ข่าว

เบื้องต้นรับครัวละ3,000บาท!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

           กระทรวงเกษตรฯ เผยมาตรการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ

          พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมทางภาคใต้ ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯได้ติดตามสถานการณ์น้ำภาคใต้อย่างต่อเนื่อง และเตรียมแผนงานโครงการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีช่วงสัปดาห์หน้า

 

เบื้องต้นรับครัวละ3,000บาท!

 

          เบื้องต้นจะเป็นการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรในระยะแรก ส่วนการฟื้นฟูเกษตรกรจะต้องรวบรวมข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งบางเรื่องอาจจะต้องรอให้น้ำลดก่อนระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจะสามารถช่วยเหลือในระยะที่ 2 ต่อไป

          ด้าน นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากภาวะวิกฤติน้ำท่วมภาคใต้ใน 12 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา กระบี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ สถานการณ์คลี่คลายได้แล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ระนอง นราธิวาส ปัตตานี กระบี่ และชุมพร

 

เบื้องต้นรับครัวละ3,000บาท!

 

          สำหรับการช่วยเหลือเร่งด่วนที่ดำเนินการในปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่การเกษตร และการระบายน้ำในระบบชลประทาน โดยทางกรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำลงพื้นที่ทั้งสิ้นจำนวน 286 เครื่อง โดยนำไปปฏิบัติการจำนวน 149 เครื่อง และเตรียมพร้อมสนับสนุน 137 เครื่อง

          อีกทั้ง สนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 90 เครื่อง สูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 10 สถานี ด้านกรมปศุสัตว์ ได้ลำเลียงเสบียงสัตว์ไปปฏิบัติการแล้วในพื้นที่ประมาณ 490,565 กก. อาหารสำเร็จที่นำไปปฏิบัติการจำนวน 180,140 กก. ด้านกรมประมง ส่งเรือตรวจการลงไปปฏิบัติการแล้วในพื้นที่ 50 ลำ และกรมฝนหลวง เตรียมอากาศยานไปปฏิบัติการแล้วในพื้นที่ 5 ลำ ด้านสุขภาพปศุสัตว์ ทางกรมปศุสัตว์ได้อพยพสัตว์ไปแล้วจำนวน 902,874 กว่าตัว ดูแลสัตว์จำนวน 5,184 ตัว รักษาจำนวน 14,189 ตัว

          ทั้งนี้ การช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ปี 2560 (Road Map) แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

 

เบื้องต้นรับครัวละ3,000บาท!

 

        1.ระยะเร่งด่วน คือ ฟื้นฟูหลังน้ำลดระยะเร่งด่วน จะมีการจัดทีมวิชาการ (คลินิกเกษตรเคลื่อนที่) เพื่อประเมินความเสียหาย ความต้องการของเกษตรกร แนะนำดูแลเบื้องต้น (พืช ประมง ปศุสัตว์) สร้างการรับรู้มาตรการช่วยเหลือของรัฐ อาทิ ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และมาตรการช่วยเหลือเยียวเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยฯ (ครัวเรือนละ 3,000 บาท) เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ การบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้ พด.6 จากกรมพัฒนาที่ดิน และช่วยเหลือดูแลสุขภาพของสัตว์โดยกรมปศุสัตว์

          2.ระยะสั้น แบ่งออกเป็น การฟื้นฟูซ่อมสร้าง อาทิ การฟื้นฟูปรับปรุง บำรุงดิน โดยกรมพัฒนาที่ดิน การฟื้นฟูอาชีพด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และการซ่อมแซมระบบชลประทาน เป็นต้น การฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ มีการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุนในการประกอบอาชีพ การลดภาระหนี้สินขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้เกษตรกร และ การควบคุมราคา คุณภาพปัจจัยการผลิต และ

        3.ระยะยาว คือ การฟื้นฟูพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม ได้แก่ การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การพัฒนาก่อสร้างแหล่งกักเก็บ การปรับโครงสร้างการผลิต/อาชีพในพื้นที่ลุ่มต่ำ/น้ำท่วมซ้ำซาก โดยใช้ Agri-Map การพัฒนาระบบพยากรณ์และแจ้งเตือนภัยระบบการประเมินความเสียหาย ระบบรายงาน และ การปรับปรุง กฎ ระเบียบต่างๆ เป็นต้น

         

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ