ข่าว

"ประเมิน"ปาบึกเหมือนตะลุมพุก !

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กฤษฎา"เผยหลายฝ่ายประเมินความรุนแรงพายุปาบึกเหมือนคราวแหลมตะลุมพุก สั่งด่วนตั้งศูนย์เฝ้าระวังติดตาม ตลอด24 ชม.เตือนประชาชน ทำเส้นทางระบายน้ำ

 

                 3 มกราคม 2562  นายกฤฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้สั่งการถึงหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคใต้ เรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหาจากพายุ ปาบึก 

 

                  รวมทั้งขอให้ทุกหน่วยของกระทรวงเกษตรฯ (กษ.) ซึ่งปฎิบัติงานในพื้นที่ประสานการปฎิบัติกับ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย( กอ.ปภ.)จังหวัดและหน่วยทหารในพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกภาพด้วยสำหรับ กษ.ส่วนกลางให้กำหนดเจ้าหน้าที่ประสานงานกับ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(กอ.ปภ.ชาติ) โดยใกล้ชิดด้วย


                 พร้อมกันนี้ให้ปลัดกระทรวงและผู้บริหารในกระทรวงเกษตรฯทุกสังกัด ขอให้รีบสั่งการทางวิทยุ -ช่องทางการสื่อสารทุกช่องทางไปยังหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯในพื้นที่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปด้วยพร้อมจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชม.ทั้งด้านการสูบน้ำ การอพยพปศุสัตว์การเตือนประชาชนด้วย อย่าให้ช้าจนเสียการรวมทั้งมอบหมายผู้ตรวจราชการไปตรวจติดตามด้วยเพื่อเป้าหมายลดความสูญเสียให้น้อยที่สุดขอทราบผลทุกระยะด้วย และทุกหน่วยตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำการ บ้านพักด้วยโดยให้หาทางระวังป้องกันอันตรายจากพายุปาบึก ที่อาจทำให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายไว้ด้วย

 

                    นายกฤษฎา กล่าวว่า ในส่วนการระบายน้ำและผลักดันน้ำ กรมชลประทาน ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้แล้ว 453 ชุดเครื่องดันน้ำอีก 300 ชุดพร้อมอุปกรณ์เครื่องจักรอีกจำนวนหนึ่งเตรียมอยู่ที่ศูนย์ชลประทานจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสะดวกกับการขนย้ายเข้าพื้นที่

 

                    "ผลกระทบจากพายุ ปาบึก ไม่น่าจะเสียหายมากกว่าทุกครั้ง เพราะทุกหน่วยเตรียมพร้อมกว่าครั้งก่อนๆประกอบกับเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถรู้ก่อนล่วงหน้าได้มาก จึงคาดว่าจะไม่เสียหายมากกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนที่มีหลายกระแสประเมินว่าจะแรงเหมือนแหลมตะลุมพุก ที่เคยโดนพายุแฮเรียล" รมว.เกษตรฯกล่าว                

       

                    ทั้งนี้จากการประชุมกองบัญชาการและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช) ในการเฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมการเผชิญเหตุ กรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก” แนวโน้มสถานการณ์ส่งผลกระทบวันที่ 3-5 มกราคม 62 โดยปริมาณฝน 200 - 300 มม/วัน คลื่นเข้าฝั่งความสูง 3-5 เมตร


                    การปฏิบัติการทุกหน่วยของกระทรวงเกษตรฯ และกรมชลประทาน 1.ประเมินความเสี่ยงและลดความเสี่ยงเตรียมป้องกันเหตุ โดยติดตามเส้นทางพายุ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำท่า คลื่นจากพายุ (strom surge) เพื่อดำเนินการพร่องน้ำระบายน้ำ รองรับมวลน้ำ และบริหารจัดการน้ำในเขื่อน อ่าง ขนาดต่าง ๆ ให้สอดคล้องขนาดและความรุนแรงของพายุ โดยในการนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ได้ อบหมายสั่งการ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา


                   2.จัดสรรพกำลัง ยานพาหนะขนาดใหญ่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ  ระบบสื่อสาร/วิทยุสื่อสาร ความพร้อมประตูระบายน้ำ เสบียงอาหาร เสบียงสัตว์ เวชภัณฑ์ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในพื้นทีเมื่อเผชิญเหตุอุทกภัยก่อนหน้า


                  3.ร่วมปฏิบัติการตามแนวปฏิบัติของ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อย่างใกล้ชิด


                   4.ร่วมสนับสนุนการป้องกัน ระงับยับยั้ง เรือประมง ตามประกาศงดเดินเรือของ จังหวัด


                   5.เตรียมพร้อมเพื่อการหยุดยั่งความเสียหาย การประเมินความเสียหาย และการฟื้นฟู ด้านการเกษตร เมื่อพายุได้ผ่านไปโดยเร็ว

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ