรอบสอง ตอนนี้เปลี่ยนพฤติกรรม เก็บเกี่ยววันที่ 10 ก.ย. เพื่อให้ก่อนน้ำมา 30 ก.ย. เป็นช่วงที่เขื่อนเจ้าพระยาเปิดระบายน้ำจากภาคเหนือ เกือบ 2 พันล้านลบ.ม.ต่อวัน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ