ข่าว

“นันทร ฝาชัยภูมิ”พลิกผืนนาปลูกฟักทองสู้แล้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“นันทร ฝาชัยภูมิ”พลิกผืนนาปลูกฟักทองลานนาสู้แล้ง

         ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่คลอบคลุมไปทุกพื้นที่ในภาคอีสาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรกลายเป็นปัญหาซ้ำซากขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี จนในหลายพื้นที่ประกาศให้มีการงดการเพาะปลูกพืชใช้น้ำมากโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ที่ไม่มีปริมาณน้ำเหลือให้เพียงพอในปีนี้แล้ว และในหลายๆครอบครัวเกษตรที่ยากจะหลีกเลี่ยง บางรายก็จำต้องยอมเสี่ยงเพราะไม่มีอาชีพอื่นทำ หรือมีทางเลือกที่ดีพอ แต่แล้วก็ไปไม่รอดปลูกข้าวนาปรังไม่ได้ผลเสียหายขาดทุน หรือบางรายไม่เหลือแม้ต้นทุนข้าวเก็บไว้ปลูกในปีต่อไปก็มี มาต่อเนื่องหลายสิบปีของชาวนาอีสาน 

        แต่วันนี้ จุดที่เคยล้ม กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของครอบครัว “นันทร ฝาชัยภูมิ" เกษตรกรวัย 46 ปี ชาวบ้านกุดขมิ้น ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ที่เริ่มปรับตัวมุ่งมั่นที่จะขอยืนอยู่ตามแนวเกษตรพอเพียง ตามรอยพ่อหลวงของแผ่นดินเราไปให้ได้ จากเมื่อ 9 ปีก่อน 

             นันทร บอกว่า ทุกปีที่ผ่านมาเมื่อ 9 ปี ก่อน ตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี เคยทำการปลูกข้าวนาปรังมาตลอด แต่แล้วก็ไปไม่รอด ข้าวขาดน้ำยืนต้นตาย เสียหายขาดทุนย่อยยับทุกปี จากนั้นก็เริ่มหันหาแนวทางที่จะทำการเกษตรที่ปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนในแปลงนาที่เหลืออยู่จำนวน 10 ไร่ ต่อไปให้ได้ เพราะไม่มีอาชีพอื่น ที่เรามีความรู้น้อย  จึงเริ่มศึกษาการปลูกฟักทอง พันธุ์ลานนา ขึ้น หลังเสร็จการปลูกข้าวนาปีไปแล้วพอได้เก็บข้าวไว้กินเป็นต้นทุนได้บางส่วน ก็จะหันมาเปลี่ยนจากปลูกข้าวนาปรังต่อมาเป็น ปลูกฟักทองแทน

            ซึ่งในส่วนน้ำที่ระบบชลประทานในพื้นที่พอมีให้บางส่วนจากอ่างช่อระกา ไม่ต้องใช้น้ำมากเหมือนการทำนาขาดทุนทุกปี รวมทั้งขุดเจาะบ่อบาดาลไว้ใช้เสริมในที่ดินเองไว้สำรองอีกทาง  เริ่มจากการลงทุนซื้อพันธุ์ฟักทอง ปรับสภาพที่นา และต่อท่อพลาสติกน้ำไปในแปลงฟักทอง รวมทั้งค่าปุ๋ยอาหารเสริมบำรุงดิน ก็จะใช้จุดเริ่มต้นลงทุนไปทั้งหมดเพียงรวมประมาณกว่า 30,000 บาท ซึ่งมาถึงวันนี้ปลูกฟักทองในช่วงหน้าแล้ง ช่วง 3 เดือนจากม.ค.ของทุกปีเป็นต้นมา แทนการปลูกข้าวนาปรัง ติดต่อกันมาได้เป็นที่ 5 แล้ว  จนสามารถสร้างรายได้ในช่วงระหว่างหน้าแล้ง ช่วงสั้นๆเพียงช่วง 3 เดือนของทุกปีได้มากกว่า 400,000 บาทต่อปี  

             ซึ่งทุกปีจะได้ผลผลิตใน 10 ไร่ ไม่น้อยกว่า 20-30 ตัน ที่จะนำไปขายส่งให้ตลาดหลักๆที่อ.เมืองชัยภูมิ,จัตุรัส และอ.บ้านเขว้า เพื่อกระจายไปทั่วจ.ชัยภูมิ และจ.ใกล้เคียงอย่างโคราช หรือจ.นครราชสีมา ที่มีบางรายมารับซื้อถึงที่ทุกปี   โดยเฉพาะจุดสำคัญคือเทคนิคการสร้างผลิตที่จะได้ผลผลิตที่แน่นนอนทุกปี คือ การช่วยให้เกสรดอกช่อสีเหลืองของฟักทอง ที่จะมีตัวผู้ และตัวเมียได้ มาสัมผัสกัน เพราะปัจจุบัน เรามีฝูงผึงในพื้นที่จำนวนน้อยลงมาช่วยนำพาเกสรตัวผู้ตัวเมียไปเจอกันในแปลงฟักทอง บางครั้งเราต้องหมั่นตรวจช่วยนำดอกเกสรไปสัมผัสหรือผสมพันธุ์กัน เพื่อให้ผลของฟักทองสมบูรณ์ไม่หลุดจากช่อ และจะช่วยให้ฟักทองมีลูกใหญ่สมบูรณ์มากขึ้น เฉลี่ยแต่ละลูกจะมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าลูกละ 4- 11 กิโลกรัม สร้างผลผลิตในแต่ละไร่ได้เพิ่มมากขึ้นไปจำหน่ายในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5-6 บาท ในทุกปี  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกพืชตามแนวเกษตรพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ตนเองนำมาใช้จนภูมิใจมากว่าสิ่งใดๆในทุกวันนี้ได้ เพื่อช่วยนำมาพลิกผืนนาสู้แล้งของตนส่วนนี้สำเร็จมาได้ทุกปี

               นอกจากนี้ยังสร้างสามารถสร้างรายได้เสริมระหว่าง รอผลผลิตเติบโตเต็มที่ใน 3 เดือน ส่วนยอดเถาฟักดอก ดอกฟักทอง ทั้งหมด ยังสามารถเก็บไปขายส่งตลาด กรัมละ 5 บาท สร้างรายได้ต่อวันได้อีกกว่าวันละไม่น้อยกว่า 400-5000 บาท ได้อีกด้วยต่อวัน ขอให้ทุกคนอย่าท้อเรายังมีทางเลือกที่จะประกอบอาชีพเกษตรพอเพียงที่เป็นทางเลือกได้อีกจำนวนมาก ขอให้เราสู้ถึงจะแล้งอย่างไรเรามีแนวทางเกษตรพอเพียงขอพ่อหลวงอยู่ถ้าลองนำมาใช้ดีๆ คิดดีๆอย่างจริงจังก็สามารถอยู่ได้อย่างสบาย 

                             

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ