ข่าว

"กระเจี๊ยบเขียว"ลดไขมัน-ต้านมะเร็งลำไส้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - นายสวีสอง

 

           “กระเจี๊ยบเขียว” เป็นผักโบราณอีกชนิดที่อยู่คู่ครัวคนไทยมายาวนาน คนยุคพ่อแม่เรานิยมปลูกไว้ตามริมรั้วบ้านเพื่อเอาฝักมาทำอาหาร เชื่อว่าหลายคนคงเคยกิน ปัจจุบันผักชนิดนี้ยังมีขายตามตลาดสด เพราะมีเกษตรกรหลายรายปลูกเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้แต่ละฤดูกาลผลิตไม่น้อย ไม่เฉพาะนำมาทำอาหารเท่านั้น กระเจี๊ยบเขียวยังมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหรือทางยามากมายอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว

 

"กระเจี๊ยบเขียว"ลดไขมัน-ต้านมะเร็งลำไส้

 

           จัดเป็นพืชล้มลุก อายุราว 1 ปี วงศ์  MALVACEAE มีถิ่นกำเนิดแถบแอฟริกาตะวันตก สันนิฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 มีชื่ออื่นๆ กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว

           ต้น - สูงประมาณ 0.5-2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนหยาบๆ ปกคลุม

          ใบ - ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ

           ดอก - มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด

           ฝัก - ทรงรียาว สีเขียว คล้ายนิ้วมือ ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย ฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

           ขยายพันธุ์ - เพาะเมล็ด เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นดิน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง

 

"กระเจี๊ยบเขียว"ลดไขมัน-ต้านมะเร็งลำไส้

 

           ประโยชน์ด้านอาหาร : ลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก แกงส้ม  แกงใส่ปลาย่าง ยำกระเจี๊ยบ ฯลฯ สุดแต่จะนำไปประยุกต์ คนไม่เคยกินอาจกินได้ยากสักหน่อย เพราะข้างในฝักมียางเมือกๆหุ้มเมล็ดอยู่ แต่กินบ่อยๆจะอร่อยไปเอง คนสมัยก่อนนิยมเอาไป ต้ม หรือต้มราดกะทิสดกินกับน้ำพริกกะปิ ปลาทู ให้รสชาติดีมากๆ

           สรรพคุณทางยา :  ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักเจี๊ยบมีสารเมือกพวกเพ็กติน(Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยเคลือบแผลในกระเพาะฯ ,ลดความดัน,เป็นยาบำรุง,เป็นยาระบาย,แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด,บำรุงกระดูก,ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย,มะเร็งกระเพาะอาหาร,มะเร็งลำไส้ใหญ่,ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเลือ

          วิธีการใช้ :  แก้พยาธิตัวจี๊ด - นำผลกระเจี๊ยบเขียวที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ 3 เวลาทุกวัน โดยจะกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยวันละ 4-5 ผล ติดต่อกัน 15 วัน หรือบางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหาย หรือไม่ใช้รากต้มน้ำดื่มกินเป็นประจำ

                             รักษาโรคกระเพาะ - ใช้ฝักอ่อนกะเจี๊ยบเขียวหั่นตากแดดบดให้ละเอียด กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยนำมาละลายในน้ำ นม น้ำผลไม้ หรืออาหารอ่อนๆ กินวันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร (เวลาละลายจะได้น้ำยาเหนียวๆ)

                            บำรุงข้อกระดูก - ผลกระเจี๊ยบเขียว 3 ผล กินสดหรือต้มกับหอมแดง 1 หัว บำรุงร่างกายและเพิ่มความยืดหยุ่นในกระดูกโดยเชื่อว่าเมือกในกระเจี๊ยบจะช่วยได้

                            แก้ปวดท้อง - ใช้รากฝนกับน้ำธรรมดากิน

 

"กระเจี๊ยบเขียว"ลดไขมัน-ต้านมะเร็งลำไส้

 

          จากข้อมูลของวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ซึ่งแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว ให้ข้อมูลว่า : 

               - รับประทาน ฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอนลดอาการท้องผูก
               - รับประทาน 3-5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวันรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
               - รับประทาน 10-15 ฝัก ทุกวัน สามารถบำรุงตับ
               - รับประทาน 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวันกำจัดพยาธิตัวจี๊ด
               - รับประทาน 30 -40 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ