ข่าว

ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชุมชนละสองแสนบาท ... ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน"

 

          ไทยนิยม ยั่งยืน ประโยคคุ้นหูจากกรอบนโยบายสำคัญของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จากมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา กำหนดกรอบหลักการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน ภายใต้ “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” 10 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย

   ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน"

 ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน"

 ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน"  ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน"

         1. สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง 2. คนไทยไม่ทิ้งกัน 3. ชุมชนอยู่ดีมีสุข 4. วิถีไทย วิถีพอเพียง 5. รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย 6. รู้กลไกการบริหารราชการ 7. รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม 8. รู้เท่าทันเทคโนโลยี 9. ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10. งานภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function)
หลักการกรอบที่ 3 “ชุมชนอยู่ดีมีสุข” ได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท)” หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในชื่อ “โครงการหมู่บ้านละสองแสนบาท” โดยกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการปกครองเป็นหน่วยดำเนินการหลัก ซึ่งมุ่งหวังให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ คัดเลือกโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่

              โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชนเป็นกลไกในการบริหารจัดการ 
กระบวนการนำมาซึ่งความสำเร็จของโครงการ เริ่มจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน จัดประชุมประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาความต้องการจากเวทีประชาคมโครงการไทยนิยม ยั่งยืน หรือจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน มาพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมอันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยหมู่บ้าน/ชุมชน คัดเลือกความต้องการได้ไม่เกินแห่งละ 2 โครงการ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณ
               เมื่อโครงการผ่านการพิจารณาแล้ว จะได้รับงบประมาณโอนลงสู่หมู่บ้าน/ชุมชนโดยตรง ซึ่งแต่ละแห่งจะเป็นผู้ดำเนินโครงการเองทุกกระบวนการ ตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจรับงาน/พัสดุ ตลอดจนการเบิกจ่ายเงินโครงการ โดยจะมีคณะผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง คณะผู้รับผิดชอบการตรวจรับพัสดุ และคณะผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี ซึ่งมาจากประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมประชาคม โดยภาครัฐทำหน้าที่เพียงกำกับ ติดตาม และประเมินผล
               ในเวลานี้งบประมาณที่ถูกส่งลงไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศกว่าแปดหมื่นแห่ง ได้ดำเนินโครงการทั้งสิ้นมากกว่าเก้าหมื่นโครงการ ด้วยเม็ดเงินราวสิบห้าล้านบาท เกิดผลสำเร็จที่ล้วนเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้โดยตรง เช่น ลานตากข้าวหรือผลผลิตทางการเกษตร การปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว หรือจะเป็นการสร้างรายได้โดยอ้อม เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ขุดลอกสระห้วยหนองคลองบึง รวมไปถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสาธารณูปโภค ถนนสัญจร ปรับปรุงซ่อมแซมประปาหมู่บ้าน เป็นต้น 
           

                ความสำเร็จที่ปรากฏล้วนชี้ให้เห็นว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) ตาม “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” เป็นโครงการที่รัฐบาลมุ่งหวังเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” และ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม                 โดยประชาชนเป็นผู้เสนอความต้องการ และเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และตอบสนองความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดและดำเนินโครงการ ก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง สร้างจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติส่วนรวม สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ ให้กับประชาชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากและยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตลอดจนการต่อยอดการพัฒนาในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ ด้วยการ ... ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ เพื่อ “ไทยนิยม ยั่งยืน” อย่างเป็นรูปธรรม

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ