ข่าว

ชาวลุ่มน้ำชีเสนอยกเลิก พ.ร.บ.น้ำซ้ำเติมเกษตรกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีไม่เอา พ.ร.บ.น้ำ เสนอให้ยกเลิกร่างการจัดเก็บค่าชลประทาน จะเป็นการเก็บภาษีน้ำซ้ำเติมเกษตรกรชาวรากหญ้า

 

 

        วันที่ 8 มกราคม 2563  เวลา 10.30 น. ณ ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง ตำบลโพนเมือง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรรมการเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร กว่า 150 คน ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยน พ.ร.บ.น้ำ จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ผ่านมา ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  เป็นประธานเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าชลประทาน การจัดเก็บหรือชำระค่าชลประทาน และการยกเว้นและการผ่อนชำระค่าชลประทาน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอโดยมีสาระสำคัญตามที่สื่อมวลชนเสนอไปแล้วนั้น หลังจากการแลกเปลี่ยนทางคณะกรรมการเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี ต่างมีข้อเสนอให้ยกเลิก พ.ร.บ.น้ำ ที่จะมาเก็บภาษีน้ำกับเกษตรกร ซ้ำยังเพิ่มปัญหาให้กับเกษตรกรชาวรากหญ้าทั้งระยะสั้นระยะยาว

เรื่องนี้นายนิมิต หาระพันธุ์ อายุ 60 ปี คณะกรรมการเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีจังหวัดยโสธร กล่าวว่า พ.ร.บ.น้ำ นี้จะเป็นปัญหากับเกษตรกรชาวบ้านลุ่มน้ำแน่นอน เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ชาวบ้านไม่เคยได้มีส่วนร่วมแล้วจะมาเก็บภาษีน้ำอย่างไร วันนี้จึงลุกขึ้นมาเสนอให้รัฐบาลรับรู้ว่าชาวบ้านไม่ต้องการ พ.ร.บ.น้ำ

ชาวลุ่มน้ำชีเสนอยกเลิก พ.ร.บ.น้ำซ้ำเติมเกษตรกร

 

 

 

        หลังจากนั้นนายจันทรา จันทาทอง อายุ 45 ปี คณะกรรมการเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีจังหวัดร้อยเอ็ด ได้อ่านคำประกาศ “คัดค้านการเก็บภาษีน้ำ เสนอยกเลิก พ.ร.บ.น้ำที่ซ้ำเติมเกษตรกรชาวรากหญ้า” ทางเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี มองว่าหลังการคลอด พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เกษตรกรลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำอีสานต่างกังวลว่าจะมีการเก็บภาษีน้ำหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรลุ่มน้ำทั้งภาคอีสานคัดค้านมาโดยตลอด  ถ้า พ.ร.บ.น้ำคลอดออกมาแล้วเกิดการใช้จริงจะส่งผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวต่อวิถีชีวิตของชาวนาลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำภาคอีสานอย่างไรบ้าง เนื่องจากปีที่ผ่านมาน้ำท่วมข้าวนาปีเสียหายหมดทำให้เกษตรขาดรายได้หลัก ทำให้ปีนี้เกษตรกรจะต้องทำนาปรังเพื่อทดแทนนาปี และชาวนาก็เสียค่าน้ำอยู่แล้วสามลักษณะคือหนึ่งเสียในรูปแบบเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เก็บเฉลี่ยกันรายชั่วโมง  สองเสียค่าน้ำในลักษณะค่าไฟฟ้าที่บางครอบครัวเจาะบ่อบาดาลสูบน้ำขึ้นมาทำนาปรังหรือรดน้ำสวนผัก สามเสียในลักษณะค่าน้ำมันที่บางครอบครัวจะต้องนำเครื่องสูบน้ำดึงน้ำขึ้นมา

ดังนั้นทั้งที่ผ่านมาและปัจจุบันเกษตรก็เสียค่าน้ำอยู่แล้ว ยิ่งเห็นชัดแล้วว่า พ.ร.บ.น้ำ ฉบับนี้เป็นฉบับรวมศูนย์อำนาจการจัดการน้ำอยู่ที่รัฐ เพราะสุดท้ายต้องขึ้นกับหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่(กนช.)ประกาศกำหนด โดยเฉพาะมาตรา 49 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทดังกล่าว โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บลดหย่อนหรือยกเว้นค่าใช้น้ำดังกล่าว

ชาวลุ่มน้ำชีเสนอยกเลิก พ.ร.บ.น้ำซ้ำเติมเกษตรกร

 

 

 

          ระบบภาษีน้ำ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ขัดต่อหลักสากลว่าด้วยการเข้าถึงน้ำอันเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตมนุษย์ แม้ว่ากิจการ ประเภท และรูปแบบการใช้น้ำจะมีหลากหลาย แต่สิทธิของชุมชนในการจัดการและใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างสมดุลและยั่งยืนควรได้รับการรับรอง และมีอำนาจในการบริหารจัดการเองได้ การใช้น้ำของชุมชน ไม่ควรต้องแลกด้วยเงินที่ต้องจ่ายให้รัฐ หรืออย่างน้อยควรมีการกำหนดปริมาณอันจำเป็นที่ชุมชนต้องใช้ก่อน เว้นแต่ปริมาณที่เกินกว่านั้น และชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนด

            ดังนั้นทางเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จึง มีข้อเสนอ คือ 1.ให้ยกเลิก พ.ร.บ.น้ำ ที่จะซ้ำเติมเกษตรกรรากหญ้า ไม่มี พ.ร.บ.น้ำ เกษตรกรก็เสียค่าน้ำอยู่แล้ว พ.ร.บ.น้ำควรไปกำกับดูแลการใช้น้ำประเภทที่สอง และที่สาม เพื่อไม่ให้เกิดการแย้งชิงทรัพยากรน้ำกับชุมชน  2.ให้ทบทวนใหม่ และเสนอแนวทางอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ แม้ว่าแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์อาจจะมองว่า หากมีการจ่ายเพื่อใช้ทรัพยากร อาจจะทำให้ช่วยให้การใช้น้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ไม่ควรเอาการจ่ายด้วยเงิน อันเป็นต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นภายใต้ราคาผลผลิตสินค้าเกษตรที่ตกต่ำตลอดมา เป็นการผลักภาระให้เกษตรกรและชุมชนโดยหลีกเลี่ยงมิได้

ชาวลุ่มน้ำชีเสนอยกเลิก พ.ร.บ.น้ำซ้ำเติมเกษตรกร

ภาพ/ข่าว จิติมา จันพรม นักข่าวภูมิภาค ศูนย์ข่าวขอนแก่น

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ