ข่าว

"ห้วยทราย"ทะเลทรายสู่ป่า...อานิสงต์ของพ่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

 

             “หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด”

             พระราชดำรัสตอนหนึ่ง หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรพื้นที่ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 ทรงพบเห็นสภาพปัญหามากมาย จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พื้นที่ซึ่งพระองค์ท่านได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้เป็นที่หลวงเมื่อปี 2467 จำนวน 22,627 ไร่

 

"ห้วยทราย"ทะเลทรายสู่ป่า...อานิสงต์ของพ่อ

 

             เดิมพื้นที่แห่งนี้มีสภาพป่าไม้เป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าประเภทเนื้อทรายอยู่มาก จึงได้ชื่อว่า “ห้วยทราย” ทว่า ต่อมาราษฎรได้เข้ามาอาศัยทำกินบุกรุกแผ้วถางป่า ประกอบอาชีพตามยถากรรม ภายในเวลาไม่ถึง 40 ปี ป่าไม้ได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และมีปริมาณลดน้อยลงจนมีลักษณะเป็นพื้นที่อับฝน ดินขาดการบำรุงรักษาจนเกิดความไม่สมดุลย์ทางธรรมชาติ การพังทลายของผิวดินค่อนข้างสูง ประกอบกับราษฎรส่วนใหญ่ปลูกสับปะรด ซึ่งต้องใช้สารเคมีมาก ทำให้คุณภาพของดินตกต่ำลงไปอีก

             พระองค์ท่านจึงทรงมีพระราชดำริกับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรีและนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ให้พัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้เอนกประสงค์ จัดให้ราษฎรที่ทำกินอยู่เดิมมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าไม้ควบคู่ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ ศึกษาวิธีการและระบบป้องกันไฟไหม้ป่าใน “ระบบป่าเปียก” ให้ราษฎรสร้างรายได้จากผลิตผล ป่าไม้และปลูกพืชชนิดต่างๆ

 

"ห้วยทราย"ทะเลทรายสู่ป่า...อานิสงต์ของพ่อ

 

             แนวพระราชดำริเริ่มโครงการระยะเริ่มต้นในปี 2526 มีสาระสำคัญให้พัฒนาพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านเกษตรกรรมเน้นการฟื้นฟูป่าไม้ควบคู่กับการเพาะปลูก โดยจัดระเบียบการใช้ที่ดินภายในโครงการให้เหมาะสม และให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัยทำกินและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่า ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เพื่อให้ประชาชนได้มาศึกษาดูงาน และนำตัวอย่างไปประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นของตนเองต่อไป 

             ระยะต่อมาทรงมีแนวพระราชดำริเพิ่มเติมในการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ อนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟุระบบนิเวศ สร้างฝายเก็บน้ำ ทำระบบกระจายน้ำสนับสนุนการปลูกฟื้นฟุป่าในรูปแบบ “ป่าเปียก” ให้มีการทดลองการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในลักษณะของ “เขื่อนที่มีชีวิต” ในพื้นที่ต่างๆ

 

"ห้วยทราย"ทะเลทรายสู่ป่า...อานิสงต์ของพ่อ

 

             ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อการพัฒนาการเกษตรในด้านต่างๆ เช่น การเกษตรผสมผสาน วนเกษตรการปลูกพืชสมุนไพร การผสมพันธุ์พืชสองชั้น เพื่อคัดเลือกพันธุ์แท้ให้กับราษฎร เป็นต้น เน้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นตัวอย่างในการเผยแพร่และขยายผลดังกล่าว ควรเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามความสมัครใจของราษฎร และทางราชการควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนระบบผลิตและการตลาด

             จากผลการดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้ทำการปลูกฟื้นฟูและบำรุงรักษาป่าไม้ พื้นที่ 8,700 ไร่ การใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นและระบบกระจายความชุ่มชื้น การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า มีการศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เช่น ทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร การทดลองด้านพืช การเลี้ยงสัตว์ การประมง

 

"ห้วยทราย"ทะเลทรายสู่ป่า...อานิสงต์ของพ่อ

 

            ได้มีการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ราษฎรรอบศูนย์ฯ 4 ตำบล 29 หมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเอง ทั้งในรูปแบบการจัดการสาธิตในพื้นที่จริงและการให้การฝึกอบรมและสุดท้ายการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการพัฒนาอาชีพของราษฎรควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ราษฎรมีรายได้และพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ โดยยึดถือแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

             ศูนย์ศึกษาศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งที่ 2 ต่อจากศูนย์ศึกษาฯเขาหินซ้อนที่มุ่งดำเนินการศึกษาแนวทางและวิธีการที่จะพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม โดยหาวิธีการที่จะให้เกษตรกรมีส่วนในการปลูก ปรับปรุงและรักษาสภาพป่าพร้อมๆ กับมีรายได้และผลประโยชน์จากป่านั่นเอง

                                                                           

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ