ข่าว

กรมชลวาง 3 สเต็ปก่อนตัดสินใจสร้างแหล่งน้ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลวาง 3 สเต็ปก่อนตัดสินใจสร้างแหล่งน้ำ

                ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงการสร้างแหล่งน้ำแห่งใหม่ในอนาคตตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำประชารัฐ หลังลงนามบันทึกความร่วมมือกับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯว่า การพัฒนาแหล่งน้ำจะมีทางเลือกที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากแหล่งน้ำแห่งใหม่จะเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง โดยชาวบ้านจะร่วมคิดแสดงถึงความต้องการและเป้าหมายในการที่จะมีแหล่งน้ำ หลังจากนั้นเป็นที่หน้าที่ของกรมชลประทาน ในการศึกษาความเป็นไปได้ว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับภูมิสังคมของพื้นที่นั้นหรือไม่อย่างไร

                "ผลสืบเนื่องมาจากการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานกับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ต่อไปนี้การปรับปรุงแหล่งน้ำและระบบชลประทานจะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการชาวบ้านในพื้นที่ โดยมีมูลนิธิปิดทองหลังพระฯเป็นทัพหน้าค้นหาความต้องการของชาวบ้าน เพราะมูลนิธิมีจุดเด่นที่สามารถร่วมงานกับชุมชนทำให้ได้ข้อสรุปของความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ส่วนกรมชลประทานจะใช้ความโดดเด่นที่มีความเชี่ยวชาญทางเทคนิคสนับสนุนและหากโครงการใดมีความเหมาะสมก็จะสนับสนุนเพื่อดำเนินการต่อไป"

                รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวต่อว่า จากแนวคิดดังกล่าวการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศจากนี้ไปจะมี 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกต้องร่วมกับชุมชนสำรวจว่าอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึง หากอยู่ใกล้ก็นำมาปรับปรุงให้เป็นแหล่งเก็บน้ำถาวร หรือต้องตรวจสอบว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมประจำหรือไม่ ถ้าท่วมก็จะง่ายในการดำเนินการเพียงแค่การปรับปรุงให้ดีขึ้น และขั้นตอนสุดท้ายต้องตรวจสอบว่าติดพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์หรือไม่ ถ้าไม่อยู่ก็สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากจากกฎหมายอุทยานฯ หรือป่าไม้

               “เบื้องต้นเราจะให้โจทย์ไป 3 ข้อ กับชุมชนหรือชาวบ้านที่ต้องการสร้างแหล่งน้ำใหม่ในพื้นที่ ถ้าผ่านทั้ง 3 ข้อนี้ก็มีโอกาสสูงในการสร้างแหล่งน้ำแห่งใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว” ในขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำแบบประชารัฐ โดยกรมชลประทานจะสนับสนุนในการสำรวจและออกแบบให้เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยมีการร่วมแรงของชาวบ้าน ส่วนเครื่องจักร เครื่องมือหรือวัสดุอาจมาจากกาบูรณาการสนับสนุนจากส่วนราชการ บริษัทเอกชนโดยหลีกเลี่ยงการจ้างเหมาบริษัท สำหรับในขั้นตอนสุดท้ายคือการนำน้ำไปใช้ประโยชน์โดยกรมชลประทานจะสำรวจออกแบบระบบส่งน้ำ ส่วนการเลือกชนิดพืชหรือการทำการเกษตรในรูปแบบใดนั้น ก็จะมีนำรูปแบบวิธีการของเกษตรแปลงใหญ่แบบประชารัฐที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ก็ได้"

              ดร.สมเกียรติระบุอีกว่าการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นต้องมีเป้าหมายชัดเจน ทำแล้วใครได้ประโยชน์ก่อนก้าวมาสู่ในขั้นตอนแรก ซึ่งจะต้องเป็นโครงการที่ระเบิดมาจากข้างในตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 และต้องให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ และได้รับประโยชน์จากโครงการร่วมกัน เพื่อให้เขาร่วมคิดร่วมสร้างแรงจูงใจ ถ้ามีแหล่งน้ำแล้วน้ำจะนำมาใช้ประโยชน์อะไร ใครมาช่วย ภาคเอกชนเข้ามาช่วย เพราะเขาจะรู้เรื่องการตลาดดี ส่วนหน่วยงานภาครัฐจะช่วยในเรื่องปัจจัยการผลิตต่าง ๆ

            "อย่างพื้นที่ตรงนี้จะปลูกอะไรบ้าง มันต้องสร้างแรงจูงใจก่อนว่า ถ้าน้ำมีจะทำอะไรก่อนหลัง ไม่ใช่รอให้น้ำมีก่อนแล้วค่อยคิดทำ แม้จะเป็น 3 ขั้นตอนหลัก แต่ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนสำคัญให้ประชาชน เข้ามาร่วมกันคิดว่าถ้ามีน้ำจะทำอะไรต่อไป ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้ประโยชน์เต็มที่”

           รองอธิบดีกรมชลประทานย้ำด้วยว่า หากพื้นที่อยู่ใกล้แม่น้ำก็สามารถนำน้ำมาใช้ได้ทันที แต่หากพื้นที่มีน้ำท่วมขังอยู่แล้ว เช่นที่เป็นหนองน้ำธรรมชาติก็ปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วนพื้นที่น้ำท่วมเกิดจากโครงการของภาครัฐ อย่างเช่นผลกระทบน้ำท่วมมาจากโครงการเขื่อนราศีไศล จ.ศรีสะเกษในลำน้ำมูล

         ซึ่งมีการออกแบบโครงการมีการสร้างคันดินล้อมรอบ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำที่อยู่นอกคันดินไม่สามารถไหลเข้ามาในลำน้ำมูลเหนือเขื่อนราศีไศลได้ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งโครงการนี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้หาทางช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่เขตนอกรอบคันดิน โดยการปรับวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนจากการขัดแย้ง ชุมนุมประท้วง หันมาให้ความร่วมมือแทน

          โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากทำนาปลูกข้าวมายึดอาชีพทำประมงหรืออาชีพเกษตรกรรมอย่างอื่นตามความสมัครใจ โดยมอบหมายให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตร เช่น กรมปศุสัตว์ กรมประมง หรือกรมส่งเสริมการเกษตรก็จะเข้ามาดูแล

             "ในเรื่องเทคนิคก่อสร้างการพัฒนาแหล่งน้ำไม่ใช่เรื่องยาก กรมฯมีแบบอยู่แล้ว แรงงานก็มาจากชาวบ้าน เกษตรกรในพื้นที่ ส่วนเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หน่วยงานท้องถิ่นอย่าง อบต. ก็ต้องใช้งบ อบต. มาสนับสนุนด้วย ส่วนเอกชนมาร่วมให้ขุดดินก็เอาไปขายแทนค่าจ้าง ถ้าเป็นแบบนี้มันจะทำได้เร็วกว่า ไม่ต้องรองบประมาณ ตั้งงบเพื่อจ้างเอกชนมาขุดดินแล้วเอาดินไปขายนำเงินเข้าคลัง คือเอาเงินเข้ากระเป๋าซ้ายออกกระเป๋าขวาเหมือนที่ปฏิบัติกันมา ซึ่งมันช้าไม่ทันการ ที่สำคัญชาวบ้านก็ไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการด้วย"

              ดร.สมเกียรติกล่าวย้ำทิ้งท้าย ในส่วนของโครงการขนาดเล็กที่ยังใช้งานไม่เต็มที่ กรมชลประทานและมูลนิธิปิดทองจะร่วมดำเนินการใน 22 จังหวัดเป็นโครงการนำร่อง และจะขยายผลจัดทำแผนหลักให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2560 นี้ จากข้อมูลการสำรวจของกระทรวงมหาดไทยและกรมชลประทาน ปรากฎว่ายังมีแหล่งน้ำขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีก 1,317 แห่งทั่วประเทศ และโครงการชลประทานขนาดเล็กที่กรมชลประทานโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ