ข่าว

ส.นักข่าวฯผนึกสถานทูตจีนฯ ติวเข้มสื่อไทยในโครงการ"มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้"ปีที่ 3

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส.นักข่าวฯผนึกสถานทูตจีนประจำประเทศไทย จัดโครงการ"มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้"ปีที่ 3 หวังให้สื่อไทยเข้าใจจีนในเชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญจีนชี้ถึงเวลาห่วงโซ่อุปทานโลกเปลี่ยน ไม่มีผู้นำเดี่ยว จะมีประโยชน์ในการเจรจาต่อรองของประเทศคู่ค้า   

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นประธานเปิดโครงการ”มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้”ปีที่ 3 ณ ห้องอินฟินิตี้1 โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ รางน้ำ โดยสมาคมนักข่าวฯร่วมกับสถานทูตจีนประจำประเทศไทยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนไทยได้เรียนรู้และเข้าใจประเทศจีนในเชิงลึกมากขึ้นและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ

          ส.นักข่าวฯผนึกสถานทูตจีนฯ ติวเข้มสื่อไทยในโครงการ"มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้"ปีที่ 3
 

            ส.นักข่าวฯผนึกสถานทูตจีนฯ ติวเข้มสื่อไทยในโครงการ"มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้"ปีที่ 3

จากนั้น นางหยาง หยาง ที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองและโฆษกสถานทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวฯร่วมกับสถานทูตจีนประจำประเทศำไทย และพูดถึงการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ของประเทศจีนให้ความสำคัญกับชีวิตพลเมืองเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกันจีนก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัญหาการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม โดยไตรมาส 3 ปีนี้ จีนมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.9%  มียอดการลงทุนมูลค่า 23.15 ล้านล้านหยวนเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้น 29 %
“การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 5 ที่ผ่านมา ตั้งเป้าปี 2035 ประเทศเข้าสู่สเตทใหม่ สร้างความทันสมัยสังคมนิยมรอบด้าน ยึดถือการหมุนเวียนภายในเป็นหลักควบคู่ต่างประเทศ อำนวยความสะดวกประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปบุกเบิกตลาดในจีน”

           ส.นักข่าวฯผนึกสถานทูตจีนฯ ติวเข้มสื่อไทยในโครงการ"มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้"ปีที่ 3

นางหยาง หยาง ย้ำ ด้วยว่าประเทศจีนรักสันติภาพตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีความท้าทายเป็นเจ้าโลกเหมือนสหรัฐอเมริกา ที่พยายามปิดล้อมสกัดกั้นประเทศจีนไม่ให้พัฒนาต่อไป ซึ่งความคิดเช่นนี้รู้สึกว่าเป็นอันตรายไม่เพียงแต่กระทบกระเทือนต่อสหรัฐอเมริกาเองเท่านั้นแต่ยังกระทบกระเทือนกับทุกประเทศในโลกนี้อีกด้วย 
“ปีนี้การลงทุนของจีนในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น 53% ไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง  ปีนี้ความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างไทย-จีนได้เพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว ทั้งการค้าขายระหว่างกันและโครงการรถไฟความเร็วสูง แสดงให้เห็นความคืบหน้าของโครงการนี้ด้วย  หลังโควิด-19 อนาคตอันใกล้นี้เราทั้งสองฝ่าย ย่อมเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อที่จะผลักดันความสัมพันธ์ยกระดับไปสู่อนาคตที่สดใสมากยิ่งขึ้น”โฆษกสถานทูตจีนประจำประเทศไทยกล่าวย้ำ 
จากนั้นมีการเสวนาเวทีสาธารณะหัวข้อ”สงครามการค้าจีน-สหรัฐ : สงครามตัวแทน? : ผลกระทบต่อไทยและโลก” โดยวิทยากรประกอบด้วย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการจีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ดร.ประพีร์ อภิชาตสกล อุปนายกสมาคมอเมริกันศึกษาในประเทศไทยและอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มศว.และ ผศ.ดร.หลี่ เหริน เหลียง อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม นิด้า ดำเนินเสวนาโดยดร.ณัฎฐา โกมลวาทิน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่านับตั้งแต่สงครามเย็นเป็นต้นมาเป็นยุคนำเดี่ยวของสหรัฐอเมริกา ห่วงโซ่อุปทานโลกเป็นห่วงโซ่เดี่ยว  แต่หลังจากนี้ไปไทยกับอาเซียนจะต้องวิเคราะห์อย่างใกล้ชิดถึงการเปลี่ยนแปลงในการแยกห่วงโซ่อุปทานโลก
“วันนี้มันเกิดแยกห่วงโซ่เศรษฐกิจออกจากกันโดยเฉพาะห่วงโซ่เทคโนโลยี ภาคธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ให้ดีเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรจะเข้าห่วงโซ่ฝ่ายไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน  วันนี้โลกถูกเขย่าเป็นโลกแห่งความผันผวน  การที่มีสองมหาอำนาจแบบนี้จะมีประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง  เราต้องเตรียมพร้อม เพราะโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว”
ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษายังกล่าวถึงจุดแข็งของจีนประกอบด้วยความแข็งแกร่งเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งจีนเป็นเผด็จการไอเทคที่แข็งแกร่งในเรื่องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและการประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่ใช่มีประโยชน์เฉพาะด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์ต่อระบบการเมืองอีกด้วย 
โดยในวงวิชาการฝรั่งมีการอธิบายว่าในระบบการเมืองจีนที่มีเสถียรภาพนั้น เพราะเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บิ๊กเดต้า โซเชียลมีเดียต่าง ๆ  ขณะที่สเกลขนาดของพลเมืองก็มีผล เพราะประเทศที่มีจำนวนพลเมืองมากจะเป็นตลาดของผู้บริโภคด้วย สินค้าใดไม่สามารถส่งออกได้ก็จำหนายในประเทศตัวเองและประเทศอื่น ๆ ที่ยังต้องค้าขายกับจีน  
ส่วนจุดอ่อนของจีนที่สหรัฐอเมริกาได้พยายามมอง ซึ่งดร.อาร์มชี้ว่าประการแรกปัจจัยภายในเรื่องการเมืองของจีนที่มีปัญหา ทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชนในซินเจียง   เรื่องฮ่องกง ประการต่อมาเรื่องการเงินที่รัฐบาลจีนพยามออกกฎที่เข้างวดในเรื่องแผนการเงิน  เพราะวิกฤติการเงินจีนมองว่าทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ จึงต้องหยุดการเกิดให้ได้และประการสุดท้ายเรื่องเทคโนโลยีพื้นฐาน  ซึ่งสหรัฐอเมริกาเก่งด้านนี้ หากหยุดยั้งจีน เข้าถึงเทคโนโลยีพื้นฐานได้ก็จะเกิดปัญหาทันที 
ขณะที่ ดร.ประพีร์ อภิชาตสกล อุปนายกสมาคมอเมริกันศึกษาในประเทศไทยและอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มศว. ยอมรับว่าในระยะเวลา 4 ปีของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์นั้น ไม่ได้ให้ความสนใจอาเซียนมากนัก ทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้จึงต้องเอนเอียงไปทางจีน ขณะที่โจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ก็ยังไม่แน่นอนในเรื่องนโยบายต่างประเทศ  ต้องคอยดูท่าทีหลังเข้ารับตำแหน่ง จึงไม่ง่ายในการตัดสินใจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
“วันนี้อาเซียนเองจะต้องหันกลับมาพึ่งพาประเทศตนเองก่อนแต่ความร่วมมือก็ยังจำเป็น โดยไม่ต้องรอให้มหาอำนาจมากำหนดทิศทางให้เรา  เพราะอาเซียนเองก็มีข้อกำหนดที่ชัดเจนอยู่แล้วและนโยบายสนลู่ลมของไทยก็สามารถนำเอามาใช้ได้ตลอดเวลา”ดร.ประพีร์กล่าวย้ำ  
ด้าน ผศ.ดร.หลี่ เหริน เหลียง อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า)กล่าวว่าปัญหาสงครามการค้าที่เกิดขึ้นวันนี้ไม่ใช่เรื่องของระบอบ  แต่ที่ขัดแย้งเป็นการทวนกระแสโลกาภิวัฒน์มากกว่า อนุรักษ์นิยมกีดกันการค้ามากกว่า ซึ่งจีนได้เตรียมไว้พอสมควร 
“เราไม่อยากให้เกิดสงครามการค้าและมีมาตรการรับมือไว้แล้ว เน้นการบริโภคภายในประเทศพอสมควร ส่วน ซีพีทีพีพี(CPTPP)นั้น  จีนไม่แคร์ใช้พหุภาคีในการขับเคลื่อน เพราะกติกาเดิมนั้นสหรัฐเป็นผู้สร้างกติกาขึ้นมา”ผศ.ดร.หลี่ เหริน เหลียงให้มุมมองทิ้งท้าย

โปรลาซาด้า

  ส.นักข่าวฯผนึกสถานทูตจีนฯ ติวเข้มสื่อไทยในโครงการ"มองจีนยุคใหม่ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้"ปีที่ 3


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ