ข่าว

เร่งก่อสร้างเพิ่มความจุเขื่อนน้ำปี้แก้น้ำท่วม !!!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"บิ๊กฉัตร"เร่งรัดก่อสร้างเพิ่มความจุเขื่อนน้ำปี้ จ.พะเยา รับน้ำ 96 ล้านลบ.ม. ชี้บริหารน้ำร่วมกับเลื่อนเวลาเพาะปลูกช่วยแก้อุทกภัยลุ่มน้ำยม-เจ้าพระยา"

     

           26 เมษายน 2561 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี  เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดําเนินการโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ  จ.พะเยา   

 

           พร้อมกล่าวว่า  มาติดตามโครงการก่อสร้างเสริมเขื่อนน้ำปี้ เพิ่มความจุจากเดิมเก็บน้ำได้ 27.8 ล้านลบ.ม. เป็น 96.5 ล้านลบ.ม.ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำยม จากที่เกิดภัยแล้งหนักในช่วงปี 58 - 59  ได้ขออนุมัติก่อสร้าง จากครม.วงเงิน 3,981 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี ตั้งแต่ปี 59 - 64 แต่ยังล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 12 โดยเมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 28,000 ไร่ และ ในฤดูแล้ง ส่งน้ำให้พื้นที่อื่นอีก 35,000 ไร่ รวมทั้งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ําด้วย 

 

           พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า สําหรับพื้นที่ลุ่มน้้ำยม มีปริมาณน้้ำท่าเฉลี่ย 4,143 ล้าน ลบ.ม. มีปัญหาที่สําคัญ คือ พื้นที่เสี่ยงน้้ำท่วม 1.0 ล้านไร่ บริเวณ จ.แพร่, สุโขทัย, พิษณุโลก และ พิจิตร กับ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 0.9 ล้านไร่ บริเวณ จ.แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย และ พิจิตร

 

เร่งก่อสร้างเพิ่มความจุเขื่อนน้ำปี้แก้น้ำท่วม !!!

 

           นอกจากนี้ ในฤดูฝนน้้ำหลากจากแม่น้้ำยมยังไหลไปยังแม่น้้ำเจ้าพระยา ซึ่งเขื่อนน้ำปี้ สามารถเก็บน้ำสูงสุดได้ 96.5 ล้าน ลบ.ม. จะสามารถตัด ยอดน้ำหลากในฤดูฝนได้ และเพิ่มน้้ำต้นทุนในฤดูแล้งได้พอสมควร นอกจากนี้เร่งพัฒนาแหล่งน้ำ 38 แห่ง เพิ่มน้ำได้ 2.90 ล้าน ลบ.ม. และโครงการขนาดเล็ก รวม 132 โครงการ เพิ่มน้้ำได้ 18.5 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปีหน้าจะเดินหน้าโครงการขนาดเล็ก/บ่อน้้ำบาดาล รวม 135 โครงการ เพิ่มน้ำได้ 63.2 ล้าน ลบ.ม. 

 

 

 

 

 

เร่งก่อสร้างเพิ่มความจุเขื่อนน้ำปี้แก้น้ำท่วม !!!

 

          "ในภาพรวมการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในลุ่มน้ำยม หากได้รวมกับการปรับเลื่อนระยะเวลาการเพาะปลูกเร็วขึ้นและการจัดจราจรทางน้ำ เชื่อมั่นว่า จะลดปริมาณน้ำหลากลงไปยังพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา และในปีนี้นับเป็นปีแรกที่ไม่มีพื้นที่ใดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือภัยแล้ง ซึ่งเป็นผลมาจากการ จัดทําระบบประปาหมู่บ้าน โดยขณะนี้ ทั้งประเทศขาดอยู่ 200 กว่าหมู่บ้าน โดยจะทําครบทุกหมู่บ้านในสิ้นปีนอกจากนี้ ส่วนที่สําคัญที่สุด คือ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ ทําให้เชื่อมโยงเป็น ระบบ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด "พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ