ข่าว

“หนาดใหญ่”ใบใช้เป็นยาฟอกเลือก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - นายสวีสอง

      หนาดใหญ่ เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่รู้จักมักคุ้นกันดี มีชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAEหรือCOMPOSI แต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ภาคเหนือเรียกคำพอง หนาดหลวง ภาคกลางเรียก ใบหลม ผักชีช้าง พิมเสนหรือหนาดใหญ่ ชนเผ่ากะเหรี่ยงจะเรียก แน พ็อบกวาหรือเพาะจี่แบ ส่วนทางใต้แถวปัตตานีเรียก จะบอ หนาดใหญ่จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 0.5-4 เมตร ลำต้นตั้งตรงเนื้อไม้เป็นแก่นแข็ง เปลือกต้นเรียบเป็นสีเขียวอมขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนสีน้ำตาลแกมเทา แตกกิ่งก้านมาก มีขนปุกปุยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุมและมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามที่รกร้าง ทุ่งหนา หรือตามหุบเขาทั่วไป

      ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมีติ่งหนาม โคนใบสอบหรือเรียวแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบสั้นหรือไม่มี

   ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ที่บริเวณปลายกิ่งหรือซอกใบ ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 6-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร ชันใบประดับยาวกว่าดอกย่อย ลักษณะของดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลือง ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวได้ถึง 6 มิลลิเมตร ปลายกลีบเมื่อบานจะแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว โคนดอกมีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นเส้นฝอยปลายแหลมหุ้มอยู่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกมาจากใจกลางดอก ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร   

    ผลเป็นผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สรน้ำตาล โค้งงอกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ 5-10 เส้น ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ ปกคลุม ใบและรากมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม กระเพาะ และลำไส้ ใช้เป็นยาฟอกเลือดทำให้ร่างกายอบอุ่น ประสะเลือด ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือผล

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ