ข่าว

"สวนปาล์ม"วอนแนะใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้องก่อนยกเลิก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สวนปาล์ม"วอนรัฐแนะนำการใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้องก่อนยกเลิก ชี้หากหยุดใช้อาจมีสารตัวอื่นลักลอบยากต่อการควบคุม โอดต้นทุนสูงแต่ก็ต้องยอมรับหากประกาศไม่ให้ใช้จริง

         21 ธ.ค.60 จากกรณีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบาย ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีทางการเกษตร รวมทั้งกำหนดให้มีการจำกัดการใช้งานสารไกลโฟเซตหรือยาฆ่าหญ้า ในเรื่องนี้ นายศุภชัย โชติชัยชรินทร์ กรรมการบริษัทพิธานปาล์มพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นเกษตรกรสวนปาล์มในจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามธรรมชาติของสวนปาล์ม การกำจัดวัชพืชไม่ได้มีความถี่มาก นอกจากนั้น ปาล์มยังเป็นพืชที่มนุษย์บริโภคในลักษณะของน้ำมันที่ผ่านการแปรรูปเรียบร้อยแล้ว ไกลโฟเซตที่อยู่ในดินจากการเตรียมแปลงก่อนปลูกปาล์ม ไม่น่าจะส่งผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้             "สวนปาล์ม"วอนแนะใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้องก่อนยกเลิก

           "การฉีดยาเพื่อกำจัดวัชพืชจะทำเพียงปีละหนึ่งถึงสองครั้งเท่านั้น แต่การฉีดยาแต่ละครั้งจะใช้วิธีการสังเกตประกอบไปด้วยว่าสมควรฉีดหรือไม่ เราใช้ยาตามสภาพ เช่นหากอยู่ในช่วงหน้าแล้งวัชพืชจะขึ้นช้า ก็ไม่ต้องฉีดบ่อย สำหรับการฉีดที่โคนต้นปาล์มก็เพื่อให้โคนต้นสะอาดแต่ไม่ถึงกับต้องโล่งเตียนมาก แต่ให้มีหญ้าหรือวัชพืชที่คลุมดินบ้าง  วิธีการกำจัดวัชพืชจะใช้คนและสารเคมี แต่องค์ประกอบที่จะทำให้ได้ผลผลิตดีขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา เช่นการใส่ปุ๋ยหากไม่มีคุณภาพ การกำจัดวัชพืชอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้ผลปาล์มเจริญเติบโต

         "สวนปาล์ม"วอนแนะใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้องก่อนยกเลิก

        ทั้งนี้้ผลปาล์มจะให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันโดยทั่วไปอยู่ที่ 15 - 16 % หรือ 16 - 17 % เป็นปริมาณที่โรงงานรับซื้อแต่ในสวนของตนได้ปริมาณน้ำมันที่  20.02 % ไม่ได้มีการตรวจเช็คเรื่องสาร เคมีหรือไม่ โดยสวนของตนมีเนื้อที่กว่าพันไร่และปลูกมานานกว่า 30 - 40 ปี คนงานยังไม่ได้รับผลกระทบหรือมีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคคำนึงถึงเรื่องสุขภาพมาก สำหรับปาล์มโอกาสที่จะมีเรื่องสารเคมีที่ถูกดูดขึ้นไปถึงผลนั้นอาจจะเป็นไปได้น้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นกับกระบวนการผลิตด้วย การผลิตน้ำมันปาล์มไม่น่าจะมีผลกระทบเยอะจากสารเคมีตกค้าง จริง ๆ แล้ว หากจะพูดถึงผลกระทบ น่าจะอยู่ที่ชาวสวนที่นำยาฆ่าหญ้าไปใช้งานมากกว่า ซึ่งในส่วนของสวนปาล์มของเราก็ต้องมีการอบรมให้ความรู้คนงานที่จะลงแปลงเพื่อปรับพื้นที่ และพ่นยาฆ่าหญ้าว ต้องแต่งตัวให้มิดชิด ต้องเรียนรู้วิธีการพ่นยาที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตัวเองได้รับผลกระทบ           "สวนปาล์ม"วอนแนะใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้องก่อนยกเลิก

        สวนปาล์มใช้วิธีพ่นยาฆ่าหญ้า เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว หากมีการจำกัดการใช้งานไกลโฟเซตตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดจริง เกษตรกรน่าจะต้องหันมาใช้วิธีถอนหญ้าด้วยการจ้างแรงงาน หรือใช้รถไถ ซึ่งไม่น่าจะทำได้หากต้องการผลผลิตตามเป้าหมาย ทั้งปลูกและตัดขายได้ทันตามช่วงเวลาที่กำหนด การจ้างคนเป็นต้นทุนสูงกว่าการใช้ยาแน่นอน แต่ต้นทุนที่มากกว่าคือเรื่องของเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนใหญ่ ๆ กว่าจะใช้คนถอนหญ้าจนหมดก็คงปลูกพืชได้ช้าลง ผลผลิตที่เก็บได้ช้าก็จะกลับมาเป็นรายได้ที่ช้าและไม่เข้าเป้า  แทนที่รัฐจะบอกไม่ให้เราใช้ ให้มองมุมต่างว่า เรามาช่วยกันดูผลเสีย ผลดีแล้วเปรียบเทียบกัน ต้องทำข้อมูลออกมาดูจริง ๆ ว่า ผลกระทบเป็นอย่างไร ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะกระทบหรือไม่หรือหากจะจำกัดการใช้ก็ควรดูเป็นประเภทของพืชแต่ละชนิดไป ปัจจุบันหลายประเทศพยายามเป็นประเทศเกษตรกรรมปลอดสารเคมี  แต่วิธีการสำหรับการกำจัดหญ้าในแปลงที่ไม่ใช้สารเคมียังไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็ควรจะช่วยกันศึกษาก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนให้ได้ว่า ถ้าไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าแล้วจะใช้อะไร

          "สวนปาล์ม"วอนแนะใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้องก่อนยกเลิก
         "หากภาครัฐประกาศยกเลิกการใช้ไกลโฟเสต ก็กระทบแน่นอน โดยเฉพาะต้นทุนการบริหารจัดการจะเพิ่ม ในการจ้างแรงงาน  รวมถึงระยะวลาในการทำลายวัชพืชในสวนที่มีเนื้อที่จำนวนมากต้องเพิ่มขึ้นเพราะต้องใช้คนและเครื่องจักรในบางจุดที่คนไม่สามารถเข้าไปถึงเนื่องจากวัชพืชมีปริมาณมากยากแก่การกำจัดแต่หากใช้สารเคมีจะคุ้มค่ามากกว่า หากต้องยกเลิกจริงก็ต้องยอมรับแต่อยากให้ภาครัฐให้คำแนะนำ ความรู้และควบคุมว่าสารเคมีตัวไหนมีความเหมาะสมกับสวนปาล์ม วิธีการปฏิบัติอย่างถูกวิธี รวมทั้งหากมีการลักลอบนำเข้าหรือแอบขายสารตัวอื่นจะทำอย่างไร  เราคงไม่ไปเรียกร้องเพราะไม่ได้มีองค์กรที่เข้มแข็งไปร้องอะไรไม่ได้ " นายศุภชัย กล่าวย้ำ 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ