ข่าว

ยกเครื่องครั้งใหญ่ชู"ไทย-เดนมาร์ค”วางกรอบ5ปี“นมแห่งชาติ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - ดลมนัส กาเจ

 

           หลังจากที่ขึ้นแท่นผู้บริหารอย่างเบ็ดเส็จในฐานะผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ของ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ได้มาครบควบปี ทำให้เขามองว่า กิจการโคนมทั้งที่เป็นของ อ.ส.ค.เองและที่ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อผลิตนมสดพร้อมดื่มภายใต้เครื่องหมายการค้า หรือแบรนด์“ไทย-เดนมาร์ค” ต้องเปิดแนวรบทั้งพัฒนาคุณภาพ เพิ่มกำลังผลิต และขยายตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะที่ประเทศไทย เป็นผู้นำด้านการการผลินน้ำนมสดมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา อ.ส.ค.ได้เริ่มส่งออกแล้วไปยังกัมพูชา ,สปป.ลาว และกำลังทำตลาดที่เมียนมาร์ในเร็วๆนี้

           สำหรับแผนการขับเคลื่อนดังกล่าว ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนากิจการโคนม ด้วยการขับเคลื่อนแผนวิสาหกิจปี 2560-2564 เพื่อพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์คให้ก้าวสู่แบรนด์นม“แห่งชาติ”ภายใน 5 ปีข้างหน้าตามวิสัยทัศน์องค์กร 4 แผนหลัก ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้เป็นอาชีพแก่เกษตรกรไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน 2.พัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมนมให้ครบวงจรและมีมูลค่าเพิ่ม 3.สร้างแหล่งความรู้ด้านกิจการโคนมและอุตสาหกรรมนม 4.มุ่งบริหารจัดการองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงด้วยหลักธรรมาภิบาล มีเป้าหมายผลักดันให้แบรนด์ไทย-เดนมาร์ค เป็นแบรนด์ที่ติดอยู่ในใจของคนไทย(Top Of Mind) หากนึกถึงนมของประเทศไทยต้องนึกถึงนมไทย-เดนมาร์คเป็นแบรนด์แรก ซึ่งภายในปี 2564 อ.ส.ค.ได้ตั้งเป้ายอดขายรวมไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท

 

ยกเครื่องครั้งใหญ่ชู"ไทย-เดนมาร์ค”วางกรอบ5ปี“นมแห่งชาติ"

 

           “เรามีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ อ.ส.ค.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ให้เป็นหุบเขาแห่งอุตสาหกรรมโคนม (DPO Milk Valley) ซึ่งเป็นหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนแผนวิสาหกิจตามแผนพัฒนาที่เรากำหนดไว้ เพื่อก้าวเข้าสู่นมแห่งชาติ โดยเน้นสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของอาชีพการเลี้ยงโคนมพระราชทาน พร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้และยกระดับอุตสาหกรรมโคนมแบบครบวงจรที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย”ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวอย่างมั่นใจ

          อย่างไรก็ตาม การพัฒนานั้น ดร.ณรงค์ฤทธิ์ บอกว่า ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและสังคม พร้อมดำเนินการวิจัยและพัฒนานำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งยังมุ่งสร้างความสามารถการแข่งขันเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ อาทิ ฟาร์มโคนมออร์ แกนิก,ที่เริ่มดำเนินการแล้ว ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนม, ศูนย์วิจัย, โรงงานผลิตภัณฑ์นมมาตรฐานสูง, ตลาดจำหน่ายสินค้าคุณภาพ และศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย

          นอกจากนี้ ยังมุ่งปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานในทุกกระบวนการ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศให้เชื่อมโยง สามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ที่สำคัญยังพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงขึ้นโดยเฉพาะนักส่งเสริมและวิจัยการเลี้ยงโคนมเพื่อให้มีองค์ความรู้และทักษะที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรในการรองรับการเปลี่ยนแปลง และก้าวเข้าสู่นมแห่งชาติภายในปี 2564 สามารถทำให้ให้อาชีพการเลี้ยงโคนมพระราชทานมีความมั่นคงและยั่งยืน ทั้งของ อ.ส.ค.เองจะเติบโตไปพร้อมกับปริมาณการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยในปี 2559 นี้ คาดว่ายอดขายจะมีรายได้ที่ 8,500 ล้านบาท

 

ยกเครื่องครั้งใหญ่ชู"ไทย-เดนมาร์ค”วางกรอบ5ปี“นมแห่งชาติ"

 

          ล่าสุด ทาง อ.ส.ค.ได้มีการติดตั้งเครื่องจักรผลิตน้ำนมที่ทันสมัย"ไฮสปีด (High Speed) ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย และมีกำลังผลิตได้มากที่สุดในโลกในปัจจุบัน ที่โรงงานของสำนักงาน อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนล่าง(สุโขทัย) จำนวน 3 เครื่อง รองรับปริมาณน้ำนมดิบในภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 450 ตัน/วัน จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิตรวมวันละประมาณ 400 ตัน พร้อมกันนี้ได้เร่งศึกษาความเป็นไปได้การจัดตั้งโรงงานแปรรูปนมที่ จ.ลำปาง มีกำลังผลิต 150 ตัน/วัน โดยใช้งบ 800-1,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของเกษตรกรในการเลี้ยงโคนมในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ และพะเยาด้วย นอกจานี้กำลังจะติดตั้งเครื่องจักรไฮสปีดที่ สำนักงาน อ.ส.ค.หมวกเหล็กอีก 3 เครื่องในเร็วๆนี้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมสมในในอนาคต และในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีด้วย

         “ตอนนี้การผลิตนมสดในบ้านเราได้วันละ 3,360 ตัน ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องนำเข้านมผงจากต่างประเทศปีละ 5.5 หมื่นตัน ทาง อ.ส.ค.กำลังส่งเสริมเกาตรกรที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นปีละ 10 % ซึ่งคาดว่าจะมีน้ำนมดิบเข้าสู่โรงงานวันละ ประมาณ 620-750 ตัน” ผู้อำนวยการ อ.ส.ค. กล่าว

         ด้านนายจรูญ ชัยนิตย์ ผู้จัดการฝ่ายเซอร์วิส บริษัท เอสไอจี คอมบีบล๊อค (SIG Coombibloc) กล่าวว่า เครื่องจักรไฮสปีด ที่ติดตั้งในโรงงานผลิตนมของสำนักงาน อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนล่าง(สุโขทัย) จำนวน 3 เครื่องนั้นถือเป็นเครื่องจักที่ทันสมัยที่สุดในโลกก็ว่า มีกำลังผลิตนมบรรจุกล่องได้ชั่วโมงละ 2.4 หมื่นแพ็ค จากเดิมที่ อ.ส.ค. ใช้เครื่องรุ่นเก่าได้เพียงชั่วโมงละ 1.2 หมื่นแพ็คเท่านั้น เท่ากับมีความรวดถึงเท่าตัว ปัจจุบันเครื่องจักชนิดนี้นิยมใช้หลายประเทศในทางยุโรป ต่อไปหาก อ.ส.ค.ติดตั้งอีก 3 เครื่องที่หมวกเหล็จจะทำให้การผลิตนมของ อ.ส.ค.มีความรวดเร็ว สามารถรองรับการขยายตัวของกิจการโคนม ของ อ.ส.ค.ที่กำลังขับเคลื่อนเพื่อเข้าสู่นมแห่งชาติในปี 2564 นี้

 

ยกเครื่องครั้งใหญ่ชู"ไทย-เดนมาร์ค”วางกรอบ5ปี“นมแห่งชาติ"

 

         ขณะที่นายวิศิษฐ์ แสงคล้อย หัวหน้าสำนักงาน อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนล่าง(สุโขทัย) กล่าวว่า การที่โรงงาน อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนนล่าง ติดตั้งเครื่องจักรทันสมัย ไฮสปีดนั้น เนื่องจากปัจจุบันการขยายตัวของกิจการโคนมในภาคเหนือเพิ่มขึ้นทุกปี สอดคล้องกับนโบบายของ อ.ส.ค.ที่กำลังส่งเสริมเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นปีละ 10 % เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มีความร่วมมือในการดูแลเอาใจใส่การเลี้ยงโคนมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกรมปศุสัตว์ สถาบันการศึกษา และ อ.ส.ค. ประกอบกับสหกรณ์โคนมมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการและดูแลเอาใจใส่สมาชิกอย่างใกล้ชิด ทำให้ระบบบริหารจัดการฟาร์มของเกษตรกรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งการจัดการอาหารสัตว์ และการจัดการดูแลสุขภาพโคนม อย่างใกล้ชิด จะทำให้พื้นที่ภาคเหนือจะสามารถรองรับนโยบายการของ อ.ส.ค.ที่จะขับเคลื่อนนมไทย-เดนมาร์ค เข้าสู่นมแห่งชาติในอีก 5 ปีข้างหน้าได้เป็นอย่างดี

          นับเป็นอีกหนึ่งความพยามของ อ.ส.ค.ในยุคของ ของ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ในฐานะผู้อำนวยการองค์ อ.ส.ค.คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นกิจการของรัฐวิสากิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ผงาดขึ้นมาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมน้ำนมของประเทศหรืออาเซียนในอนาคต

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ