ข่าว

"นายกรัฐมนตรี" กำชับหน่วยงาน เข้มงวดป้องกัน "ฝีดาษลิง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชาวบ้านหลายพื้นที่ผวาสถานการณ์แพร่ระบาดโรค "ฝีดาษลิง" ขณะที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา "นายกรัฐมนตรี" กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ป้องกันอย่างเต็มที่

เพจไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เผยแพร่บทความพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เตือนประชาชนไม่นำเข้าสัตว์ป่าแบบผิดกฎหมาย ที่อาจเป็นอันตรายและเกิดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ พร้อมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังแนวชายแดน ห้ามลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ป่าที่อาจจะนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้ รวมทั้งอย่าหลงเชื่อข่าวปลอมหากฉีดวัคซีน AstraZeneca เสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิงซึ่งไม่เป็นความจริง

 

\"นายกรัฐมนตรี\" กำชับหน่วยงาน เข้มงวดป้องกัน \"ฝีดาษลิง\"

 

กรมควบคุมโรค ยืนยัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิง เนื่องจากเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ ซึ่งคนก็สามารถติดโรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน เป็นต้น การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ ร้อยละ

การระบาดของฝีดาษลิงเกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2022 โดยมีอาการของฝีดาษลิงในชาวอังกฤษซึ่งเดินทางไปประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นโรคเฉพาะถิ่น ต่อมาบุคคลดังกล่าวเดินทางกลับเข้ามาในสหราชอาณาจักรในวันที่ 4 พฤษภาคม โดยนำผู้ป่วยที่เป็นต้นเหตุเข้ามาในประเทศ

ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย ชาวบ้านหลายพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ชิดกับลิงไม่ว่าจะเป็นลพบุรี เพชรบุรี หรือแม้แต่ที่จังหวัดสตูลมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดดังกล่าว ชาวบ้านที่อาศัยรอบเขาโต๊ะพญาวังอยู่ ยอมรับว่าคงต้องเพิ่มความระมัดระวังตัวเองเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อไม่ให้ลิงกัด เพราะมีความเสี่ยงเนื่องจากอาศัยอยู่ในดงลิง
โดยสำหรับงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ได้ประชาสัมพันธ์โดยแนะนำประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกันโรคฝีดาษลิง หลังพบผู้ป่วยในต่างประเทศ แม้ประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้ป่วย ขอให้ประชาชนติดตามการรายงานข่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมให้หลีกเลี่ยงเดินทางไปยังประเทศที่พบผู้ป่วย หลีกเลี่ยงสัตว์ที่เป็นพาหะ ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ หนู กระรอก และลิง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือดน้ำเหลืองของสัตว์ หรือกินเนื้อสัตว์ติดเชื้อที่ปรุงไม่สุก หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติม ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ