ข่าว

ล้อมกรอบผัก-ผลไม้ ยกระดับแก้สารตกค้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

 

             เกษตรฯ จับมือโมเดิร์นเทรด-ตลาดค้าส่ง ล้อมกรอบผัก-ผลไม้ มุ่งยกระดับแก้ปัญหาสารพิษตกค้าง วางกลไกบริหารจัดการซัพพลายเออร์พร้อม เฝ้าระวังควบคุมการใช้สารเคมี  

             นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. และกรมวิชาการเกษตรได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) และตลาดค้าส่ง 14 ราย ได้แก่ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป, บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด,บริษัท บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามแมคโคร จำกัด (มหาชน), บริษัท เอกชัย ดีสทรีบิวชั่นซิสเทม จำกัด

 

ล้อมกรอบผัก-ผลไม้ ยกระดับแก้สารตกค้าง

 

             ตลาดสี่มุมเมือง,ตลาดศรีเมือง,บริษัท วิลล่ามาร์เก็ท เจพี จำกัด, บริษัท สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ (โกลเด้น เพลส),บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ดรีเทรล จำกัด,โครงการหลวง,บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท),บริษัท อิออน (ไทยแลนด์) จำกัด (แม็กซ์แวลู) และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมวางมาตรการแก้ปัญหาสารพิษตกค้างในผักผลไม้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ 

            เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า ทุกฝ่ายจะร่วมมือกันเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมดำเนินมาตรการแบบเข้มข้นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อให้เกิดผลจริงและเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายควบคุมและบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน/การผลิตให้มีการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง เพื่อให้สินค้าผักและผลไม้มีความปลอดภัยสูงขึ้น

 

ล้อมกรอบผัก-ผลไม้ ยกระดับแก้สารตกค้าง

 

            โดยผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรดจะกำหนดมาตรการ/เงื่อนไขให้ผู้จัดส่งสินค้าหรือซัพพลายเออร์ (Supplier) ทุกราย ควบคุมมาตรฐานโรงคัดบรรจุจีเอ็มพี (GMP) และควบคุมแหล่งวัตถุดิบอย่างเข้มงวด เช่น สินค้าผักผลไม้ควรมาจากฟาร์มมาตรฐานจีเอพี (GAP) ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าระบบดังกล่าวต้องควบคุมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยจดบันทึกการใช้สารเคมีที่ใช้ในแปลงเพื่อให้สามารถตรวจสอบต่อไปได้ และผลักดันให้เกษตรกรยื่นคำขอรับรองมาตรฐาน GAP ในแบบรายเดี่ยวหรือรับรองแบบกลุ่

            “จะเร่งส่งข้อมูลค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRL) ที่กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการปรับปรุงล่าสุดปี 2559 ให้กับ สนง.คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อดำเนินการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงค่า MRL ให้ทันสมัยสอดคล้องกันระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อยกเลิกค่า MRL ที่ใช้อยู่ปัจจุบันซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2551 ทั้งนี้ หลายรายการได้กำหนดเพิ่มเติมค่า MRL จากเดิมที่ไม่เคยกำหนด เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงในการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารอย่างถูกต้องต่อไป"

 

ล้อมกรอบผัก-ผลไม้ ยกระดับแก้สารตกค้าง

 

             น.ส.ดุจเดือน กล่าวเสริมว่าความร่วมมือในการสร้างความปลอดภัยในสินค้าเกษตรระหว่างหน่วยงานจากกระทรวงเกษตรฯ เช่น มกอช.กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับแหล่งจำหน่ายทั้งโมเดิร์นเทรดและตลาดค้าส่ง รวมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ