ข่าว

กรมชลฯ เปิดเวทีชี้แจงออกแบบสำรวจคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลฯ เปิดเวทีชี้แจงออกแบบสำรวจคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร

 

                  วันที่ 23 สิงหาคม 2560  กรมชลประทาน จัดประชุมปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงแผนการดำเนินการสำรวจ และออกแบบโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังกวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 10 ร่วมนำเสนอและรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการ

กรมชลฯ เปิดเวทีชี้แจงออกแบบสำรวจคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร

                ดร.สมเกียรติ เผยภายหลังการเปิดเวทีชี้แจง โดยระบุว่าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังกวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น 1 ใน 9 แผนงานหลักในการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และให้พิจารณาดำเนินการโครงการที่มีความสำคัญและมีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันทีในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในลุ่มเจ้าพระยาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งหากมีปริมาณเหนือไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ตั้งแต่ประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีก็จะมีผลทำให้น้ำเอ่อท่วมพื้นที่นอกคันกั้นน้ำสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวม 14 จุด ตามความสูงตำ่ของตลิ่ง และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะของลำน้ำที่แคบมาก เมื่อรวมกับการขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้น้ำระบายลงไปตอนล่างได้ช้าลง และมีปริมาณน้ำบางส่วนไหลเข้าคลองบางบาล ที่สามารถระบายน้ำได้ 130 ลบ.ม./วินาที และคลองบางหลวง(คลองโผงเผง) ประมาณ 400 ลบ.ม./วินาที ไปรวมกับแม่น้ำน้อย ซึ่งมีผลทำให้น้ำท่วมพื้นที่คลองดังกล่าวอีกด้วย

กรมชลฯ เปิดเวทีชี้แจงออกแบบสำรวจคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร

               รองอธิบดีกรมชลประทานเผยต่อว่าหากสามารถดำเนินการโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร ซึ่งเริ่มต้นที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางบาล ตัดตรงผ่านทุ่งบางบาลถึง ตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร มีแนวกันเขตก่อสร้างรวม 245 กิโลเมตร ตัวคลองกว้าง 180 กิโลเมตร ลึก 10 เมตร 2 ก็จะช่วยระบายน้ำก่อนที่จะไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และช่วยย่นระยะทางการระบายน้ำจากเดิม 35 กิโลเมตร เหลือเพียง 22.4 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำได้ประมาณ 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำให้เชื่อมโยงกันเป็นระบบ โดยจะมีการก่อสร้างประตูระบายบางบาลในปีงบประมาณ 2561 และวางแผนสร้างประตูระบายน้ำคลองบางหลวงในปี 2562 และได้ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพคันและที่สำคัญต้องก่อสร้างเขื่อนพระนครศรีอยุธยาที่ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม หากสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดก็จะสามารถรองรับน้ำที่ระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้ถึง 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีการก่อสร้างถนนสัญจรสองฝั่งคลองด้วย

              "การขุดคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร เป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ไม่กระทบชุมชนขนาดใหญ่ และพื้นที่ศูนย์รวม เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงโบราณสถานที่สำคัญแต่มีพื้นที่ที่อยู่ในแนวคลองทั้งหมด 3,605 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 500 หลัง ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้พิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้เหมาะสมเป็นพิเศษ" รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

             ด้านนายวิชิต อุสาหประดิษฐ์ ชาวบ้านตำบลบางชะนี อำเภอบางบาลกล่าวว่า ชาวบ้านอำเภอบางบาลหนึ่งปีน้ำก็จะท่วม 3-4 ครั้ง ซึ่งบางปีมีปริมาณน้ำมากก็จะลำบากกว่าปกติ หากมีโครงการคลองระบายน้ำบางบาลบางไทรก็จะช่วยระบายน้ำและจะเกิดศึกษาว่ามีประโยชน์ต่อประชาชนทั้งในพื้นที่จังหวัดอยุธยาและพื้นที่ภาคกลาง ทำให้พื้นที่เศรษฐกิจของอยุธยาไม่เกิดความเสียหายโดยเฉพาะโบราณสถาน และอยากจะใหภาครัฐดูแลจ่ายค่าชดเชยให้กับประชาชนในราคาที่สูงกว่าประเมิน ซึ่งเชื่อว่าหากรัฐชดเชยอย่างเป็นธรรมประชาชนยินดีที่จะให้ก่อสร้างโครงการดังกล่าว

                สำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคือช่วยบรรเทาพื้นที่อุทกภัยตอนล่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาเฉลี่ยประมาณ  4- 8 แสนไร่ต่อปี ลดการท่วมซ้ำซากของพื้นที่เกษตรกรรมในอำเภอบางบาล และอำเภอผักไห่ คลองบางบาล-บางไทรสามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 20 ลบ.ม./วินาที สำหรับใช้ในการอุปโภค บริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้งด้วย

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ