ข่าว

"อารมณ์โกรธ" ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด เราจะจัดการ "ความโกรธ" อย่างไรดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อารมณ์โกรธ" ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด เราจะจัดการ "ความโกรธ" อย่างไรดี ซึ่งในช่วงสภาพอากาศที่ค่อนข้างจะร้อน แน่นอนว่ามักจะทำให้เราหงุดหงิด และ "โกรธ" ง่ายกว่าเดิมมาก ๆ

ในช่วงสภาพอากาศที่ค่อนข้างจะร้อน แน่นอนว่ามักจะทำให้เราหงุดหงิด และ "โกรธ" ง่ายกว่าเดิมมาก ๆ

 

ซึ่ง "อารมณ์โกรธ" เป็นอารมณ์ที่มีความสำคัญที่จะทำให้เรารับรู้ว่าเกิดความไม่ชอบมาพากล หากไม่สามารถควบคุมได้ จะกลายเป็นพลังทำลาย ทำอะไรหุนหันพลันแล่น การตัดสินใจผิดพลาดง่ายนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ทั้งความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ปัญหาที่ทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง 

 

 

 

 

ความโกรธ จะนำไปสู่การเพิ่มความเครียด และในทำนองเดียวความเครียดก็มักจะทำให้มีความโกรธเพิ่มมากขึ้น และอาจมีผลกระทบทางกายโดยขณะที่เราเกิดอารมณ์โกรธ

 

ความโกรธ เกิดจากความเครียดสะสม ประกอบกับมีสิ่งเร้าหรือตัวเข้ามากระตุ้น เมื่อรู้ตัวเองว่าโกรธ จะสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น หัวใจเต้นแรงขึ้น , กล้ามเนื้อเริ่มเกร็ง , เหงื่อไหล , หน้าเริ่มร้อน เป็นต้น

 

ดร.สุดา วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น ขอแนะนำให้ใช้วิธีจัดการกับความโกรธ โดยเบี่ยงเบนความสนใจออกไปจากเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธ แบบง่ายๆ 5 วิธีดังนี้

 

1. พยายามนับ 1 ถึง 10 ในใจ ก่อนจะพูดอะไรออกไปขณะโกรธ จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำในขณะกำลังโกรธได้

 

2. ลองนับ 1 ถึง 10 รูปแบบใหม่ ซี่งจะทำให้ควบคุมความโกรธได้ดีขึ้น โดยนับพร้อมกับสูดลมหายใจเข้า-ออกทางช่องท้อง ลีกๆ ช้าๆ ระหว่างเลขแต่ละจำนวน วิธีนี่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น

 

3. ให้นับ 1 ถึง 10 พร้อมกับนึกถึงสิ่งของที่ตัวเองชื่นชอบหรือนึกถึงสิ่งทำให้อารมณ์ดี เช่น ไอศกรีม 1 แท่ง 2 แท่ง 3 แท่ง จะทำให้จิตใจผ่อนคลายลงและเกิดความรู้สึกที่ดีแทนที่อารมณ์โกรธ

 

4. ใช้วิธีนับเลขถอยหลังจาก 100 จนถึง 80 การใช้สมาธิจดจ่อกับการนับ ทำให้หยุดคิดถึงเรื่องที่กำลังโกรธได้ และ

 

5. ให้ลองหลับตานึกถึงเหตุการณ์หรือสิ่งใดๆในอดีตที่ได้พบเจอแล้วมีความสุขใจ สบายใจ คลายเครียด เช่นการท่องเที่ยวในที่ต่างๆ เดินเที่ยวที่วัด จะช่วยทำให้ความโกรธลดลงได้

 

 

สิ่งที่ไม่ควรทำขณะที่รู้สึกว่าตนเองโกรธจนควบคุมตัวเองได้ยาก ได้แก่

 

1. ไม่ควรโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบายอารมณ์ขณะยังมีความโกรธรุนแรง เพราะจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดสติเผลอตัวเขียนระบายอารมณ์ในสิ่งที่ไม่สมควรและต้องมานึกเสียใจภายหลังที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

 

2.ห้ามขับรถ เพราะอารมณ์โกรธจะทำให้เราหุนหันพลันแล่น ขาดสติ

 

3.ไม่ระบายอารมณ์ด้วยการดื่มเหล้า

 

4.หลีกเลี่ยงการทะเลาะเพราะจะลุกลามใหญ่โตได้ง่ายเนื่องจากการควบคุมตนเองไม่ได้

 

5.ห้ามคิดหมกมุ่นอยู่กับคนหรือเรื่องที่ทำให้โกรธ เนื่องจากจะทำให้ความรู้สึกโกรธเพิ่มมากขึ้นและอาจทำให้เกิดความรุนแรงได้

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่ดูแลหรือจัดการความโกรธที่เกิดขึ้นได้

 

หากไม่จัดการความโกรธ ความโกรธมีแนวโน้มแสดงออกได้ทั้งแบบก้าวร้าวต่อตนเองและก้าวร้าวต่อผู้อื่น

 

ความโกรธมักไปแสดงออกในแบบที่ทำร้ายตนเองได้หากคุณไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับความโกรธที่เกิดขึ้นและเก็บกดไว้ ความโกรธยังไม่หายไปไหนและกลับมาเป็นความก้าวร้าวกับตนเองได้ เช่น คุณอาจไม่พอใจเจ้านาย คุณอาจแสดงพฤติกรรมในทางที่ทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองได้ เช่น การมาทำงานสาย การไม่ส่งงาน การนอนมากเกินไปจนมาทำงานไม่ทัน หรือการแสดงออกในแบบก้าวร้าว ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกออกจากงานได้หรือทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน ซึ่งทำให้เป้าหมายในชีวิตไม่เป็นตามที่ตั้งใจไว้

 

แต่หากก้าวร้าวกับผู้อื่นมีผลให้สูญเสียความสัมพันธ์ เสียภาพพจน์หรือเสียชื่อเสียง ขาดความน่าเชื่อถือ หรือหากรุนแรงมาก เกิดทำร้ายกันก็ทำสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สินได้

 

จริงๆ เรื่องความโกรธก็มีผู้รู้เขียนไว้จำนวนมาก แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ดูเหมือนเราได้รับการกระตุ้นให้เกิดความโกรธได้ง่าย การที่อ่านแล้วระลึกถึงบ่อยๆ ช่วยให้เรารู้ตัวและฉุดตนเองออกจากวงจรความโกรธได้

 

ข้อมูลประกอบจาก : สสส. , กรมสุขภาพจิต , รพ.มนารมย์

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ