ข่าว

ชลประทานแจงโมเดลแก้ไขปัญหาภัยแล้งทั้งระบบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย- พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์

 เมื่อวันที่ 18 มี.ค.60 นายจำรัส สวนจันทร์ ชลประ ทานจังหวัดศรีสะเกษ เปิดแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม - น้ำแล้ง ของจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งระบบ โดยจัดทำเป็นแผนภูมิของลุ่มน้ำ อ่างเก็บน้ำ ห้วย - หนอง คลอง บึง ลำคลองเล็ก ลำคลองน้อย เป็นภาพถ่ายจริงทางอากาศ พร้อมกับการเดินเท้าสำรวจข้อมูล ในภาคพื้นดิน มาจัดทำเป็นแผนที่ลุ่มน้ำ ทั้งระบบของจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้ทราบจ้อมูลโดยระเอียด ก่อนที่จะลงมือวางแผนในการที่จะเสนอข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ของภาคส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งภาคการเกษตร ที่จะมีการวางแผนการใช้น้ำในฤดูแล้ง การป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างบมากต่อการบริหารน้ำของจังหวัดศรีสะเกษ

“ อ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ของจังหวัดศรีสะเกษ จะอยู่ตามแนวชายแดน ติดกับเทือกเขาพนมดงรัก ที่กั้นเขตแดนไทย – กัมพูชา พอฝนตกน้ำก็จะไหลจากเทือกเขา จากป่าชายแดนลงสู่อ่างเก็บน้ำ จำนวน 16 แห่ง จากนั้นจึงจะเกิดการบริหารจัดการน้ำ ให้ไหลมาตามลำน้ำ ลำห้วย ซึ่งหลายแห่งยังมีการตื้นเขิน ไม่มีฝายชะลอน้ำ หากน้ำมากก็จะไหลมาเร็ว อาจจะสร้างความเสียหาย นาข้าว น้ำท่วมบ้านเรือน แต่พอหมดฤดูน้ำหลาก ก็จะไม่มีน้ำไหลมา อ่างเก็บน้ำได้น้อย ผันน้ำลงมาน้อย สภาพพื้นที่ก็แห้งแล้ง จากนี้หากเราสามารถเก็บกักน้ำไว้ในอ่าง และสร้างอ่างเพิ่มได้ ก็จะสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี โมเดลที่ชลประทานร่วมกันทำขึ้นนี้ จะให้เราทราบข้อมูลทั้งระบบ ของการไหลของน้ำ เพื่อบงชี้ไปสู่การแก้ไขภัยแล้ง - น้ำท่วม”นายจำรัส กล่าว

ขณะนี้ระบบยังไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ในปีนี้ สภาพความแห้งแล้ง ก็จะยังคงมีอยู่มากซึ่งตอนนี้จะพบว่า อ่างเก็บน้ำตามแนวชายแดน อย่างน้อย 3 แห่ง มีปริมาณน้ำกักเก็บไว้ละ 50 ของอ่าง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยคล้า , ห้วยชัน และหนองสิ จึงได้ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยทา ไปเติมแต่ก็จะยังไม่ได้มาก เพราะระยะทางไกลกว่า 70 กิโลเมตร แต่ก็ต้องทำเพราะไม่เช่นนั้นประชาชนจะขาดน้ำอุปโภค – บริโภค และอยากฝากเตือนเกษตรกร ควรงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก ในช่วงฤดูแล้งนี้ พร้อมงดทำนาปรังเพิ่ม เพราะน้ำจะไม่พอในช่วงข้าวจะออกรวง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ