ข่าว

วช.เสวนาวิจัยไขปัญหาเพื่อยุทธศาสตร์พื้นที่นำร่อง ภาคอีสาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วช.เสวนาวิจัยไขปัญหาเพื่อยุทธศาสตร์พื้นที่นำร่อง ภาคอีสาน

               วันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 09.00 น. ณ ห้อง World Ballroom ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2560 โดยมีนางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินรายการ และ นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายพรเทพ ศักดิ์สุจริต ประธานสภาอุตสาหกรรม กลุ่มตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค นายวิพัฒน์ วงษ์ซารี ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู และนายเดชา อนันต์อิทธิ อาจารย์ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุดรธานี ร่วมบรรยาย
นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์กลางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่มีความพร้อมสูงสุดในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว การค้า      การลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองอัจฉริยะชั้นยอด Super smart city มีความพร้อมของสถานที่ท่องเที่ยว ภาคบริการต่าง ๆ มีเส้นทางที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การขนส่ง ในภาคการเกษตรมีข้าวที่ดี เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียวที่ติดอันดับ การพัฒนาการนำอ้อยมาผลิตเอทานอล ทำอาหารสัตว์ และใบนำมาทำพลังงานเชื้อเพลิง การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ การปลูกยางพารา การปลูกกล้วยหอมทอง การเลี้ยงโคเนื้อ กระบือ โคขุน การพัฒนาพืชไร่ ข้าวโพดม่วงที่มีสารอินซูลินสูง ซึ่งในยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)   และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้เน้นถึงการวิจัยที่จะช่วยสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการพัฒนาวิธีคิดให้เป็นวิทยาศาสตร์ รวมถึงเน้นการพัฒนาทักษะในเรื่องภาษาอังกฤษ และหลักสูตรการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา  เพราะอีก 10 ปีข้างหน้าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สัดส่วนคนในวัยแรงงานจะลดลงจึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข รวมถึงปัญหาด้านการเกษตรเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในอนาคต การวิจัยที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของการพัฒนาจะทำอย่างไรถึงจะนำมาวิจัยมาสู่การพัฒนา การนำการวิจัยมาขยายผลและผลักดันให้มีการวิจัยอย่างแท้จริง 
                  นายวิพัฒน์ วงษ์ซารี ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภู ใช้ 4 ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัด โดยการพัฒนาสังคม ความมั่นคงภายใน สิ่งแวดล้อมและพลังงานสู่ความยั่งยืน การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลผลิตด้านการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์และการเพิ่มประสิทธิภาพและบริการจัดการภาครัฐ วิถีหนองบัวลำภู มุ่งเน้นชีวิตมั่นคง ชุมชนมั่งคั่ง หนองบัวลำภูยั่งยืน จังหวัดมีการมุ่งเน้นการทำเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ศาสตร์พระราชาเป็นยุทธศาสตร์หลักมีความเป็นธรรมชาติสูง เป็นเมืองสะอาด มีการนำน้ำบาดาลซึ่งมีความปลอดภัยในการนำมาทำการเกษตร การใช้พลังงานแบบโซล่าเซล มีการทำการเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพภายใต้แบรนด์เกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัวลำภู การใช้ QR-Code ตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ การจัดการกลุ่มเกษตรด้วยระบบบริษัทเพื่อสังคม งานวิจัยและนวัตกรรมที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไปของจังหวัดหนองบัวลำภู คือ 1. อุปกรณ์เครื่องมือระบบ Smart Farming สามารถลดต้นทุน ลดขั้นตอน เวลาและแรงงานแก่เกษตรกรรายย่อยในการจัดการแปลงเกษตร 2. ระบบจัดเก็บข้อมูลกลาง 3. จัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือ การปลูกและแปรรูปอ้อยอินทรีย์ สร้างแรงจูงใจในการผลิตอ้อยสะอาด ทำอย่างไรให้ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่สามารถสร้างเทคโนโลยีด้วยตนเอง โดยเน้นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับคนในชุมชนได้สร้างรายได้ที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาสู่ชุมชนโดยใช้ศาสตร์พระราชา การรับรองผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรเน้นด้านคุณภาพและมาตรฐาน ในอนาคตต้องพึ่งพิงการวิจัยที่เกี่ยวกับน้ำ แหล่งน้ำที่มีความสะอาดต่อการทำการเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น     
                 นางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.กำลังผลักดันการพัฒนางานวิจัยในเชิงพื้นที่โดยได้ทำแผนพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน และสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อให้เกิดการลงทุนภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ สนับสนุนการขับเคลื่อนโดยให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหลักของการสร้างความรู้และข้อมูลพร้อมใช้ และสนับสนุนความเข้มแข็งของภาครัฐ/ประชาสังคม ซึ่งขับเคลื่อนโดยคนในพื้นที่ และขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้คุ้มค่าในทุกจังหวัดอย่างยั่งยืน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ