ข่าว

ตะลุยแปลงพืชจีเอ็ม(GMOs)จ.บาเรีย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บายไลน์ - สุรัตน์ อัตตะ

        การขยายพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มในภูมิภาคเอเชียะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นที่จับตาของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในฐานะถูกยกให้เป็นครัวโลกเพื่อผลิตอาหารหล่อเลี้ยงประชากรโลกที่นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ มีบางประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเต็มพื้นที่อย่างฟิลิปปินส์มานานแล้ว ขณะที่บางประเทศอยู่ระหว่างดำเนินการและพร้อมเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรอย่างจริงจังอย่างเช่นเวียดนามที่เริ่มดำเนินการในปีนี้ ตามด้วยเมียนม่าและอินโดนีเซียในอีก 2 ปีข้างหน้า

       “เกษตรต่างแดน”จะพาไปตะลุยนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามเพื่อรับทราบสถานการณ์พืชจีเอ็มในภูมิภาคอาเซัียนในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ซินเจนทา อาเซียน มีเดีย เวิร์กช็อป 2015(Syngenta ASEAN Media Workshop) 'จัดโดยบริษัท ซินเจนทา เอเชีย แปซิฟิก จำกัด จัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามมา เมื่อปลายปีที่แล้ว เป็นการระดมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพืชจีเอ็มจากทุกภาคส่วนในภูมิภาคอาเซียน ทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชนและเอ็นจีโอมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชจีเอ็มในภูมิภาคและในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของโลก

         ทันทีที่เครื่องบินการบินไทย เที่ยวบิน TG 550 แตะรันเวย์สนามบินเตินเซิลเญิ๊ต นครโฮจิมินห์ คุณอ้อย เจ้าหน้าที่ซินเจนทา ประเทศไทย คอยต้อนรับ พร้อมนำคณะสื่อมวลชนจากประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนกว่า 20 ชีวิตเข้าสู่ที่พักโรงแรมเชอราตันเพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัตการในวันรุ่งขึ้น เช้าวันต่อมาหลังรับประทานอาหารเช้าทุกคนต่างทะยอยเข้าห้องประชุมนาตรัง ซึ่งอยู่เบริเวณชั้น 3 ของโรงแรมที่พักเพื่อร่วมในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เริ่มจากการกล่าวต้อนรับ โดยเอ็ดดี้ ชิว ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ซินเจนทา ภูมิภาคอาเซียน 

          จากนั้นได้กล่าวถึงเกษตรกรในอาเซียนและการเพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อยในเวียดนาม โดย คูมาร์ ดัตต้า ผู้อำนวยการซินเจนทา เวียดนาม พร้อมเปิดวิดิทัศน์วิถีชีวิตของเกษตรกรในเวียดนามที่มีความลำบากในการเพาะปลูกพืชที่ต้องต่อสู้กับภัยพิบัติธรรมชาติและยังถูกซ้ำเติมด้วยโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ที่มารุมเร้า ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้า ส่งผลให้ภารหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ต่างจากเกษตรกรในประเทศอื่น ๆในอาเซียนที่ต้อนทุนการผลิตสูงและราคาผลผลิตตกต่ำยิ่งทำก็ยิ่งเป็นหนี้สิน 

         ถัดมาเป็นการบรรยายความท้าทายและความต้องการของเกษตรกรรายย่อยในอาเซีัยน โดยแอนนี มีติน ผู้อำนวยการสภาความมั่นคงทางอาหารและการค้าเสรีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียและการสนับสนุนด้านเกษตรกรรมในอาเซียนแบบธุรกิจผสมผสานโดย โรเอล บริโอเนส นักวิชาการอาวุโส สถาบันพัฒนาการศึกษาของฟิลิปปินส์แล้วต่อด้วยบทบาทเทคโนโลยีทางการเกษตร กรณีพืชจีเอ็ม โดย แรนดี้ ฮัวเต้ ผู้ประสานงานหน่วยงานพัฒนาพืชเทคโนโลยีชีวภาพสากล ก่อนปิดท้ายในช่วงเช้าโดย ฮาร์ดีฟ เกรเวล ผู้อำนวยการด้านธุรกิจข้าวโพด ซินเจนทา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมารุปในหัวข้อข้าวโพดกับการเพิ่มผลผลิตแก่ผู้เพาะปลูกรายย่อยในเอเชีย

       จากนั้นช่วงบ่ายจะมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อพูดถึงรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ อาทิการสร้างศักยภาพเกษตรกรรายย่อยในอาเซียน การจัดการด้านการเงิน การจัดการด้านการตลาด ช่องทางการขายสินค้า การเข้าถึงเทคโนโลยีและความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนของเกษตรกร โดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามาร่วมถกปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อหาสรุปร่วมกัน ก่อนจะมีการสรุปภาพรวมของการประชุมวันนี้ โดยฮาร์ดีฟ เกรเวล ผู็อำนวยการด้านธุรกิจข้าวโพด ซินเจนทา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

       เช้าวันต่อมามีการลงพื้นที่ดูแปลงปลูกข้าวโพดจีเอ็มของซินเจนทา ที่หมู่บ้านหมี่เซิน อ.ตานถั่น จ.บาเรีย ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทาประมาณ 1 ชั้นโมงครึ่ง เมื่ิอเดินทางไปถึงมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทคอยให้การต้อนรับ พร้อมฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน จากนั้นพาเยี่ยมชมแปลงปลูก โดย โฮ วัน นักวิชาการของบริิษัท  ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 70 ไร่่เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรที่สนใจในประเทศเวียดนาม ภายใต้แปลงจะสังเกตุว่ามีการปลูกเปรียบเทียบระหว่างข้าวโพดจีเอ็มกับพันธุ์พื้นเมืองเพื่อจะได้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละสายพันธุ์ 

        นอกจากนี้ระหว่างแปลงปลูกข้าวโพดก็จะมีพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ ปลูกแซมด้วย  ซึ่งโฮ วันบอกว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรมีรายได้เสริมหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดและยังเป็นการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินได้อีกทางหนึ่งด้วย ทำให้ทางบริษัท จึงนำพืชตระกูลถั่วมาปลูกเสริมในแปลงเพื่อให้เกษตรกรได้เห็นสภาพพื้นที่การปลูกจริง ๆ 

         เหงียน หง่ำ เม่ง เกษตรกรปลูกข้าวโพดในจ.บาเรีย ที่หันสนใจข้าวโพดจีเอ็มแทนพันธุ์ทั่วไป บนเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ หลังได้ทดลองใช้พันธุ์ข้าวโพด G49 corn variety เมื่อปีที่แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจเขาจึงเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของซินเจนทา เช่น NK corn varieties, AZ Top, Tilt Super, Cruiser Plus, Anvil, Gramoxone เป็นต้น ปัจจุบันเขาได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มที่ช่วยให้อัตราการงอกดีและทนต่อสภาพอากาศที่แล้ง ช่วยลดแรงงานและประหยัดต้นทุนการผลิต  ซึ่งผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และไร่ข้าวโพดของเขายังได้รับเลือกให้เป็นแปลงปลูกที่มีเมล็ดพันธุ์งอกได้ดีจากการนำไกโฟรเซสมาใช้ พร้อมวางแผนที่จะปลูกในฤดูกาลถัดไปอีก  

         เช่นเดียวกับ เจิน ฮวย อายุ 60 ปี  เกษตรกรหมู่บ้านลังมี อ.ซวนดง จ.ก่อมเหมย มีรายได้หลักจากผลผลิตทางการเกษตร เขาเริ่มต้นปลูกข้าวโพดมาตั้งแต่ปี 1985 บนพื้นที่ราว 8 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง ควบคู่กับการปลูกฟักทองและพริก  ภายใต้ความจำกัดของความรู้ในการคัดเลือกพันธุ์ เขาได้ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคสองครั้งต่อฤดูการผลิต ร่วมกับการใช้ยาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืช แต่หลังจากได้รู้จักกับซินเจนทา ฮวยเริ่มใช้เมล็ดข้าวโพดพันธุ์ NK hybrid corn varieties และนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ ผลที่ได้ทำให้เขามีอัตราการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สูงขึ้นในระดับที่พอใจ เปรียบเทียบกับตลอดระยะหลายปีที่ฮวยได้ใช้ยาฆ่าแมลงและจ้างแรงงานในการจัดการกับวัชพืช ทำให้เขาต้องเสียค่าใช้จ่ายไปหลายล้านด่ง ต่อเนื้อที่ราว 8 ไร่ต่อฤดูการผลิต 

            นี่เป็นส่วนหนึ่งในงานสัมมนาประชุมเชิงปฏิบัติการ “ซินเจนทา อาเซียน มีเดีย เวิร์กช็อป 2015(Syngenta ASEAN Media Workshop)'เพื่อรับทราบสถานการณ์พืชจีเอ็มในภูมิภาคอาเซัียน ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามและการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรรายย่อยเพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีชีวภาพอีกด้วย

         

     

             

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ