ข่าว

มกอช.รุกผู้นำเกษตรกรสร้าง Q อาสา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มกอช.เร่งสร้าง Q อาสา 4 จังหวัดเป้าหมายผู้นำกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เสริมความรู้ระบบการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP

          8 ธ.ค.60 นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. เป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศ มีบทบาทหน้าที่กำหนดมาตรฐาน ส่งเสริมการนำมาตรฐานสินค้าเกษตรไปใช้ตลอดห่วงโซ่อาหาร รวมถึงการเจรจาแก้ปัญหาทางการค้าเชิงเทคนิค เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

                      มกอช.รุกผู้นำเกษตรกรสร้าง Q อาสา

          การสร้างเครือข่ายและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นสิ่งสำคัญ มกอช. จึงสร้าง Q อาสา ขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐกับเกษตรกร ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP ตลอดจนมีการสร้างเครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ในปี 2561 มกอช.มีแผนจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (โครงการ Q อาสา)                         มกอช.รุกผู้นำเกษตรกรสร้าง Q อาสา  

          ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ Q อาสา ปี 2559 จัดอบรมไปแล้ว 3 รุ่น ผลิต Q อาสา จำนวน 135 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สระแก้ว และพัทลุง ซึ่ง Q อาสาเหล่านั้น ได้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตพืชอาหารปลอดภัย โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ และเจ้าหน้าที่ของ มกอช. โดยการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre Audit) และให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรที่จะยื่นขอการรับรอง GAP ในปี 2560 ได้ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรจำนวน 539 ราย ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเข้าสู่มาตรฐาน GAP ได้ทั้งสิ้น 411 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.25              มกอช.รุกผู้นำเกษตรกรสร้าง Q อาสา

          สำหรับปี 2561 พื้นที่เป้าหมายที่ Q อาสา จะเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐาน GAP พืชอาหาร มีทั้งหมด 6 จังหวัด คือ พิจิตร(แปลงใหญ่) กำแพงเพชร(แปลงใหญ่) พัทลุง(แปลงใหญ่) พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสระแก้ว จังหวัดละ 100 แปลง รวมทั้งสิ้น 600 แปลง คาดว่าแปลงเกษตรกรที่ยื่นขอการรับรอง GAP พืชอาหาร จะสามารถปรับเปลี่ยนเข้าสู่มาตรฐาน GAP ได้ไม่น้อยกว่า 420 แปลง คิดเป็นร้อยละ 70 ของเกษตรกรที่ยื่นขอการรับรอง

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ