ข่าว

"ย่านาง"ค่าทางยา108!"ต้านเบาหวาน-ลดความดัน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - นายสวีสอง

"ย่านาง"ค่าทางยา108!"ต้านเบาหวาน-ลดความดัน"

        “ย่านาง”หรือใบย่านาง เป็นสมุนไพรริมรั้วที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่โบราณในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ จนได้รับฉายา "ราชินีแห่งสมุนไพร" รวมถึงการนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู ปัจจุบันถูกใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก เพื่อรักษาอาการป่วยต่างๆ รวมทั้งการปรับสมดุลในร่างกาย เพราะเป็นพืชมีฤทธิ์เย็น ช่วยดับพิษร้อนต่างๆได้

          เป็นพืชไม้เถาเลื้อย มีชื่อภาษาอังกฤษ Bamboo grass ทางวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ทางภาคเหนือเรียก จ้อยนาง ภาคกลางเรียก เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว และภาคใต้เรียก ยาดนาง

 

"ย่านาง"ค่าทางยา108!"ต้านเบาหวาน-ลดความดัน"

 

          ต้น หรือ เถา เลื้อยได้ไกล 2-3 เมตร มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่ผิวจะเรียบ รากมีขนาดใหญ่

          ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม.

          ดอก ออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2-5 ซม.ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก

          ผล รูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ

          ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ชอบความชื้น แสงแดดเต็มวัน

           สรรพคุณทางยา : ย่านางนั้นมีสรรพคุณทางยาที่ขึ้นชื่อมากมาย ไม่ได้มีเพียงแค่ในใบอย่างเดียว ส่วนอื่นๆก็มีประโยชน์เช่นกัน 
           ราก  - นิยมนำมาใช้เพื่อแก้อาการไข้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ หรือ ไข้ทับระดู และอาการเบื่อเมา นอกจากนี้รากยังเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา 5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาสมุนไพร โดยยาดังกล่าวสามารถรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในขณะเริ่มแรกได้ โดยนำรากแห้งต้มกับน้ำครั้งละ 1 กำมือ แล้วดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

 

"ย่านาง"ค่าทางยา108!"ต้านเบาหวาน-ลดความดัน"

 

           ใบ - เป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคมากที่สุด เพราะมีฤทธิ์เย็น มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในตำราสมุนไพรจัดให้ย่านางเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ : ป้องกันและบำบัดการเกิดโรคหัวใจ,ป้องกันและลดการเกิดโรคมะเร็ง,ป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ,รักษาอาการเกร็ง ชัก เป็นตะคริวบ่อยๆ,แก้อาการเหงือกอักเสบเรื้อรัง,รักษาอาการโรคเบาหวาน โดยลดระดับน้ำตาลในเลือด,ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย,ลดอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ,ป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร,โรคตับอักเสบ,โรคไทรอยด์เป็นพิษ,ป้องกันการเกิดโรคเกาต์,บรรเทาโรคความดันโลหิตสูง และสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ จะทำให้ก้อนเนื้อมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง

            เถา - ช่วยลดความร้อนและแก้พิษตานซาง และยังมีข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุอีกว่า สามารถช่วยต้านมาลาเรีย และยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ได้

            คุณค่าทางโภชนาการ : ใบย่านาง 100 กรัม มีคุณค่าดังนี้ พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่,เส้นใย 7.9 กรัม,แคลเซียม 155 มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม,เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม,วิตามินเอ 30625 มิลลิกรัม, วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม,วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม,ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม,วิตามินซี 141 มิลลิกรัม,โปรตีน 15.5 เปอร์เซ็นต์,ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซ็นต์,โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซ็นต์,แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และแทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

 

"ย่านาง"ค่าทางยา108!"ต้านเบาหวาน-ลดความดัน"

 

             ประโยชน์ด้านอื่นๆ : ชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำและนุ่มชุ่มชื้น และยังนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะเมนูที่มีส่วนผสมของหน่อไม้ เพราะน้ำใบย่านางนั้นช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ รวมทั้ง แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง หรือรับประทานสดๆกับน้ำพริก

            วิธีทำน้ำใบย่านาง :  เตรียมส่วนประกอบ คือใบย่านาง 10-20 ใบ (ตามความเข้มข้นที่ต้องการ)/ใบเตย 3 ใบ/บัวบก 1 กำมือ/หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น/ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ/ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ/ว่านกาบหอย 5 ใบ (จะใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้หรือจะแค่ใบย่านางอย่างเดียวก็ได้ตามแต่สะดวก) จากนั้นนำใบสมุนไพรต่างๆ ตัดให้เป็นชิ้นเล็ก นำใบไปโขลกหรือปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดจนเป็นน้ำ (ปั่นประมาณ 30 วินาที เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพรให้มากที่สุด) เสร็จแล้วนำมากรองผ่านผ้าขาวบางหรือกระชอนอีกที

            คำแนะนำ : บางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว ให้นำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่ม หรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่นๆก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น น้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลล์บลูบอยก็ได้,ควรดื่มน้ำย่านางสดๆก่อนอาหารหรือตอนท่องว่าง ครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน,ควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรให้น้อยลง,เมื่อทำเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวได้ แต่นำมาแช่ตู้เย็นได้และควรดื่มภายใน 3 วัน

     

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ