ข่าว

"สมศักดิ์" หนุนร่างกม.พัฒนาไก่พื้นเมือง  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"แกนนำพปชร." หนุนร่างกม.พัฒนาไก่พื้นเมือง  ชี้ เกิดประโยชน์หลายด้าน กระตุ้นเศษฐกิจฐานราก 

 

          7 ม.ค.61-นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2561 ตัวแทนกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไก่พื้นเมือง ที่แจ้งเจตจำนงค์จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง พ.ศ..... ต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้หารือและขอคำแนะนำ ต่อกรณีของการรวบรวมรายชื่อประชาชน ไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งตนฐานะผู้ที่เห็นด้วยกับการออกร่างกฎหมายดังกล่าว ให้คำแนะนำ คือ จัดกิจกรรมชี้แจงและรณรงค์ให้กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง ทั่วประเทศกว่า 3 ล้านครอบครัวร่วมเข้าชื่อสนับสนุนและเสนอร่างกฎหมาย เพราะตามเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.อนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง พ.ศ.... นั้น มีเนื้อหาที่สามารถยกระดับผู้เพาะเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านกลไกของหน่วยงานท้องถิ่นที่ต้องจัดตั้งศูนย์พัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง ทั้งการคัดเลือกสายพันธุ์, เพาะพันธุ์ นอกจากนั้นยังได้ประโยชน์ทางอ้อมที่เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากฐานราก คือ  เพิ่มมูลค่าให้กับไก่พันธุ์พื้นเมือง เช่น ไก่พันธุ์พื้นเมืองหากเพาะเพื่อบริโภค มีมูลค่าต่อตัว 150 บาท แต่หากเพาะเพื่อเป็นเกมกีฬา มูลค่าขั้นต่ำตัวละ 500 บาท

           

               \"สมศักดิ์\" หนุนร่างกม.พัฒนาไก่พื้นเมือง  

               “ผมเข้าใจว่าร่างกฎหมายฉบับที่ประชาชนเสนอ อาจทำให้มีความเข้าใจผิดว่า เพื่อใช้เป็นเกมกีฬา ทารุณกรรมสัตว์ และ เล่นการพนัน แต่ในรายละเอียดร่างกฎหมาย สามารถปรับปรุง ผ่านการระดมสมองจากผู้เพาะเลี้ยงไก่ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงยังสามารถออกกฎกระทรวงมากำกับได้ ทั้งนี้ยอมรับว่าการใช้ไก่พื้นเมืองเพื่อเกมกีฬา มีกฎหมายที่รับรองให้ทำได้ แต่เนื้อหาล้าสมัย เช่น ไม่กำหนดให้มีเครื่องป้องกันการบาดเจ็บของไก่ในเกมแข่งขัน เช่น นวมเดือย เป็นต้น ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายพิจารณาร่วมกันอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้มีความรอบคอบและสร้างประโยชน์ที่ครอบคลุม” นายสมศักดิ์ กล่าว

              นายสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่าตนสนับสนุนร่างพ.ร.บ.อนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองเต็มที่ เพราะจากรายละเอียดของร่างกฎหมายเป็นการยกระดับอาชีพของประชาชนผู้เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง อาทิ ให้มีศูนย์พัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง ผ่านหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับเอกชนในพื้นที่ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการส่งออก และคัดเลือกสายพันธุ์ไก่ทุกหมู่บ้านโดยภาคเอกชน ขณะที่ภาครัฐเป็นผู้กำกับผ่านการออกกติกา อีกทั้งตนมองว่าจะสร้างมาตรฐานไก่พันธุ์พื้นเมืองได้ดี จากการออกใบรับรองสายพันธุ์ โดยกรมปศุสัตว์ ขณะที่โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นยังมีข้อกำหนดให้เอกชนและกรมปศุสัตว์ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาด้วย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ