ข่าว

เกษตรฯแนะการฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำท่วม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกษตรฯแนะการฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำท่วม

 

          นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า  เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเกิดฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ส่งผลกระทบต่อสวนไม้ผลในทั่วทุกภาคของประเทศไทย เกษตรกรจึงควรทำการดูแลและฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด เพื่อทำให้กระทบกระเทือนต่อไม้ผลให้น้อยที่สุด โดยการดูแลและบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่ และทำให้ไม้ผลแตกใบอ่อนโดยเร็ว พร้อมทั้งต้องมีการจัดการดินและน้ำให้ถูกต้อง

          จากสภาพน้ำท่วมขังทำให้ดินขาดออกซิเจนที่รากพืชจำเป็นต้องใช้ในการหายใจ และเป็นที่สะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ ขณะน้ำท่วมอินทรียวัตถุในดินเศษพืชและสัตว์ต่างๆ จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ทำให้เกิดก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อรากไม้ผล และประสิทธิภาพการดูดน้ำ และแร่ธาตุต่างๆของไม้ผลจะลดลง ทำให้ต้นไม้ขาดน้ำและแร่ธาตุอาหาร รวมถึงรากพืชและลำต้นของไม้ผลจะอ่อนแอง่ายต่อการที่โรคและแมลงจะเข้าทำลาย อาจจะทำให้ไม้ผลบางชนิดล้มได้ ดังนั้น หลังจากน้ำลดเกษตรกรควรทำการฟื้นฟูสวนไม้ผลโดย

          กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำ วิธีการฟื้นฟูไม้ผลของเกษตรกรหลังจากที่น้ำท่วมขังลดลง ดังนี้ 1) ห้ามน้ำเครื่องจักรกล เข้าไปดำเนินการในสวนหลังน้ำลด เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลาย       2) เมื่อดินแห้ง ให้ขุดเอาดิน ทราย หรือตะกอนต่างๆ ในแปลงไม้ผลออก เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช      3) ทำการค้ำยัน/พยุงต้นไม้ผลที่เอนหรือล้ม โดยใช้ไม้ยาวๆ ค้ำ หรือใช้เชือกผูกตรึงกับต้นไม้ 4) ทำการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มหลังน้ำลด เมื่อดินเริ่มแห้งเกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มออก จะทำให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นวิธีที่จะช่วยลดการคายน้ำของพืช และเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น หากมีต้นไม้ผลโค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง และนำไม้ค้ำยันไว้ต้นไม้ผลรอบด้าน หรือหากต้นไม้มีผลติดอยู่ ให้ตัดผลออก เพื่อไม่ให้แย่งสารอาหารจากรากและลำต้นของไม้ผลได้ 5) ทำการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้นไม้ โดยการให้ปุ๋ยทางใบ อาจใช้ปุ๋ยสูตรน้ำ       12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือ ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 หรือ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใส่ในร่องที่ขุดดินรอบๆ ทรงพุ่ม ขนาดร่องกว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 15 เซนติเมตร         6) ทำการป้องกันและกำจัดโรค/ศัตรูพืช โดยวิธีการราด หรือทาโคนต้นไม้ผลด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา             หรือสารชีวภัณฑ์ เช่น ไตรโครเดอร์มา

          หากเกษตรกรมีข้อสงสัยสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ใกล้บ้านท่าน

--
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ