ข่าว

หนุ่มมีหนาว "น้องชาย" สั้นลงหลัง ติดโควิด หมอยืนยัน เกิดจากภาวะ "Long Covid"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หนึ่งในภาวะ "Long Covid" หลัง ติดโควิด ที่ทำเอาหนุ่ม ๆ มีหนาว นั่นคือ "น้องชาย" หรือ องคชาต สั้นลง หรือเรียกว่า "ภาวะโควิดลงองคชาต"

จากกรณีที่สำนักข่าว เดอะ ซัน รายงานว่า มีชายชาวอเมริกัน อายุประมาณ 30 ปี ได้ออกมาเปิดเผยว่า กำลังเผชิญกับผลข้างเคียงหายาก จากการติดโควิด โดยทำให้ขนาดของอวัยวะเพศ หรือ น้องชาย ที่เคยใหญ่เกินมาตรฐานของเขา หดสั้นลงถึง 1.5 นิ้ว หรือเกือบ 4 ซม. และทำลายความมั่นใจของเขาไป ซึ่งแพทย์ระบบปัสสาวะหลายคนเคยออกมายืนยันก่อนหน้านี้แล้วว่า "ภาวะโควิดลงองคชาต" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหาย จนส่งผลให้ขนาดขององคชาตหดเล็กลง 

 

 

ขณะที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ทำการศึกษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 3,400 ราย พบว่า มีราว 200 ราย ที่เกิดผลข้างเคียงระยะยาวจากการติดเชื้อ และหนึ่งในนั้นคือการที่ น้องชาย หดสั้นลง แต่เกิดได้ยากกว่า

 

 

ด้าน ดร.แอชลีย์ วินเทอร์ แพทย์ระบบปัสสาวะในเมืองพอร์ตแลนด์ ของสหรัฐฯ และผู้ช่วยจากองค์กรสุขภาพไม่แสวงกำไร "Kaiser Permanente" อธิบายว่า การที่ "น้องชาย" หรือ องคชาตเล็กลงหลังติดโควิด เป็นผลพวงจากภาวะความผิดปกติในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ (erectile dysfunction) เมื่อองคชาตแข็งตัวไม่สุด เพราะได้รับเลือดไม่เต็มที่ มันอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่อวัยวะเพศ และทำให้มันสั้นลง ซึ่งอาจเป็นกรณีเดียวกันกับของชายคนนี้

 

สอดคล้องกับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ "หมอดื้อ" หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลกับ "คมชัดลึกออนไลน์" ระบุว่า เป็นกลไกของภาวะ "Long Covid" ที่เกิดได้จากการติดเชื้อ หรือผลจากการได้รับวัคซีน ซึ่งทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหาย จนส่งผลให้ขนาดของ น้องชาย หรือ องคชาตหดเล็กลง มีโอกาสหายได้ แต่ต้องใช้เวลานาน

ข้อมูลระบุว่า ปัจจุบันมีวิธีรักษาภาวะ น้องชาย ไม่แข็งตัว และอาการที่เกิดตามมาหลายอย่าง ทั้งการยืดองคชาตด้วยการออกกำลังกาย หรืออุปกรณ์ที่ปกติจะใช้สำหรับเยียวยาผู้ที่มีอวัยวะเพศเล็กเกินไป ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และโรคภัย เช่น การปั๊มสูญญากาศ (vacuum pump) เพื่อทำให้เลือดไหลเข้าไปในองคชาตได้มากขึ้น เป็นต้น

 

สำหรับภาวะ "Long Covid" ที่เกิดขึ้นภายหลังหายจากอาการโควิด โดยปกติทั่วไปจะมีอาการดังนี้

 

  • หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • อาการแย่ลงหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ   
  • มีปัญหาในการคิด ขาดสมาธิ
  • ไอ เจ็บหน้าอก
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ วิงเวียน
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
  • นอนไม่หลับ
  • มีไข้
  • ผื่นขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน
  • การได้กลิ่นหรือรับรสผิดเพี้ยน
  • ประจำเดือนไม่ปกติ

 

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 จะส่งผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงภูมิต้านทานด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจมีอาการนานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน หลังจากเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ผลกระทบสามารถส่งผลแทรกซ้อนต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งหัวใจ ปอด ไต ผิวหนัง และสมอง ทั้งนี้ ยังส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นโจมตีเซลล์ที่มีสุขภาพดีในร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดภาวะอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome: MIS) ทำให้มีอาการไข้ ถ่ายเหลว ช็อก และไตวาย  ซึ่งมักพบอาการหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ นั่นรวมถึงภาวะ "น้องชาย" หดตัวเล็กลงด้วย

 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Line: https://lin.ee/qw9UHd2
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ