Lifestyle

'เปิดไฟนอน' เปิดไฟสลัวๆ นอน ผลวิจัย พบ เสี่ยง 3 โรค ร้าย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การนอนหลับ ไม่ใช่ดีเสมอไป เมื่อเปิด ผลวิจัย การ 'เปิดไฟนอน' หรือแค่ 'เปิดไฟสลัวๆ นอน พบ เสี่ยงเป็น 3 โรค เปิดสาเหตุ

การนอนหลับ ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ที่จะเป็นการหลั่งสารเมลาโทนิน แต่ปัจจัยเรื่องแสง และความสว่าง ก็ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนินเช่นกัน เนื่องจากเมลาโทนินจะหลั่งออกมาในเวลากลางคืน หรือเมื่ออยู่ในที่มืด มีแสงน้อย และร่างกายจะถูกยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน เมื่ออยู่ภายใต้แสงไฟ ความสว่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

 

 

 

 

 

ซึ่งผลวิจัยพบว่า การ เปิดไฟนอน หรือแม้แต่การ “เปิดไฟสลัวๆ” นอน ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งเสี่ยงเป็นทั้งโรคเบาหวาน, ดื้ออินซูลิน และ อ้วนขึ้น ในอนาคต แล้วสาเหตุเป็นเพราะอะไร

 

     ผลวิจัยพบเปิดไฟสลัวๆนอน เสี่ยงโรค

ผลวิจัยนี้ เป็นผลการวิจัยและศึกษาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการเปิดเผยจาก หวัง ซื่อเหิง ผู้อำนวยการ เน่ยหู เหิงซินแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่ทดลองโดยให้คนหนุ่มสาว 20 คน นอนในห้องนอนที่มืดและสว่าง ความสว่างของห้องนอน ประดับด้วยโคมไฟเพดานทังสเตน 60 วัตต์ 4 ดวง หรือ เปิดไฟสลัวๆ นอน

 

 

 

 

 

ซึ่งผลวิจัยพบ การนอนหลับ โดยเปิดไฟไว้ จะทำให้อาสาสมัครมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากรับประทานกลูโคสในวันรุ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่า อาสาสมัครมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และสภาพแวดล้อมที่สว่างสดใส จะทำให้อาสาสมัครอายุสั้นลง และมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น

 

 

 

 

นักวิชาการคาดการณ์ว่า แสงในเวลากลางคืน ทำให้การทำงานของเส้นประสาทซิมพาเทติกเพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการนอน และส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการเผาผลาญกลูโคส นอกจากนี้ งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างปัญหาการนอนหลับกับโรคเบาหวาน

 

เปิดไฟสลัวๆ นอน เสี่ยงโรค

สอดรับกับการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเวส์ทเทิร์นไฟน์เบิร์ก ในชิคาโก พบว่า การนอนหลับในขณะที่สัมผัสกับแสงประเภทใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นจากสมาร์ทโฟน เปิดทีวีทิ้งไว้ข้ามคืน หรือแม้กระทั่ง “เปิดไฟสลัวๆ” เชื่อมโยงกับการเพิ่มโอกาสเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในผู้สูงอายุ

 

 

 

 

นักวิจัยพบว่า โอกาสในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 74% โรคอ้วน 82% และเบาหวาน 100%

 

 

 

ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นสัญญาณของภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายจะหยุดใช้กลูโคสอย่างเหมาะสม และตับอ่อนจะทำงานหนักเกินไป ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินมากเกินไปเพื่อชดเชย จนสูญเสียความสามารถในการทำเช่นนั้นในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป ภาวะดื้อต่ออินซูลิน สามารถนำไปสู่โรคเบาหวานประเภท 2 ได้ในที่สุด

 

     เปิดไฟสลัวๆ นอน เสี่ยงโรค

 

 

ทั้งนี้ จากผลวิจัยดังกล่าว รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน กรรมการบริหารศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เคยให้ความรู้ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการ “เปิดไฟนอน” ว่า เป็นการขัดขวางการหลั่งของสารเมลาโทนิน ซึ่งหลั่งจากส่วนหนึ่งในสมอง มีความสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น ผู้ที่เปิดไฟนอน หรือมีการพักผ่อนที่ไม่ดี อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคอ้วน

 

 

 

 

“เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ และระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบเมตาบอลิซึม ระบบประสาทอัตโนมัติ ความดัน ความจำ เมลาโทนินจะถูกยับยั้งโดยแสง ดังนั้นมีโอกาสที่การนอนเปิดไฟจะส่งผลให้เมลาโทนินถูกกด ส่งผลให้นอนไม่ดี และอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้” รศ.พญ.นฤชา กล่าว

 

 

 

 

ดังนั้น หากเมลาโทนินถูกขัดขวางการหลั่ง อาจส่งผลต่อระบบความจำ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะแรกส่วนหนึ่งพบว่า มีการลดลงของสารเมลาโทนิน นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine ที่ศึกษาในผู้หญิงกว่า 4 หมื่นคน เรื่องการเปิดและปิดไฟนอน ที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว หลังจากการติดตามในระยะ 5 ปี พบว่า คนที่เปิดไฟนอน หรือแค่ “เปิดไฟสลัวๆ นอน” มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าคนที่ปิดไฟนอน โดยน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 5 กิโลกรัม ดังนั้น ความสว่างจากการเปิดไฟนอน จึงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว

 

 

 

 

ขอบคุณภาพจาก Lovepic.com

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ