ข่าว

เร่งด่วนช่วยครัวละ3พันบาท!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

         กระทรวงเกษตรฯ ออก3มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2560 (Road Map) เร่งด่วนช่วยครอบครัว 3,000 บาท พร้อมสั่งกรมพัฒนาทีดินฟื้นฟูดินหลังน้ำลดทันที

        พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมทางภาคใต้ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำทางภาคใต้ต่อเนื่อง และเตรียมแผนงานโครงการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีช่วงสัปดาห์หน้า

 

เร่งด่วนช่วยครัวละ3พันบาท!

 

        สำหรับการช่วยเหลือเร่งด่วนที่ดำเนินการในปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่การเกษตร ทั้งนี้ การช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2560 (Road Map) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะเร่งด่วน คือการฟื้นฟูหลังน้ำลดระยะเร่งด่วน จะจัดทีมวิชาการ (คลินิกเกษตรเคลื่อนที่) เพื่อประเมินความเสียหาย ความต้องการของเกษตรกร สร้างการรับรู้มาตรการช่วยเหลือของรัฐ และมาตรการช่วยเหลือเยียวเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยฯ (ครัวเรือนละ 3,000 บาท) การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำโดยกรมชลประทาน การบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้ พด.6 จากกรมพัฒนาที่ดิน และการช่วยเหลือดูแลสุขภาพของสัตว์โดยกรมปศุสัตว์

          2.ระยะสั้น แบ่งเป็น การฟื้นฟูซ่อมสร้าง อาทิ การฟื้นฟูปรับปรุง บำรุงดิน โดยกรมพัฒนาที่ดิน การฟื้นฟูอาชีพด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ การซ่อมแซมระบบชลประทาน การฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุนในการประกอบอาชีพ การลดภาระหนี้สินขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้เกษตรกร และ การควบคุมราคา คุณภาพปัจจัยการผลิต และ

 

เร่งด่วนช่วยครัวละ3พันบาท!

 

          3.ระยะยาว คือ การฟื้นฟูพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม ได้แก่ การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การพัฒนาก่อสร้างแหล่งกักเก็บ การปรับโครงสร้างการผลิต/อาชีพในพื้นที่ลุ่มต่ำ/น้ำท่วมซ้ำซาก โดยใช้ Agri-Map การพัฒนาระบบพยากรณ์และแจ้งเตือนภัยระบบการประเมินความเสียหาย ระบบรายงาน และ การปรับปรุง กฎ ระเบียบต่างๆ เป็นต้น

          ด้าน นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาทีดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ พร้อมหมอดินอาสาลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ โดยกรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปให้ความรู้ในเรื่องการจัดการดินหลังน้ำท่วมในพื้นที่ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการจัดการดินที่แตกต่างกัน

          1.พื้นที่ปลูกยางพารา ต้องรีบระบายน้ำออกเร่งด่วนขณะดินชื้นหรือชุ่มน้ำ ห้ามเดินเหยียบย่ำหรือใช้เครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันดินแน่น เมื่อดินแห้งให้พรวนดินโคนต้นยางพาราที่อายุน้อย ไม่ควรพรวนดินใต้โคนต้นเพราะจะกระทบกระเทือนราก ฟื้นฟูคุณสมบัติของดินโดยใส่ปุ๋ยหมักที่ผสมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ในกรณีที่พื้นที่อยู่ในสภาพน้ำแช่ขังและเสี่ยงต่อการเกิดโรค หากพื้นดินภายหลังน้ำท่วมเกิดสภาพความเป็นกรด ให้ใส่อินทรียวัตถุหรือปูน เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน

 

เร่งด่วนช่วยครัวละ3พันบาท!

 

          2.พื้นที่ปาล์มน้ำมัน ในขณะน้ำท่วมขังหรือดินยังมีความชื้นสูง ห้ามเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มโดยเด็ดขาด เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย รวมทั้งหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 50 เซนติเมตร หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วควรทำการขุด หรือปรับดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์ม

          นอกจากนี้ ต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มควรจัดการให้ต้นตั้งตรง ต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานาน จะทำให้ทะลายเน่า เจ้าของสวนจะต้องตัดทะลายที่เน่าทิ้ง เพื่อช่วยให้ต้นปาล์มน้ำมันฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้บ้าง เพราะระบบรากพืชยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ภายหลังน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราช่วย และเมื่อดินแห้งแล้ว ควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่พืช จะทำให้รากพืชแตกใหม่ ส่วนเกษตรกรที่มีข้อสงสัยติดได้ที่กรมพัฒนาทีดินใกล้บ้านท่าน หรือหมดดินอาสาในพื้นที

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ