ข่าว

ผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ สถาบันเกษตรกรดีเด่นปี60

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ สถาบันเกษตรกรดีเด่นปี60 ที่ได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันที่  12  พฤษภาคม 2560

              นายสัตวแพทย์อภัย  สุทธิสังข์  อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึงกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ว่า ปี 2549 เกิดภาวะเศรษฐกิจชลอตัวส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำรวมทั้งราคาโค  เกษตรกรที่เลี้ยงโคเป็นอาชีพขาดทุนจากการจำหน่ายไม่คุ้มค่ากับการเลี้ยง จึงจำหน่ายโคทั้งที่ถูกกดราคา  เกษตรกรบ้านสี่เหลี่ยมเจริญก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน  หลายคนทยอยขายแม่โคทิ้งจากความจำเป็นเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว  ขณะนั้นนายพีระวัฒน์ จันทะสิทธิ์ (ผู้จัดการกลุ่มในปัจจุบัน) มีความคิดที่แตกต่าง โดยการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส  รวบรวมแม่โคไว้ผลิตลูกโคคุณภาพดีเพื่อขุนจำหน่าย  โดยได้คำแนะนำและการสนับสนุนจากปศุสัตว์ในพื้นที่  ทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านเกิดการเชื่อมั่น  จึงรวมตัวกัน 12  คน เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาแม่พันธุ์จากโคพื้นเมืองเป็นโคลูกผสมพันธุ์ยุโรปซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด  เลี้ยงง่าย โตเร็ว ราคาสูง  แต่อย่างไรเกษตรกรก็ยังประสบปัญหาในด้านการตลาด  ถูกผูกขาดและเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง  จึงได้รวบรวมจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญขึ้นในวันที่  27  มีนาคม  2553  มีสมาชิกแรกเริ่ม 12 ราย แม่พันธุ์โค 50 ตัว เป็นต้นทุนในการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อยกระดับคุณภาพโคเนื้อและเพื่อมีอำนาจต่อรองทางด้านการตลาด โดยมีการวางแผนการผลิต การตลาดให้สอดคล้องกัน สำหรับการตลาดมีการทำข้อตกลงกับบริษัทเอกชน ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 33 ราย มีโคเนื้อ 492 ตัว

             อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า  การบริหารจัดการสถาบัน  มีคณะกรรมการบริหารกลุ่มที่ชัดเจนและทำกิจกรรมในหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ โดยใช้การออกเสียงพิจารณาผลงานของบุคคลที่ได้รับการเสนอตัวเป็นกรรมการบริหารกลุ่ม  ตำแหน่งต่างๆ พร้อมรับทราบบทบาทหน้าที่และทำกิจกรรมตามหน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมาย  กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ  มีผู้บริหารกลุ่มที่มีแนวคิดและทัศนคติที่ดีต่อการรวมกลุ่ม  ทำให้สมาชิกเกิดความมั่นใจได้ว่าหากเกษตรกรรวมกลุ่มจะช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคและเกิดความเข้มแข็งขึ้น  ที่ทำการกลุ่มเป็นหลักแหล่งชัดเจนและใช้ประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ  โดยใช้ประชุมประจำเดือน พบปะสังสรรค์ อบรมให้ความรู้ของสมาชิกกลุ่ม  ทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านการเลี้ยงสัตว์และการพบปะพ่อค้าที่มาซื้อโคเนื้อ  กำหนดวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการของกลุ่มอย่างชัดเจน ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเป็นขั้นบันได 5 ขั้นประกอบด้วยด้านการปรับปรุงพันธุ์  อาหารและการให้อาหาร  การจัดการเลี้ยงดู   การป้องกันรักษาโรค และการตลาด  กฎระเบียบและข้อบังคับที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับจากสมาชิก โดยสมาชิกทุกคนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด  ประชุมสมาชิกกลุ่มเป็นประจำทุกวันที่ 2 ของเดือน และเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น ชี้แจงรายละเอียด กิจกรรมต่างๆ   มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการเลี้ยงของสมาชิกและภาพรวมของกลุ่มที่เป็นปัจจุบันกรรมการบริหารกลุ่มทำบันทึกข้อมูลของสมาชิกเป็นรายฟาร์ม บันทึกข้อมูลประจำตัวสัตว์ รวมบันทึกข้อมูลรวมของกลุ่มที่เป็นปัจจุบัน  บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ  ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาของกลุ่มโดยกลุ่มมีการกำหนดกิจกรรมประเมินตัวเองรายฟาร์ม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน 10 คน กำหนดตัวชี้วัดในการประเมินและแนวทางในการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของสมาชิกแต่ละรายรวมทั้งกำหนดกติกาสำหรับผู้ฝ่าฝืน  จัดทำแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด กลุ่มมีการประชุมเพื่อติดตามสภาวะการตลาดเป็นประจำทุกเดือนเพื่อกำหนดแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยให้สมาชิกผลิตโคขุนที่ได้ขนาด ส่งจำหน่ายทุกเดือนๆ ละ 20 ตัว  ให้ความรู้แก่สมาชิกทั้งดำเนินการเองและร่วมกับหน่วยงานอื่น  ที่กลุ่มดำเนินการเองจัดกิจกรรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้จัดการกลุ่มมีบทบาทอย่างมากในการประสานแหล่งความรู้ต่างๆ  ส่วนที่ร่วมกับหน่วยงานอื่น ก็จัดกิจกรรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยเฉพาะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่  ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงโคเนื้อของสมาชิก  ผลผลิตด้านปศุสัตว์ของกลุ่มที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มมูลค่าให้แก่สมาชิกของกลุ่ม  การผลิตลูกโคต้นน้ำและโคกลางน้ำ  เพื่อส่งโรงฆ่า  การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทั้งจากเครือข่ายโดยเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อในรูปแบบต่างๆ  มีสมาชิกต้นแบบหรือเป็นตัวอย่างในด้านการผลิต การแปรรูปหรือการตลาดที่สมาชิกนำไปเป็นต้นแบบ  ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน  กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเพิ่มทุนหรือทรัพย์สินของกลุ่ม กลุ่มมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเพิ่มทุนหรือทรัพย์สินของกลุ่ม  อาทิ กองทุนจากสมาชิกรายเดือน  กองทุนอาหารสัตว์ กองทุนปุ๋ยคอก  ระบบการทำบัญชี การตรวจสอบและรายงานบัญชีต่อที่ประชุมกลุ่มประจำทุกเดือน  ทุนดำเนินการและทรัพย์สินของกลุ่มเพิ่มขึ้น ประกอบด้วยโรงเก็บอาหารข้น/หยาบ โรงมันหมักยีสต์ เก้าอี้ และเครื่องสับหญ้า  การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการบริหารทุนดำเนินการของกลุ่มให้สมาชิกอย่างยุติธรรม กลุ่มมีการรวมหุ้นของสมาชิกและมีกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มเงินทุนของกลุ่มโดยสมาชิกมีส่วนร่วม มีการจัดทำบัญชี การตรวจสอบและรายงานบัญชีต่อที่ประชุมของกลุ่ม กลุ่มมีการบริหารเงินทุนเพื่อให้เกิดความมั่นคง อาทิ หุ้นรายเดือน หุ้นอาหารสัตว์ หุ้นอาหารสำหรับซื้ออาหารข้นและอาหารหยาบ การรักษาสัตว์ ขายหรือให้บริการแก่สมาชิกและบุคคลภายนอกเพื่อให้เกิดผลกำไร และหุ้นกลุ่มแม่บ้าน 

           จากการดำเนินการทำให้กลุ่มมีรายได้จากการเลี้ยงโคเนื้ออย่างต่อเนื่อง กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์  กิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือหรือเชื่อมโยงกับกลุ่มหรือเครือข่ายอื่น  กลุ่มมีกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกทำให้กิจกรรมบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมของกลุ่ม หรือกิจกรรมจากหน่วยงานอื่นที่สมาชิกจะต้องเข้าร่วม 

              มีกิจกรรมสังสรรค์ร่วมกันประจำปี  การนำสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำประโยชน์ต่อสาธารณะชน ชุมชน  ร่วมศึกษาวิจัยกับมหาวิทยาลัย  อาทิ  โครงการวิจัยการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนผสมผสานการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  โครงการวิจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรและความเข้มแข็งของกลุ่มโคเนื้อ  จังหวัดบุรีรัมย์  จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  ร่วมโครงการกับองค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน โครงการอบรมและพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อตำบลแสลงพัน  โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ  และโครงการฝึกอบรมและส่งเสริมเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ  สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์  กิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  สมาชิกได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ  สมาชิกเข้าร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP  สมาชิกได้จัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความรักในอาชีพเกษตรกรผ่านกิจกรรมวาดภาพระบายสี  สมาชิกกลุ่มร่วมลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในนาข้าว โดยการขึ้นทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ

               สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มโครงการพิเศษ  กรมปศุสัตว์  โทร. 0 – 2653 – 4477 ” 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ