ข่าว

’ขี้ตุ่น‘ใบใช้พอกแก้คางทูม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

’ขี้ตุ่น‘ใบใช้พอกแก้คางทูม

             จะพบเห็นต้น “ขี้ตุ่น” ได้ตามป่าละเมาะข้างทาง มีประโยชน์หลายอย่าง เริ่มจากใบใช้พอกแก้คางทูม รากนำมาต้มดื่มแก้หวัด แก้ร้อนใน ต้นมีรสขมต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ขับเสมหะ สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานอาจทำให้แท้งได้

              "ขี้ตุ่น" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า helicteres angustifolia l.  มีการเรียกชื่อสมุนไพรชนิดนี้แตกต่างกันออกไป พื้นที่อีสานตอนบน เรียกว่า ปอขี้ไก่ ภาคเหนือเรียกว่า หญ้าหางอ้นหรือป่าเหี้ยวหมอง ทางตะวันออกเรียกว่า เข้ากี่น้อย และเรียก ขี้อ้น ในพื้นที่ตะวันตกของประเทศไทย เป็นต้น

              มีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ทุกส่วนมีขนเป็นรูปดาว ปกคลุม หนาแน่น ใบเดี่ยว รูปวงรี กว้าง 7-10 ซ.ม. ยาว 14-20 ซ.ม. ดอกช่อ ออกดอกที่ซอกใบ ดอกย่อยหลายจุด กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลแห้งแตก รูปขอบขนาน มีขนสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดจำนวนมาก

               สามารถพบขี้ตุ่นได้ทุกภาคในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณป่าเต็งรัง และจะเห็นออกดอกและติดผลช่วงเดือนเมษายนสิงหาคม ส่วนในต่างประเทศพบได้ในจีน อินเดีย พม่า และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่พม่าไปจนถึงฟิลิปปินส์ ในตำรับยาไทยมีการนำเอา รากขี้ตุ่น มาผสมกับรากตูมขาว รากชะมวง และลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย 

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปรี ใบกว้างยาว 2x5 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายเป็นแหลมมีติ่ง ขอบใบหยัก

           ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นช่อตามซอกใบ มี 5 กลีบ สีชมพูอ่อน ปลายกลีบตัด ตามกลีบมีขนสีน้ำตาลปกคลุม

           ผล ทรงกระบอกแกมรูปรี ผลแก่สีน้ำตาลอมเหลือง พอแห้งแตกเป็นแนวยาว

          ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน

                             

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ