Lifestyle

ไข้เลือดออกพุ่ง 3 เท่าจากปี 65 ไม่มียารักษาเดินหน้าศึกษาใบมะละกอสู้ไวรัส

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ไข้เลือดออกระบาด" ในชุมชนเมือง ม.ค.-มิ.ย. 66 ป่วยถึง 27,377 ราย ผู้เสียชีวิต 23 ราย เทียบปีที่แล้วในเวลาเดียวกัน ป่วย 9,736 เสียชีวิต 7 ราย มากกว่าถึง 3 เท่า แต่ไม่มียารักษา รพ.เพ็ญ จ.อุดร ศึกษาพบ น้ำคั้นใบมะละกอ ช่วยฟื้นตัวได้เร็ว

ปัจจุบัน "ไข้เลือดออกระบาด" พบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น "กรมควบคุมโรค" พบว่า ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ส่วนใหญ่ระบาดในเขตชุมชนเมืองมากกว่าชนบท สาเหตุมาจากขาดการจัดการแหล่งน้ำขังอย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งมีเชื้อไวรัส "ไข้เลือดออก" บินไปกัดคน ทำให้  "ไข้เลือดออกระบาด" อย่างรวดเร็ว

 

 

 

แหล่งแพร่พันธุ์ลูกน้ำยุ้งลาย

 

 

 

แหล่งแพร่พันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

 

 

 

ผู้ติดเชื้อ 100 ราย จะมีอาการรุนแรง 1-2 ราย จากอาการเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกในอวัยวะ หรือบางคนไข้ลดแต่มีเหงื่อ ตัวเย็น จนช็อกและมีโอกาสเสียชีวิต

รายงาน "ไข้เลือดออกระบาด" พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 28 มิ.ย. 2566 มีผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" ถึง 27,377 ราย ผู้เสียชีวิต 23 ราย ตั้งแต่เดือน มิ.ย. เจอคนป่วยสัปดาห์ละ 1,500 - 2,400 ราย เสียชีวิตอาทิตย์ละ 1-3 ราย ขณะที่อัตราผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" ปี 2565 เปรียบเทียบในเวลาเดียวกัน พบผู้ป่วย 9,736  เสียชีวิต 7 ราย ซึ่งเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า

 

 

 

ภาพประกอบ

"ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว" ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร บอกว่า "ไข้เลือดออก" ยังไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษาไวรัสเดงกี  ยังรักษาตามอาการ หลักๆ เป็นการให้ยาลดไข้  และระวังไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำ  ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียน  ก็ต้องเสริมเกลือแร่ ยาลดไข้ที่นิยมในกลุ่มพาราเซตามอล 

 

 

 

ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

 

 

 

"การให้ยาลดไข้มีความสำคัญ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงยากลุ่มแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน ส่วนกลุ่มยาสมุนไพรมีฟ้าทะลายโจร  อาการไข้ในระยะแรกสามารถใช้ฟ้าทะลายโจรได้ แต่ถ้าจ้ำเลือดออก มีเลือดออกตามไรฟัน  ต้องหยุดใช้ เพราะอาจมีผลทำให้เลือดหยุดยาก" "ดร.ผกากรอง" อธิบาย

 

 

 

"ดร.ผกากรอง" บอกต่อว่า ขณะนี้มีการศึกษาของโรงพยาบาลเพ็ญ จ.อุดรธานี ที่ได้นำสมุนไพรใกล้ตัวคนไทย อย่างใบมะละกอ ที่เคยมีการศึกษาในต่างประเทศ และตีพิมพ์ในวารสาร British  Medical Journal  (BMJ) ระบุว่า ใบมะละกอมี 3 กลไกสำคัญ ได้แก่ 1. ต้านการแบ่งตัวของไวรัสเดงกีสายพันธุ์ที่ 2 เช่นเดียวกับฟ้าทะลายโจร  2. เพิ่มเกล็ดเลือด  ทั้งเพิ่มจำนวน และลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด  3. เสริมกลการทำงานของภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น ในบางการศึกษาพบว่า ช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง  ลดการหลั่งสารต้านการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ โดยคั้นน้ำใบมะละกอให้ทดลองดื่มในผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" 78 ราย เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

 

 

 

ต้นมะละกอ

 

 

 

โดยให้ผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" กินปริมาณ 30 ซีซี  3 ครั้ง/วัน ก่อนอาหาร หรือเท่ากับ 90 ซีซี/วัน ตั้งแต่วันแรกและวันสุดท้ายของการรักษาโดยติดตามอาการ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยดูผลลัพธ์หลัก 3 ด้าน คือ ระดับของเกล็ดเลือด  อุณหภูมิของร่างกาย และความสุขสบายของผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองที่ได้น้ำคั้นจากใบมะละกออยู่โรงพยาบาล 3.10 วัน น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่นอนโรงพยาบาล 4.2 วัน

 

 

 

  ภาพประกอบ

 

 

 

ในส่วนของการเพิ่มขึ้นของเกล็ดเลือดนั้น ในช่วงวันแรกเกล็ดเลือดของผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" ทั้ง 2 กลุ่มลดลงพร้อมกัน แต่ในกลุ่มทดลองเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นในวันที่ 3 เป็นต้นไป และเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเป็นปกติในวันที่ 5 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นในวันที่ 8 เป็นต้นไป

 

 

 

เมื่อพิจารณาอุณหภูมิร่างกายของผู้ป้วย "ไข้เลือดออก" ทั้ง 2 กลุ่ม มีการลดลงตั้งแต่วันแรก ไม่แตกต่างกัน โดยกลุ่มทดลองอุณหภูมิร่างกายลดลงเร็วกว่ากลุ่มควบคุม เนื่องจากมีอาการฟื้นตัวจากโรคได้เร็วกว่า ทําให้มีความสุขสบายเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่วันแรกเป็นต้นไป และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ