ข่าว

ทิ้งชุดพยาบาลเป็น“เกษตรกร”เนรมิตร“พ.ฟาร์ม”ปลูกเมล่อนเงินล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - ดลมนัส กาเจ

           แม้จะมีคนมองว่า อาชีพเป็นนางพยาบาล ถือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ์ และรายได้มั่นคง ต่ออดีตพยาบาลสาว“ดุสิตา ธรรมสถิตพร” เธอกลับมองว่า ไม่อิสระ มีเวลาให้ครอบครัวน้อย เธอตัดสินใจสละชุดพยาบาล สวมบทเกษตรกร สมัครเป็นเครื่อข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ “ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Young Smart Farmer) ปลูกเมล่อนในพื้นที่ 8 ไร่ ในนาม“พ.ฟาร์ม” ที่ ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา จ.นครนายก ปรากฏว่าสร้างรายได้ปีละนับล้านบาท

           ดุสิตา บอกว่า ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นเกษตรกรชาวสวนเมล่อน "พ.ฟาร์ม"" เคยประกอบอาชีพเป็นนางพยาบาลที่โรงพยายาบลมาก่อน แต่รู้ว่าการเป็รนนางพยาบาลแม้จะมีรายได้ที่มั่นคง แต่ไม่มีเวลาให้กับครอบครัวและไม่มีเวลาพักผ่อน ส่งผลให้สุขภาพแย่ลงเรื่อยๆ ในที่สุดเธอตัดสินใจลาออกจากงาน และได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รับประทานเมล่อนญี่ปุ่น พบว่า รสชาติดีมากหวานอร่อย ทำให้เธอจุดประกายขึ้นมาว่า ถ้าคนไทยผลิตเมลอนที่รสชาติดี ราคาไม่แพงให้รับประทานได้ทั้งปี จะเป็นโชคของคนไทยที่จะได้ปรับประทานผลไม้ที่รสชาติอร่อย มีประโยชน์ต่อร่าง เนื่องในช่วงนั้นผลเมล่อนในประเทศไทยยังมีน้อย หาซื้อยาก และรสชาติไม่ค่อยดี แต่ราคาค่อนข้างสูง

 

ทิ้งชุดพยาบาลเป็น“เกษตรกร”เนรมิตร“พ.ฟาร์ม”ปลูกเมล่อนเงินล้าน

ดุสิตา ธรรมสถิตพร

 

           ด้วยเหตุนี้ ทำให้ ดุสิตา ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวการปลูกเมล่อนในประเทศไทย ใช้เวลายู่ระยะหนึ่ง รวมถึงการศึกษาหาข้อมูลทางการเกษตรเบื้องต้นด้วยตนเอง จากนั้นได้สร้างโรงเรือนปลูกเมล่อน 16 โรงเรือน ในพื้นที่ 8 ไร่ ปลูกเมลอนฉลี่ยโรงเรือนละ 300 ต้น วางแผนการเพาะปลูกแบบหมุนเวียน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี เน้นให้ผลผลิตมีน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 1.5 กก จำหน่ายในราคา 115 บาท/กก.

           ส่วนผลเมล่อนที่ไม่ได้คุณภาพหรือตกเกรด และผลอ่อนปลิดทิ้งจะนำไปแปรรูปเป็นทำเป้นผลิตภัณฑ์ อย่างอื่น อาทิ ไอศกรีมเมล่อน สาคูเมล่อนนมสด พายเมล่อน สลัดเมล่อน ซาลาเปาเมล่อน สมูทตี้เมล่อน รวมถึงส้มตำเมล่อนด้วย เน้นจำหน่ายที่ร้านหน้าสวน ปรากฏว่าสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1 ล้านบาท

            ระหว่างนั้นได้มีโอกาศได้พบกับเพื่อนเกษตรกรที่อยู่ในเครือข่ายของเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ“ยัง สมาร์ท สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”( Young Smart Farmer)ภาคตะวันตก ได้แนะนำให้สมัครเป็นเครือข่ายของเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ“ยัง สมาร์ท สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” ของกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ไปติดต่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนา จ.นครนายก เพื่อขอสมัครเป็น เครือข่ายของเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ“ยัง สมาร์ท สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนคือ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร, จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป 3., มีรายได้ไม่ต่ำกว่าครัวเรือนละ 1.8 แสนบาท ปัจจุบันเป็นสมาร์ท ฟาร์มเมอร์มาแล้วกว่า 1 ปี

            “พอเรากระโดดมาตรงแล้ว ฉันหาเวว่าง ไปร่วมจำหน่ายสินค้าร่วมกับเครือข่ายยัง สมาร์ท สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ จากทั่วประเทศ อาทิ ที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม , เกษตรดิจิทัล ข้างทำเนียบรัฐบาล ซึ่งงานนี้ถือเป็นเป็นกิจกรรมที่ดีมาก จะช่วยสร้างเสริมประสบการณ์การและโอกาสทางการตลาดให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ได้ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ที่สำคัญเรา ได้พบเพื่อนใหม่ มีการแบ่งปันข้อมูลความรู้ต่างๆให้แก่กัน มีการดำเนินตลาดร่วมกัน เหมือนกับว่า เราพวกเป็นพี่น้องครอบครัวใหญ่ ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี อบอุ่นเสมอเมื่อได้พบกัน ขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเจ้าหน้าที่คอยดูแลให้คำปรึกษาเราตลอดเวลาด้วย” ดุสิตา กล่าว

            นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ประสบผลสำเร็จในอาชีพการเกษตรด้วยการปลูกเมล่อนได้เป็นอย่างดี สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวปีละนับล้านบาท สนใจรายลพเอียด แวะได้ที่ พ.ฟาร์ม หรือโทร. 083-543-1820

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ