ข่าว

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จังหวัดเชียงใหม่จัดงาน "นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แนวทางทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน) และข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล (ปลดล็อก) เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรม"

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ นายวีระพันธ์ ดีอ่อน  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเกิดงาน “นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แนวทางทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน) และข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล (ปลดล็อก) เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรม” ที่จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการรายงานผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดารขาดแคลน โดยใช้ระบบทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน)

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

โดยที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการศึกษาโดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารขาดแคลน รวมทั้งมีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่รวมกัน จะมีปัญหาในด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จากการใช้ภาษาที่ใช้สื่อสาร ทำให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และไม่อยากเรียน เกิดปัญหาตามมาอีกหลายประการ  ดังนั้น หน่วยงานด้านการศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่  ตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 3-6 ฯลฯ จึงร่วมมือกันในการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สองภาษาหรือหลายภาษาควบคู่กัน หรือที่เรียกว่า ทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน) ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

ในปีการศึกษา 2562 มีโรงเรียนนำร่องจำนวน 16 โรงเรียน และจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ผลเป็นอย่างดี  เด็กมีความกล้าที่จะสื่อสารกับครู กล้าแสดงออก ไม่ขาดเรียน อ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาถิ่น มีทักษะการคิดสูงขึ้น รักการอ่าน และให้ความร่วมมือในการเรียน ทำให้โรงเรียนที่ใช้ระบบนี้หลายโรงเรียนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด หรือยกระดับผลการประเมินการอ่าน (RT) จากระดับต่ำมากขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับประเทศได้  ซึ่งจากผลสัฤทธิ์ดังกล่าว จึงได้มีการขยายผลการใช้นวัตกรรมดังกล่าวใน ปีการศึกษา 2563 รวมเป็น 27 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนทวิ/พหุภาษาเต็มรูปแบบ 15 โรงเรียน โรงเรียนที่สอนภาษไทยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ 5 โรงเรียน โรงเรียนทวิ/พหุภาษากึ่งรูป (ไม่มีตัวเขียน) 3 โรงเรียน และโรงเรียนทวิ/พหุภาษากึ่งรูป (มีตัวเขียน) 1 โรงเรียน  โดยมีการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายมากขึ้น เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

ในการจัดงานครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของการการดำเนินการดังกล่าว และได้มีการเสนอแนวทางแก้ไข ปรับปรุงระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล (ปลดล็อก) เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรม เพื่อให้โรงเรียนที่อยู่ในโครงการดังกล่าวใช้ครูท้องถิ่นผสมผสานกับครูที่ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน รวมทั้งการพัฒนาครูท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรมตามแนวทางที่วางไว้ สอดคล้องกับพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” อย่างแท้จริง

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

เชียงใหม่ เร่งปลดล็อก ให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เรียนรู้นวัตรกรรม ทวิ พหุภาษา อ่านออกภาษาแม่และท้องถิ่นได้

สราวุธ แสนวิชา ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ