ประวัติ "วันวิทยาศาสตร์" คำขวัญ "วันวิทยาศาสตร์" 2563
ประวัติ "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" คำขวัญ "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" 2563 ตรงกับวันที่วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นหนึ่งในวันสำคัญของคนไทย
ประวัติ "วันวิทยาศาสตร์"
"วันวิทยาศาสตร์" ตรงกับวันที่วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นหนึ่งในวันสำคัญของคนไทย เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราาคาเต็มดวง ที่คำนวณไว้ล่วงหน้า 2 ปี อย่างแม่นยำ รัฐบาลไทยจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติไทย พร้อมเทิดพระเกียรติให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
"วันวิทยาศาสตร์"ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งปัจจุบัน ยังคงมีให้เห็นในวัดสายธรรมยุต. เช่น วัดราชาธิวาส พระปรีชาสามารถด้านดาราศาสาตร์นั้นน่าจะเริ่มตั้งแต่ทรงทอดพระเนตรดาวหางเมื่อทรงพระเยาว์. ซึ่งพระองค์ยังได้ทรงออกประกาศแจ้ง ชื่อ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไม่ให้เชื่อตามคำเล่าลือที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น.ซึ่งนับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ
คำขวัญ "วันวิทยาศาสตร์" 2563
จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
CR.Wikipedia