ข่าว

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์"ไวไฟ"เป็นอันตรายกับอสุจิ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผลศึกษาใหม่โดยทีมวิจัยญี่ปุ่น เป็นหลักฐานอีกชิ้นที่พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (อีเอ็ม) จากอุปกรณ์ไวไฟ มีส่วนทำให้อัตราการมีบุตรในประเทศพัฒนาแล้วลดลง 


คูมิโกะ นาคาตะ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลยามาชิตะ โชนัน ยูเมะ  กล่าวว่า ว่ากันว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าปลอดภัยสำหรับมนุษย์ในแง่สุขภาพ แต่ผลศึกษาของเธอพบว่า การได้รับคลื่นเหล่านั้นจากอุปกรณ์ไวไฟเป็นเวลานาน จะทำให้ความสามารถในการมีบุตรลดลง เพราะอสุจิตาย


ทีมวิจัยญี่ปุ่นทำการทดลองเพื่อหาข้อสรุปผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไวไฟ อาทิ โทรศัพท์มือถือและเราเตอร์ในบ้าน ต่อการเคลื่อนที่และการตายของอสุจิ โดยศึกษาจากผู้ชาย 51 คน อายุเฉลี่ย 38.4 ปีที่อยู่ในกระบวนการผสมเทียม


ตัวอย่างอุสจิที่เก็บจากกลุ่มศึกษา ถูกแยกออกเป็น 3 กลุ่ม 


กลุ่มแรก ถูกเก็บพ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเราเตอร์ไวไฟ กลุ่มที่สอง ได้รับการปกป้องจากไวไฟ ชีลด์ หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสัญญาณไวไฟ และกลุ่มสุดท้าย ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเต็มๆ    


นาคากะ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านตัวอ่อนวิทยาและสเปิร์ม กล่าวว่า ตัวอย่างอสุจิถูกวางไว้ใกล้กับเราเตอร์ไวไฟ คล้ายกับการเก็บโทรศัพท์มือถือในกระเป๋ากางเกงผู้ชาย เป็นเวลานาน 30 นาที 60นาที 2 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง 


จากนั้น ตรวจสอบการเคลื่อนที่ซึ่งก็พบว่า กลุ่มตัวอย่างอสุจิที่ได้รับคลื่นอีเอ็มจากไวไฟ 30 นาทีกับ 60 นาที มีอัตราการเคลื่อนที่ไม่แตกต่างกันมากกับอีกสองกลุ่ม 


 แต่ยิ่งได้รับนาน อัตราการเคลื่อนที่ของอสุจิก็ต่ำลง และอัตราการตายสูงขึ้น 


โดยหลังผ่านสองชั่วโมงไปแล้ว กลุ่มตัวอย่างอสุจิที่รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอัตราการเคลื่อนที่  26.4 %  กลุ่มที่มีอุปกรณ์ปกป้องสัญญาณไวไฟ อยู่ที่ 44.9 %  ส่วนกลุ่มปลอดจากคลื่น อยู่ที่ 53.3%

 
หากนานเกิน 24 ชม. อัตราการตายของอสุจิกลุ่มที่ไม่ถูกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเลยอยู่ที่ 8.4%  กลุ่มที่มีอุปกรณ์ป้องกัน  18.2% และกลุ่มที่ได้รับคลื่นเต็มๆ อยู่ที่ 23.3% 


นาคาตะ กล่าวว่าผลศึกษาชี้ชัดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำลายอสุจิ และอุปกรณ์ไวไฟมีส่วนต่อความสามารถในการมีบุตร ขณะเดียวกัน ก็พบว่า ไวไฟ ชีลด์ ช่วยป้องกันอันตรายจากคลื่นอีเอ็มได้ในช่วงเวลาหนึ่ง 

องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ภาวะมีบุตรยากของชายและหญิง จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพรุนแรงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งและโรคหัวใจในศตวรรษที่ 21 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ