ข่าว

ม.เกษตรศาสตร์ จับมือกลุ่ม KTIS พัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จับมือกลุ่ม KTIS สร้างความมั่นคงด้านการเกษตร อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลอย่างครบวงจร

 

         ท่ามกลางการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น กอปรกับปัญหาความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ และการแย่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น การสร้างความมั่นคงด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลอย่างครบวงจร จำเป็นต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิชาการ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ให้ไปสู่ประโยชน์เชิงปฏิบัติจากนักวิจัย    นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในส่วนที่เกี่ยวข้อง

          เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กลุ่ม KTIS โดยบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  บริษัทผู้นำการผลิตน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อท ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาวิชาการ สร้างความมั่นคงด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลอย่างครบวงจร โดยมี           ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม KTIS เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และคณะผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน

            สาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนั้น ทางคณะวิทยาศาสตร์ มก. และกลุ่ม KTIS จะร่วมกันพัฒนาวิชาการด้านอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ข้อมูล และองค์ความรู้เชิงวิชาการ ตลอดจนกลุ่ม KTIS โดยบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด จะสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณ และวัสดุ อุปกรณ์ หรือสิ่งก่อสร้างในการดำเนินงานร่วมวิจัยและพัฒนา รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านบุคลากรในการดำเนินการวิจัย ทั้งนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีระยะเวลา 3 ปี

          โดยก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำโครงการและงานวิจัยกับกลุ่ม KTIS ผ่านคณะอุตสาหกรรม คณะเกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน อาทิ การปรับปรุงคุณภาพของอินทรียวัตถุและแร่ธาตุในน้ำกากส่า (Vinasse) ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพ การปรับปรุงพันธ์อ้อยและการใช้ประโยชน์น้ำเสีย การฝึกอบรมให้ความรู้พนักงานและชาวไร่อ้อย เกี่ยวกับแมลงศัตรูอ้อยและการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูอ้อยโดยชีววิธี การจัดการปุ๋ยและในไร่อ้อย การใช้ประโยชน์จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในการประเมินผลผลิตอ้อย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ