Lifestyle

หนังสือใหม่ "สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล" (ตอนที่ 3)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หนังสือใหม่ "สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล" (ตอนที่ 3) คอลัมน์...  ตำข่าวสารกรอกหม้อ   โดย...  จักรกฤษณ์ สิริริน

 


          เอ่ยชื่อ “สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล” แน่นอนว่ามีแฟนหนังสือของเขาจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอที่จะทำให้เขาผลิตผลงานได้อย่างต่อเนื่องในรอบ 20 ปีมานี้

 

          นี่คือหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ “ตำข่าวสารกรอกหม้อ” ขอแนะนำครับ

 

 

      


          จาก Atari สู่เสิ่นเจิ้น


          การว่าจ้างของบริษัท Atari ต่อบริษัทหองไห่ฟรีซีซันอินดัสทรี หรือต่อมาที่โลกรู้จักกันคือบริษัทฟอกซ์คอนน์ (Foxconn) นั้น ถือว่าเป็นการเริ่มสะสมทุนในการดำเนินกิจการอย่างเป็นระบบให้กับบริษัทของนายเทอร์รี กัว ได้เป็นอย่างดี เพราะในปี 1988 ที่ถือว่าเป็นจุดหักเหที่สำคัญที่สุดต่อบริษัทของนายเทอร์รี่ กัว บริษัทเล็กๆ บนเกาะไต้หวัน


          เพราะเป็นปีที่รัฐบาลจีนเปิดนโยบายสนับสนุนให้ไต้หวัน สามารถลงทุนในจีนได้นั้น (ก่อนหน้านั้น บริษัทในไต้หวันไม่สามารถไปเปิดกิจการในจีนได้เพราะรัฐบาลถือว่าบริษัทจากไต้หวันต้องถูกรัฐบาลยึดไปเป็นกรรมสิทธิ์ให้รัฐบาลจีน) นายเทอร์รี กัว ซึ่งเป็นชาวไต้หวัน ก็ได้เปิดโรงงานแรกในจีนที่เมืองเสิ่นเจิ้น โดยประชากรในเมืองเสิ่นเจิ้นพร้อมที่จะทำงานด้วยค่าแรงงานที่ถูกกว่าแรงงานในไต้หวันหลายเท่า เพราะตอนนั้นคนในเมืองเสิ่นเจิ้น และคนจากซัวเถา หรือจากฝูเจี้ยน ที่เดินทางเข้ามาหางานทำที่เสิ่นเจิ้นนั้น (ที่เรียกว่าเป็น migrant worker หรือแรงงานอพยพจากเมืองอื่นมาหางานทำ) มีสภาพการเป็นอยู่ที่ยากจนมาก


          จนกระทั่งรัฐบาลได้ออกนโยบายให้เมืองเหล่านี้เป็นเมืองที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษของมณฑลกวางตุ้ง ชักชวนนักธุรกิจต่างชาติจำนวนมากเข้ามาลงทุนในเสิ่นเจิ้น โดยนักลงทุนต่างชาติจะได้สิทธิพิเศษทางด้านการลงทุน

 



          ต้องถือว่านายเทอร์รี กัว เป็นนักธุรกิจชาวไต้หวันจากกลุ่มนักธุรกิจชาวไต้หวันที่มีจำนวนไม่มากนัก ได้หอบเอาเงินมาลงทุนในจีนเป็นครั้งแรก โดยถือเป็นนักลงทุนไต้หวันรุ่นแรกที่มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเมืองเสิ่นเจิ้น


          โรงงานของเทอร์รี กัว ที่เสิ่นเจิ้น แทบเรียกได้ว่าเป็นเมืองเล็กที่ถูกเนรมิตขึ้นมาให้พนักงานมีบ้านพักสำหรับพนักงานที่เป็นคนหนุ่มสาว พร้อมด้วยโรงอาหาร มีคลินิกรักษาพนักงาน และเป็นสนามเล่น สนามพักผ่อนให้พนักงานจากโรงงานที่เสิ่นเจิ้น ที่เป็นฐานผลิตที่สำคัญให้บริษัทฟ็อกซ์คอนน์ และที่ทำรายได้ให้บริษัทฟ็อกซ์คอนน์ 170,000 ล้านดอลลาร์ และบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ของเทอร์รี กัว ได้ขยายเพิ่มจำนวนโรงงานออกไปทั่วประเทศ รวมถึงการไปเปิดโรงงานที่เมืองชานซีที่อยู่ทางตอนเหนือของเสิ่นเจิ้น เมืองที่บิดามารดาของเทอร์รี กัว เคยอาศัยอยู่


          การมีแรงงานจำนวนมากแต่อัตราค่าจ้างที่ต่ำอย่างในเสิ่นเจิ้นในตอนนั้นพร้อมกับระบบการจัดการทางภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพจากวิศวกรชาวไต้หวันที่มาฝึกอบรมแรงงานชาวเสิ่นเจิ้น ทำให้บริษัทของนายเทอร์รี กัว เจริญเติบโตในจีนได้อย่างต่อเนื่อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ