ข่าว

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

25 มี.ค. 2565

โดยเฉพาะจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ถือเป็นแหล่งผลิต “ทุเรียน” ที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยในแต่ละปีจะมีปริมาณผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดจำนวนมาก และเมื่อเกิดความนิยมบริโภคทุเรียนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

อีกหนึ่งปัญหาที่กลายเป็นประเด็นร้อนมาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ ที่ผ่านมาผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยต้องผิดหวังที่จ่ายเงินไปแล้วกลับได้ทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือ “ทุเรียนอ่อน”

 

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านคุณภาพของทุเรียนไทยในสายตาผู้บริโภคไม่น้อย เนื่องจากทุเรียนสามจังหวัดภาคตะวันออก ไม่เพียงเป็นที่นิยมในประเทศ แต่ทุเรียนยังเป็น “ราชาผลไม้” ที่เป็นสินค้ายอดนิยมส่งออกต่างประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท

จากความต้องการทุเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สูงต่อเนื่อง ได้กลายเป็นอีกปัจจัยที่ผลักดันให้บุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในกระบวนการผลิต การซื้อขายทุเรียน ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับซื้อ คนรับจ้างตัด และเกษตรกรเจ้าของสวนเอง เร่งตัดทุเรียนเพื่อจำหน่าย หวังเก็งกำไรและขายให้ได้ราคาสูงในช่วงต้นฤดูกาล ทำให้มีทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือทุเรียนอ่อนที่มักปะปนออกมาจำหน่ายในตลาดจำนวนมาก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบหมายให้ “กรมส่งเสริมการเกษตร” พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการป้องกัน ปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สำคัญ

 

โดยในช่วงที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ผ่านการรณรงค์ให้เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียน ผู้ประกอบการส่งออก และมือตัดทุเรียนได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อจำหน่าย

            และเพื่อเป็นการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจได้ว่าจะได้รับประทานทุเรียนที่มีคุณภาพ ในปี พ.ศ. 2565 นี้  จึงมีการประกาศกำหนด “วันเก็บเกี่ยวทุเรียน” ประจำปี  2565 ดังนี้ คือ พันธุ์กระดุม วันที่ 20 มีนาคม 2565 พันธุ์ชะนี และพันธุ์พวงมณี วันที่ 10  เมษายน 2565 และพันธุ์หมอนทอง วันที่ 25 เมษายน 2565

            สำหรับการกำหนดระดับความสุกแก่ของทุเรียน ด้วยการวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน โดยการตรวจสอบน้ำหนักแห้งด้วยเตาอบไมโครเวฟ โดยใช้ค่ามาตรฐานเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนของกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.3-2556 ซึ่งกำหนดค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนแต่ละพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กระดุม ไม่น้อยกว่า 27% น้ำหนักแห้ง พันธุ์ชะนี ไม่น้อยกว่า 30% น้ำหนักแห่ง พันธุ์พวงมณี ไม่น้อยกว่า 30% น้ำหนักแห้ง และพันธุ์หมอนทองไม่น้อยกว่า 32% น้ำหนักแห้ง

 

       กรณีผู้ที่มีความประสงค์จะเก็บเกี่ยวและส่งออกทุเรียน ก่อนกำหนดวันเก็บเกี่ยวดังกล่าว ต้องมี

1. ใบรับรองน้ำหนักแห้งจากการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน ซึ่งออกโดยสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก หรือแปลงใหญ่ทุเรียน หรือเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร

2. สำเนาใบ GAP ระบุวันที่และปริมาณทุเรียนและล้งรับซื้อ เพื่อควบคุมการสวมสิทธิ์ใช้ใบรับรอง GAP และควบคุมการใช้ใบรับรอง GAP 5 ตู้/ไร่ ตามระบบ E-phyto (ระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์) ของกรมวิชาการเกษตร

 

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

 

พร้อมกันนี้ ได้ระบุโทษกรณีจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ ในกรณีที่เกษตรกรผู้ปลุกทุเรียน พ่อค้าคนกลาง หรือผู้มีอาชีพตัดทุเรียนรายใดจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ เข้าข่ายความผิด ดังนี้

1. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแห่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือสาระสำคัญ ประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้กระทำความผิดความวรรหนึ่งกระทำผิดซ้ำ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งหมดถือเป็นมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ในจังหวัดแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคตะวันออก เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานทุเรียนคุณภาพ พร้อมยกระดับภาพลักษณ์ทุเรียนเมืองไทย ให้ยังคงสถานะแหล่งผลิตขึ้นชื่อของ “ราชาผลไม้” ในสายตาต่างชาติได้ต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่ง 2 มาตรการเข้ม สกัดทุเรียนอ่อน ยกระดับทุเรียนไทย