ข่าว

ศัตรูพืชรุมเจาะ"ถั่วฝักยาว-พริก"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

 

         ฝนตกชุก กรมวิชาการเกษตรเตือนเกษตรกรปลูกถั่วฝักยาวทุกระยะการเติบโต ให้ระวังหนักโรคใบจุดสาเหตุเกิดจากเชื้อราเซอโคสปอร่า โรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อราโรมายเซส และหนอนเจาะฝักถั่ว อีกทั้ง พริกระยะติดผล/เก็บเกี่ยว ระวังโรคแอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้งที่เกิดจากเชื้อราคอลเลโตตริกัม และแมลงวันผลไม้

1.ถั่วฝักยาว :

ศัตรูพืชรุมเจาะ"ถั่วฝักยาว-พริก"

 

        - โรคใบจุด – อาการระยะแรกระยะแรกพบจุดสีน้ำตาลเล็กที่ใบใกล้ผวิดิน ก่อนจะขยายใหญ่เป็นแผลกลม ตรงกลางแผลมีจุดไข่ปลาเล็กๆสีเทาดำซ้อนกัน เมื่อรุนแรงจะกระจายทั่วบนใบ ด้านหลังใบจะพบเป็นปุยสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ใบร่วงชะงักการเจริญเติบโต

          การป้องกัน -  ไม่ปลูกแน่นเกินไป ควรปรับระยะปลูกให้มีอากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องผ่านแปลงปลูก,หลีกเลี่ยงการให้น้ำในช่วงเย็น,กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อลดการเกิดโรค,เมื่อพบโรคควรตัดใบที่เป็นโรคออก นําไปเผานอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น เบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 15-20 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร หรือไทโอฟาเนต-เมทิล 70% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ คลอโรทาโลนิล 50% เอสซีอัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร ทุก 7 วัน,ในแปลงที่มีการระบาดของโรค เมื่อสิ้นสดฤดูปลูก ควรเก็บต้นไปเผาทําลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรค

       - โรคราสนิม พบมากในช่วงออกดอก มักเกิดกับใบแก่ด้าน แล้วลามขึ้นด้านบน อาการเป็นแผลสีเหลืองซีด ตรงกลางแผลเป็นตุ่มนูนสีน้ำตาลแดงคล้ายสีสนิม เมื่ออาการรุนแรงจะแผ่กระขายทั่วใบ และจะทำให้ใบหลุดร่วง

 

ศัตรูพืชรุมเจาะ"ถั่วฝักยาว-พริก"

 

        การป้องกัน - ไม่ปลูกแน่นเกินไป ควรปรับระยะปลูกให้มีอากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องผ่านแปลงปลูก,กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อลดการเกิดโรค,เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คลอโรทาโลนิล 50% เอสซีอัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร หรือแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไตรอะดิมีฟอน 20  อีซีอัตรา 10-15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล 20% +12.5% เอสซีอัตรา 10-20 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร ทุก 7 วัน,ในแปลงที่มีการระบาดของโรค เมื่อสิ้นสดฤดูปลูก ควรเก็บต้นไปเผาทําลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรค

        - หนอนเจาะฝักถั่ว - เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะเจาะ เข้าไปกัดกินภายในดอกอ่อน ต่อมา จะกัดส่วนของดอกและเกสรทำให้ดอกร่วง เมื่อหนอนโตขึ้นจะเจาะ เข้าไปกัดกินภายในฝัก ส่วนที่ เป็นเมล็ดอ่อนทําให้ฝักและเมล็ดลีบ

        การป้องกัน – ก่อนปลูกพืชประมาณ 2 สัปดาห์ควรไถพรวน และตากดิน เพื่อกําจัดดักแด้ที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก,ใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อัตรา 62-80  กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร,ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภากำจัด เช่น เบตาไซฟล 2.5% อีซีอัตรา 20-30  มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

 

ศัตรูพืชรุมเจาะ"ถั่วฝักยาว-พริก"

2.พริก :

     - แอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง เกิดจากเชื้อราคอลเลโตตริกัม (Colletotrichum gloeosporioides, มักพบบนผลอ่อน อาการเริ่มแรกพบจุดสีน้ำตาล เป็นแผลบุ๋มยุบตัวลึกลงจากผิวของผล จากนั้นจะขยายออกเป็นวงรีหรือวงกลม หากรุนแรงจะทำให้ผลโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง โรคนี้สามารถติดไปกับเมล็ดได้

       การป้องกัน – เมล็ดพันธุ์จะต้องเลือกจากผลพริกที่ไม่เป็นโรค หรือเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าจากแหล่งที่ปราศจากโรค,ไม่ควรปลูกให้ต้นชิดกันเกินไป เพราะจะทําให้การถ่ายเทอากาศไม่ดีและเกิดความชื้นสง อาจทําให้โรคระบาดได้รวดเร็ว,กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดการเกิดโรค,เก็บผลพริกที่เป็นโรคออกจากแปลงนําไปเผา ทำลาย ,พบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น อะซอกซสโตรฯ 25 เอสซีอัตรา 5-10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโพรคลอราซ 45 อีซีอัตรา 20-30 มิลลิลิตรต ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน

 

ศัตรูพืชรุมเจาะ"ถั่วฝักยาว-พริก"

 

      - แมลงวันผลไม้ ตัวเต็มวัยจะวางไข่เมื่อพริกใกล้จะเก็บเกี่ยวผลผลิต และจะเปลี่ยนสีไปจนกระทั่งผลสุก ซึ่งหนอนจะชอนไชอยู่ในผล ทำให้ผลพริกเน่าและร่วงหล่นในเวลาต่อมา

       การป้องกัน : ควรทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บพริกที่ร่วงหล่นไปทำลายนอกแปลง เพื่อลดเพาะพันธุ์ของแมลงวันผลไม้,ใช้สารปิโตรเลียมสเปรย์ ออยล์ 83.9% อีซี อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เน้นพ่นที่ผล ทุก 5-7 วัน,ใช้สารที่มีประสิทธิภาพมาลาไทออน 83% อีซีอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ