ข่าว

โรค-ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ"กล้วย"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

           ช่วงนี้อากาศชื้นมีฝนตกชุก กรมวิชาการเกษตร เตือนเจ้าของสวนกล้วย ในทุกระยะการเจริญเติบโต ให้ระวังโรคใบจุด โรคตายพราย หรือโรคปานามา หรือโรคเหี่ยว ด้วงงวง และหนอนม้วนใบกล้วย เข้าทำลาย

         1.โรคใบจุด
          - เฟโอเซปทอเรีย อาการ เริ่มแรกพบจุดขนาดเล็กสีน้ําตาลดําต่อมาขยายเป็นแผลรูปยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ําตาลอ่อนปนเทาขอบแผลเป็นแถบสีน้ําตาลเข้มและรอบแผลเป็นสีเหลือง

 

โรค-ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ"กล้วย"

โรคตายพราย(ซ้าย) โรคใบจุด (ขวา)


         - ซิกาโตกา เริ่มแรกพบจุดขนาดเล็กสีเหลืองต่อมาขยายใหญ่เป็นขีดสีเหลืองยาวขนานไปตามเส้นใบ จากนั้นจะใหญ่ขึ้นตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาลปนเทา แผลคล้ายรูปตา
มีวงสีเหลืองล้อมรอบเมื่ออาการรุนแรงใบจะเหลืองขอบใบแห้งและฉีกขาด ทําให้กล้วยมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การออกดอกและผลไม่ปกติ ผลไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็กแก่ก่อนกําหนด
         การป้องกัน - ตัดแต่งใบกล้วยในแต่ละต้นหรือแต่ละกอไม่ให้แน่นเกินไปเพื่อลดความชื้นในกอกล้วยที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือสะสมโรค,ตรวจแปลงกล้วยอย่างสม่ำเสมอหากพบใบกล้วยมีอาการโรคให้รีบตัดใบที่เป็นโรคออกไปเผาทําลายนอกแปลงปลูก

         แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืชคาร์เบนดาซิม 50% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร หรือโพรคลอราซ 50% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา30กรัมต่อน้ํา 20 ลิตรหรือทีบูโคนาโซล 43% เอสซีอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตรหรือไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซีอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตรหรือแมนโคเซบ80% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 30กรัมต่อน้ํา 20ลิตรโดยพ่นให้ทั่วต้นที่เป็นโร

         2.โรคตายพราย โรคปานามาหรือโรคเหี่ยว - ใบกล้วยบริเวณใบล่างหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเฉาต่อมาใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลําต้นใบที่หักพับจะเหี่ยวแห้งต้นกล้วยจะชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุดโรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ดังนั้น ต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกเชื้อสาเหตุโรคนี้ทําลายหมด
           การป้องกัน - ควรเลือกแปลงปลูกที่ดินไม่เป็นกรดจัดหรือปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัดโดยใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์และแปลงปลูกควรมีการระบายน้ําที่ดี,คัดเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีโรคตายพรายระบาดมาก่อนหรือไม่นําหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูกขยายและใช้หน่อพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ และปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน,หมั่นตรวจแปลงกล้วยอย่างสม สม่ำเสมอ
          หากพบอาการใบเหี่ยวเฉาให้ใช้สารป้องกันกําจัดโรคพืชอีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตรหรือคาร์เบนดาซิม ทีบูโคนาโซลราดบริเวณโคนต้นหรือกอกล้วยที่เป็นโรคหรือขุดต้นที่เป็นโรคออกแล้วโรยด้วยปูนขาวให้ทั่วบริเวณกอที่เป็นโรค หากอาการโรคเเกิดขึ้นรุนแรงจนใบเหลืองและเหี่ยวตายทั้งต้นให้ขุดต้นที่เป็นโรคไปเผาทําลายนอกพื้นที่ปลูกแล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป,ในแปลงที่มีการระบาดของโรคควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

 

โรค-ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ"กล้วย"

ด้วงงวงเจาะลำต้นกล้วย

          3.ด้วงงวง
         - เจาะเหง้ากล้วย ตัวหนอนเจาะกัดกินไชชอนอยู่ในเหง้ากล้วยซึ่งโดยมากกินอยู่ใต้ระดับดินโคนต้นซึ่งไม่สามารถมองเห็นการทําลายหรือร่องรอยได้ชัดการทําลายของหนอนทำให้ระบบการส่งน้ําและอาหารจากพื้นดินขึ้นไปเลี้ยงลําต้นขาดตอนชะงักไปเมื่อเป็นมากๆหรือแม้มีหนอนเพียง 5ตัวในเหง้าหนึ่งๆก็สามารถไชชอนทำให้กล้วยตายได้หากมีแมลงติดไปกับหน่อกล้วยที่ปลูกใหม่ก็จะทําให้หน่อใหม่ตาย
         - เจาะต้นกล้วย ตัวเต็มวัยวางไข่ตามบริเวณกาบกล้วยส่วนของลําต้นที่เหนือพื้นดินขึ้นไปจนถึงประมาณกลางต้นตัวหนอนค่อยๆเจาะกัดกินเข้าไปทีละน้อยจนถึงไส้กลางของต้นมองเห็นข้างนอกรอบต้นเป็นรูพรุนทั่วไปทําให้ต้นกล้วยตายหากเข้าทําลายในระยะใกล้ออกปลีจนถึงตกเครือจะทําให้เครือหักพับกลางต้น ต้นเหี่ยวเฉายืนต้นตาย
        การป้องกัน - ใช้สารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซีอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร หรือฟิโพรนิล 5% เอสซีอัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตรราดโคนต้นกล้วยสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตรตและรอบโคนต้นรัศมี 30 เซนติเมตรโดยรอบ วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเข้าวางไข่ของตัวเต็มวัยขณะเดียวกันจะช่วยกําจัดหนอนและตัวเต็มวัยที่หลบซ่อนโคนต้นกล้วยได้

      4.หนอนม้วนใบกล้วย หนอนวัยแรกจะกัดกินอยู่ใต้ใบ โดยเริ่มจากขอบใบก่อนและขยายเป็นแถบกว้างเพื่อใช้ม้วนห่อตัว เมื่อหนอนโตขึ้นการม้วนใบมีลักษณะเป็นหลอดยาวและใหญ่ขึ้นตามตัว โดยระยะเป็นตัวหนอนประมาณ 23-25 วัน มันจะเข้าดักแด้ภายในหลอด ประมาณ 10 วัน ก่อนจะกลายเป็นผีเสื้อ ใบกล้วยที่ถูกหนอนกัดกินทําให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
        การป้องกัน - เก็บทําลายตัวหนอนที่พบตามใบกล้วย และนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ