ข่าว

โคกขาม“ตามรอยพ่อ 9101 แปรรูปหมอเทศแดดเดียว สร้างรายได้ชุมชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โคกขาม“ตามรอยพ่อ 9101“แปรรูปหมอเทศแดดเดียว”ชูวัตถุดิบท้องถิ่นทำรายได้ชุมชน

               กำลังตื่นตัวกันยกใหญ่ในหลายพื้นที่สำหรับ “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี” ตามนโยบายแปรรูปสินทรัพย์ให้กับชุมชนหมู่บ้าน หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอเพื่อเป็นโครงการสร้างงานส่งเสริมรายได้เพื่อการพัฒนาด้านคุณชีวิต และความเป็นอยู่ให้กับเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ก่อนมอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะผู้ร่วมดูแล โดยมีกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน 9,101 ชุมชนครอบคลุมทั่วประเทศ มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานไว้ 22,000 ล้านบาท เพื่อจัดสรรมอบทุนไว้ช่วยเหลือด้านการผลิตสินค้าและแปรรูปวัตถุดิบแต่ละแห่งที่มีโครงการเสนอเข้าของบประมาณมาทาง สนง.เกษตรจังหวัด ฐานะเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการขับเคลื่อนต่อไป

          เช่นเดียวกับที่ ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร “ที่ศาลาประชาคมกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 8”มีนางสุภวรรณ ศรีบุญนาค (ผู้ช่วยนอม) ผญบ.อยู่บ้านเลขที่ 53/6 ต.โคกขาม ผู้ก่อตั้งกลุ่มฯในนาม “กลุ่มแปรรูปปลาหมอเทศแดดเดียว” ได้ชักชวนกลุ่มสมาชิกรวมตัว เดินหน้าตามโครงการ 9101 นำปลาหมอเทศสภาพสดที่ซื้อหาซื้อได้และเลี้ยงเอง มาร่วมร่วมใจกันแปรรูปเป็นปลาหมอเทศตากแห้งแดดเดียวให้กับสมาชิก เพื่อออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปผู้สนใจบริโภค มีนายเศรณี อนิลบล เกษตรจังหวัดสมุทรสาคร ฐานะผู้ส่งเสริมสนับสนุนเข้าโครงการ

              นางสุภวรรณ (ผู้ช่วยนอม) อยู่บ้านเลขที่ 53/6 หมู่ 8 เล่าว่า หลังจากมีโครงการ 9101 ออกมา ทำให้เกษตรกรและชุมชนต่างๆพากันตื่นตัว โดยแม่บ้านโคกขามในนาม “กลุ่มแปรรูปปลาหมอเทศแดดเดียว เริ่มก่อตั้งและมาแปรรูปทำปลาหมอเทศแดดเดียว ขึ้นมาในปี 60 นี้ ประมาณช่วงปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกที่ต้องเป็นเกษตรอย่างแท้จริง (ตามทะเบียนเกษตรกร) เข้าร่วมด้วย 10 คน ซึ่งหลังผ่านการเข้าร่วมโครงการอบรมเรื่อง 9101 ตามลอยพ่อฯ จึงต่างเล็งเห็นว่า เลือกเฟ้นปลาหมอเทศ เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่หาไม่ยาก และราคาก็ไม่แพงนัก ค่อยนำมาแปรรูปไว้จำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและเป็นเงินรายได้ให้แก่สมาชิกแบ่งปันกันทุกคน ส่งผลให้ต่างมีรายได้เพิ่มขึ้น จากผู้คนในชุมชนที่ร่วมอุดหนุน อย่างไรก็ตามสามารถ ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับชุมชนหมู่สามนี้ได้ระดับหนึ่ง

               “สำหรับเรื่องงบประมาณที่ภาครัฐสนับสนุนให้มาในเฉพาะช่วงแรกเท่านั้น (หรือ 45 วัน) จากนั้นค่อยไปร่วมกันลงทุนกันเอง ส่วนเรื่องวัตถุดิบซึ่งเป็นปลาน้ำกร่อย ในฐานะอยู่ในบริเวณแถบติดชายทะเลและนาเกลือ หาได้ตามบ่อปลาวังกุ้งของสมาชิก และและรับซื้อทั่วไปมาเสริม ซึ่งจะคัดเลือกให้มีขนาดเท่าๆกัน ก่อนมาแล่และตัดหัวในระดับใหญ่ประมาณไม่เกินฝ่ามือกำลังน่ากิน หรือน้ำหนัก 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม เพื่อมาบรรจุถุงให้มีความเป็นมาตรฐาน ขณะที่ด้านสนนราคาจำหน่าย 140 -150 บาท น้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อหนึ่งถุง” นางสุภวรรณกล่าว

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ