ข่าว

'บิ๊กป้อม' โพสต์ พปชร. จับมือจัดตั้งรัฐบาล ขึ้นกับการเจรจา-มติพรรค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'บิ๊กป้อม' โพสต์หัวข้อ จะ “จัดตั้งรัฐบาล”อย่างไร พร้อมระบุทิศทาง พปชร. จับมือจัดตั้งรัฐบาล ขึ้นกับการเจรจาและมติพรรคเท่านั้น เผยการเมืองแปรเปลี่ยนได้ตลอด ยกตัวอย่างบางพรรค กลืนน้ำลายตัวเอง

พรรคพลังประชารัฐ เป็นอีกพรรคที่ถูกจับตามองว่า จะจับมือกับพรรคใดทั้ง พรรคเพื่อไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคภูมิใจไทย เป็นต้น เพื่อจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่

ล่าสุดวันนี้ 19 เม.ย. เฟซบุ๊ก "พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ" โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ จะ“จัดตั้งรัฐบาล”อย่างไร บางช่วงบางตอนระบุถึงทิศทางของพรรคพลังประชารัฐว่า เป็นเรื่องที่ต้องรอให้ตามขั้นตอนที่เหมาะสม ด้วยเงื่อนไขเฉพาะหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจาอย่างรอบคอบ และต้องเป็นไปในนาม "มติพรรค" ไม่ใช่เรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่งจะมาประกาศตัดสิน จะไม่เป็นเช่นนั้น
หากจะมีความเด็ดขาดแน่นอนก็คือ "พลังประชารัฐ" จะตัดสินใจทุกเรื่อง ทุกอย่างด้วยเหตุผลต้องร่วมกัน "ก้าวข้ามความขัดแย้ง" ด้วยความเชื่อว่าเป็นหนทางเดียวที่จะพาประเทศสู่การพัฒนาที่สร้างโอกาสแห่งความสุขให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมได้
ขอให้เชื่อมั่นว่า  "เราจะตั้งรัฐบาลที่เป็นความหวังของประเทศอย่างดีที่สุดได้"

พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงการแปรเปลี่ยนไปของพรรคการเมืองไม่เคยเป็นไปอย่างที่ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงทั้งนั้น ยกตัวอย่างถึง 
พรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศไม่ยอมให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ แต่พอถึงเวลาจัดตั้งรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมโดยหัวหน้าพรรคคนใหม่ แค่ให้คุณอภิสิทธิ์ลาออกไป โดยมีประโยชน์ของประชาชนมากมายมาใช้อ้าง

นายอนุทิน ชาญวีรกุล ให้สัมภาษณ์ในข่าวลงวันที่ 8 มีนาคม 2562 ใจความสำคัญกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ให้ ส.ว. เลือกนายกฯ ลั่นอยู่คนละขั้วกับทหาร-พปชร. และได้ให้สัมภาษณ์อีกครั้ง ในเนื้อหาข่าวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2565 ว่าเฉลยแล้วปี62จับมือพปชร.ตั้งรัฐบาลเพราะผมไม่อยากอยู่กับระบบคสช.

ไม่เว้นแม้แต่พรรคพลังประชารัฐที่คุณ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เคยประกาศเอาไว้ว่าจะไม่รับตำแหน่ง หากได้เป็นรัฐบาล แต่สุดท้ายก็รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ไม่ใช่เรื่องผิด หรือแปลกประหลาดอะไร อย่างที่บอกว่า หากมีประสบการณ์การเมืองมายาวนานเพียงพอจะรู้ว่า "นี่คือความปกติของการเมืองไทย"

ส่วนขั้นตอนการจัดตั้งรัฐบาลว่า ต้องเริ่มจาก "ผลการเลือกตั้ง" ประชาชนเลือกพรรคไหนมาเท่าไร แต่ละพรรคมีสส.ได้รับเลือกเข้ามากี่คน เห็นตัวเลขแต่ละพรรคแล้ววางไว้ก่อน

มาสู่ขั้นตอน เปิดประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี
คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองที่มีส.ส.ไม่น้อยกว่า 25 คน
และได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภา อันหมายถึง สส.และ สว.รวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คือประมาณ 376 คน

ขั้นตอนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นขั้นตอนที่เป็นทางการขั้นตอนแรก
หลังจากนั้นจึงมีการจัดตั้งรัฐบาล เป็นการหาความตกลงร่วมกันว่าพรรคไหนจะร่วมกับพรรคไหน ในวิถีที่ควรจะเป็น

อ่านฉบับเต็ม (คลิก)

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ