ข่าว

กรมชลเตือนลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกพืชเกินแผนเสี่ยงขาดน้ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลเตือนลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกพืชเกินแผนเสี่ยงขาดน้ำ

           ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(2 ก.พ. 61)มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 59,153 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 35,232 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2560 จำนวน 8,602 ล้าน ลบ.ม.  เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 18,530 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 11,834 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของปริมาณน้ำใช้การได้

         กรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำและเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2560/61 โดยใช้น้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลักรวมกันทั้งสิ้น 14,187 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้ง(1 พ.ย. 60 – 30 เม.ย. 60)จำนวน 7,700 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำ สำหรับอุปโภคบริโภค 1,140 ล้าน ลบ.ม.,รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 1,450 ล้าน ลบ.ม. และการเกษตร 5,110 ล้าน ลบ.ม.ส่วนที่เหลืออีก 6,487 ล้าน ลบ.ม. จะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2561

         ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาปี 2560/61 ตั้งแต่ 1 พ.ย. 60 –2 ก.พ. 61ได้มีการระบายน้ำ  ตามแผนฯไปแล้วจำนวน3,758 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ49ของแผนจัดสรรน้ำฯ และเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ โดยในวันนี้(2 ก.พ. 61)การระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ยังคงอยู่ในอัตรา90 ลบ.ม.ต่อวินาที(ปี 2560 มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพียง 70 ลบ.ม.ต่อวินาที) เพื่อรักษาระบบนิเวศด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจนถึงปากอ่าวไทย และควบคุมค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแลไม่ให้เกินเกณฑ์เฝ้าระวังที่กำหนดไว้ 0.25 กรัมต่อลิตร ปัจจุบัน(2 ก.พ. 61) วัดค่าความเค็มได้ 0.18 กรัมต่อลิตร ไม่มีผลต่อน้ำดิบที่การประปานครหลวงใช้ในการผลิตประปาได้ตามปกติส่วนการส่งน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน กรมชลประทานยังสามารถสนับสนุนได้อย่างเพียงพอ ไม่เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกแต่อย่างใด

         สำหรับผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2560/2561 ของทั้งประเทศ ณ วันที่ 31 ม.ค. 61มีการเพาะปลูกไปแล้ว 8.03 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 89 ของแผนฯ(แผน 9.05 ล้านไร่) เฉพาะข้าวนาปรัง มีการเพาะปลูกไปแล้ว 7.55 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนฯ(แผน 8.35 ล้านไร่)เฉพาะส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกไปแล้ว 5.51 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 105 ของแผนฯ(แผน 5.23 ล้านไร่) เฉพาะข้าวนาปรัง มีการเพาะปลูกไปแล้ว 5.45 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ105 ของแผนฯ(แผน 5.17 ล้านไร่)ซึ่งการส่งน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานกรมชลประทานยังสามารถสนับสนุนได้อย่างเพียงพอ ไม่เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกแต่อย่างใด

         ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าพื้นที่เพาะปลูกในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกเต็มพื้นที่และเกินแผนไปแล้วจึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้ร่วมกันเพาะปลูกพืชให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนการจัดสรรน้ำที่ได้กำหนดไว้ที่สำคัญเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำครอบคลุมทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอจึงต้องขอความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในอนาคตได้อย่างไม่ขาดแคลนด้วย

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ