ข่าว

"โท๊ะ”แก้ตับอักเสบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โท๊ะ”แก้ตับอักเสบ

           โท๊ะ จัดเป็นไม้ทรงพุ่มสูงประมาณ 1-4 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE) มีชื่อเรียกแตกต่่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี), ซวด (จันทบุรี), ง้าย ชวด พรวด (ตราด), พรวดใหญ่ (ชลบุรี), พรวดผี (ระยอง), โท๊ะ (สงขลา), กาทุ (ชุมพร), ทุ โทะ (ภาคใต้), กามูติง กามูติงกายู มูติง (มลายู), ปุ้ย (เขมร) เป็นต้น

"โท๊ะ”แก้ตับอักเสบ

      ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีถึงรูปขอบขนาน ปลายใบมน ทู่ แหลม หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ๆ โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่มกว้าง ส่วนขอบใบเรียบม้วนลงเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย มีเส้นใบ 3 เส้น จากโคนจรดปลายใบ เส้นแขนงใบมีข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใบ ก้านใบยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร

         ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกซ้อน (แต่ส่วนมากจะออกเดี่ยว) โดยจะออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ก้าน ช่อยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีม่วงแกมชมพู หรือสีชมพูอมขาว ดอกแก่เป็นสีขาว มี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับเกือบกลม ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 3-4 เซนติเมตร ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ

"โท๊ะ”แก้ตับอักเสบ

         สำหรับกลีบเลี้ยงที่โคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน ติดทน กลีบยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร สองกลีบในยาวกว่ากลีบด้านนอกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเป็นสีแดง ขนาดยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร อับเรณูปลายมีต่อมขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม

        ผลเป็นผลสดสีเขียวด้าน ๆ ลักษณะเป็นรูปกลมแกมรีหรือเกือบกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ หนานุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม กลีบเลี้ยงติดทน เมื่อแก่ผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำถึงดำ เนื้อผลสุกเป็นสีม่วง นุ่ม มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไตสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุ่มกระจาย จะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

        ผลเป็นผลสดสีเขียวด้าน ๆ ลักษณะเป็นรูปกลมแกมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ หนานุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม เมื่อแก่ผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำถึงดำ เนื้อผลสุกเป็นสีม่วง นุ่ม มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดมาก จะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

        สรรพคุณทางยา ตามตำรับยาไทยจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งต้น) ผลใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในมาเลเซียจะใช้เป็นยารักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเสีย และปวดท้อง (ผล)ในประเทศมาเลเซียจะใช้รากและใบโทะ เป็นยาต้มรักษาอาการท้องเสีย แก้อาการแสบยอดอกจากกรดไหลย้อนแก้ท้องร่วงและปวดท้อง และใช้หลังสตรีคลอดบุตร (รากและใบ)ในประเทศจีนจะใช้รากและใบโท๊ะเป็นยารักษาอาการกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ใช้เป็นยาแก้อาการอาหารไม่ย่อย และตับอักเสบ    (รากและใบ) ในประเทศจีนและฮ่องกงจะใช้รากโทะเป็นยารักษาเลือดออกจากมดลูกในหญิงหลังคลอด (ราก)ใบใช้ตำแปะฝี ยาต้มจากใบใช้ทำความสะอาดแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค[1]ส่วนในอินโดนีเซียจะนำใบมาตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ใบ)ที่ประเทศจีนและมาเลเซียจะใช้ราก นำมาต้มกินเป็นยารักษาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ และรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือผิวหนังพุพอง (ราก)

ที่มา : โครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ สำหรับประชาชน, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ